ยิมนาสติก (Gymnastics) เป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่งที่จัดเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อทดสอบความแข็งแรงของนักกีฬา  รวมทั้งจังหวะ ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัวและความคล่องแคล่วว่องไว กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล ยิมนาสติกลีลาและแทรมโปลิน

กติกาการแข่งขันยิมนาสติก
กติกาการแข่งขันยิมนาสติก

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นประเภทชายและประเภทหญิงแข่งขันกันโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆกัน เช่น ม้ากระโดด ม้าหู บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่งและฟลอร์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงภาคบังคับและท่าสมัครในอุปกรณ์แต่ละชนิดข้างต้น การแข่งขันแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ประเภททีม ประเภทเดี่ยวผสม และประเภทเดี่ยว

อุปกรณ์ชาย ห่วงนิ่ง บาร์คู่ ม้ากระโดด บาร์เดี่ยว ม้าหู

อุปกรณ์หญิง บาร์ต่างระดับ ราวทรงตัว ม้ากระโดด

กรรมการ ประกอบด้วยกรรมการให้คะแนน 4 คน กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน

( ในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวรอบชิงชนะเลิศจะมีกรรมการชี้ขาด 2 คน )

การให้คะแนน คะแนนของผู้เข้าแข่งขันคิดจากกรรมการทั้ง 4 คน โดยจะตัดคะแนนที่สูงสุดและต่ำสุดออก และนำคะแนนกลางจากกรรมการอีก 2 คน มาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนของผู้เข้าแข่งขัน คะแนนที่ได้จะมีตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนน ซึ่งอาจจะถูกหักออกทั้งหมดครึ่งหนึ่ง หรือ 1/10 คะแนน ในการแข่งขันอุปกรณ์บางประเภทอาจมีการให้คะแนนการเริ่มเล่นเป็นคะแนนพิเศษ ( เนื่องจากเป็นท่าเสี่ยงอันตรายต้องใช้พลังกำลังและมีความคิดสร้างสรรค์)ซึ่งอาจทำให้ได้รับคะแนนเต็ม 10 คะแนนได้

การแข่งขันประเภททีม แต่ละทีมจะมีผู้แข่งขัน 6 คน โดยผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะทำการแข่งขันทุกอุปกรณ์ด้วยท่าบังคับและท่าสมัคร แล้วนำคะแนนของผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดของทีม 5 คน มารวมกันเป็นคะแนนของทีม (คะแนนสูงสุดของชายคือ 600 คะแนน และหญิงคือ 400 คะแนน)

การแข่งขันประเภทบุคคลรวมอุปกรณ์ ผู้เข้าแข่งขันคัดจากผู้ได้คะแนนรวมทุกอุปกรณ์สูงสุดจากการแข่งขันประเภททีมจำนวน 3 คน มาแข่งขันรอบสุดท้ายด้วยท่าสมัคร คะแนนจากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของคะแนนที่ทำได้จากการแข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมของแต่ละคน (คะแนนสูงสุดของชายคือ 120 และหญิง 80คะแนน)

การแข่งขันประเภทบุคคลแยกอุปกรณ์ ในการแข่งขันแต่ละอุปกรณ์จะมีผู้เข้าแข่งขัน 6 คน โดยคัดจากผู้ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละอุปกรณ์จากการแข่งขันประเภททีมมาทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย คะแนนที่ได้จากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของคะแนนที่ทำได้ในอุปกรณ์นั้นๆ จากการแข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมแต่ละคน (คะแนนสูงสุดของทั้งชายและหญิงคือ 20 คะแนน)

กติกาการแข่งขันยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี

เดิมใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการฝึกบริหารร่างกาย โดยเน้นการใช้ทักษะยิมนาสติกผสมกับจังหวะของดนตรี และเพื่อให้สะท้อนลีลาที่สวยงามจึงเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ใหม่ คือ ลูกบอล ห่วง ไม้โยน ริบบิ้นยาว และเชือก เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นผสมกับความสวยงาม และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 23 ณ นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2527 จุดเด่นของยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี คือ การเน้นความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับดนตรีได้อย่างงดงามและมีศิลปะอ่อนช้อย

อุปกรณ์ มีทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่ ลูกบอล ริบบิ้น ห่วง ไม้โยน และเชือก อุปกรณ์ทั้ง 5 ชิ้นจะใช้สีใดก็ได้ ยกเว้น สีทอง เงิน และทองแดง จะใช้สีตัดกันหรือสีผสมกลมกลืนกันก็ได้แล้วแต่พอใจ

ดนตรี เป็นความสำคัญสุดยอดในการพัฒนาจังหวะและการเคลื่อนไหว การแสดงออกจึงต้องผสมกลมกลืนกับการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับศิลปะบัลเล่ต์ เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแข่งขันต้องเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงชิ้นเดียว เช่น เปียโน ขลุ่ย และไวโอลิน

การแข่งขัน ไม่จำกัดเพศและอายุ นักกีฬาต้องแข่งขันกันตามลำดับอุปกรณ์ คือ เชือก ห่วง ลูกบอล ไม้โยน และริบบิ้น ในการแข่งขันแต่ละครั้งนักกีฬาจะแสดงเพียง 4 อุปกรณ์เท่านั้น ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขันจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ประเภทการแข่งขัน มี 2 ประเภท คือ   ประเภทบุคคล   และ ประเภททีม

  ประเภทบุคคล
 
ประเภททีม
 
นักกีฬา/นักกีฬาสำรอง  1 คน / 1 คน 6 คน / 2 คน
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1.00– 1.30 นาที 2.30–3.00 นาที
 ขนาดของฟลอร์ 12 x 12 เมตร 12.5 x 12.5 เมตร



เครื่องแต่งกาย ต้องเป็นชุดแนบเนื้อ หากไม่มีแขน ไหล่จะต้องกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร

การแข่งขันประเภทบุคคล คะแนนเต็ม 10 คะแนน แบ่งคะแนนเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 มี 7 คะแนน เป็นคะแนนการเรียงลำดับท่า ซึ่งประกอบด้วยท่าของความยาก 5 คะแนน ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีและท่าทาง 1 คะแนน ท่าของเทคนิคในการประกอบชุด 0.5 คะแนน และความคิดริเริ่มในการแต่งท่า 0.5 คะแนน

ส่วนที่ 2 มี 3 คะแนน เป็นคะแนนท่าจบประกอบด้วยเทคนิคการทำให้สำเร็จ 1.5 คะแนน ผลสะท้อนโดยสรุป 1.5 คะแนน

การแข่งขันประเภททีม คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งกรรมการออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 10 คะแนนแล้วนำคะแนนของกรรมการทั้ง 2 กลุ่มมารวมกัน กรรมการกลุ่มที่ 1 ตัดสินจากการแข่งท่า 5 คะแนนและท่าของเทคนิคการแสดง 5 คะแนน กรรมการกลุ่มที่ 2 จะตัดสินจากการผสมกลมกลืนและเทคนิคการทำท่าให้สำเร็จ 10 คะแนน

ท่าที่ใช้ในการแข่งขันทั้งประเภทบุคคลและทีม กำหนดให้มีท่าแข่งขันท่ายากอย่างน้อย 2 ท่า ท่าละ 1 คะแนน ท่าง่าย 6 ท่า ท่าละ 0.5 คะแนน การตัดสินความยากง่ายของท่าไม่กำหนดตายตัว เนื่องจากเทคนิคมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก่อนการแข่งขันจึงมีการประชุมระหว่างกรรมการเพื่อตกลงกันเรื่องการให้คะแนน

กรรมการและเจ้าหน้าที่

การแข่งขันประเภทบุคคล กรรมการหญิง 4 คน และมีหัวหน้ากรรมการ 1 คน รวมเป็น 5 คน

การแข่งขันประเภททีม กรรมการหญิง 8 คน และหัวหน้า 2 คน รวมเป็น 10 คน

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 717,851 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 817,895 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 835,049 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 972,863 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 914,661 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,014,836 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 593,041 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 657,057 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม