ประเภทลู่

กติกากรีฑา
กติกากรีฑา

1. ประเภทวิ่ง 100ม.,200ม.,400ม.,ข้ามรั้ว 100ม.,ข้ามรั้ว 110ม.

2. ประเภทวิ่ง 400ม.,800 ม.,วิ่งผลัด 4×100ม.,วิ่งผลัด 4×400ม.

3. ประเภท 1,500ม.

4. ประเภท 3,000ม.,วิ่งวิบาก 3,000ม.

5. ประเภท 5,000 ม.

6. ประเภท 10,000ม.

 

การแข่งขันวิ่งผลัด

1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20ม. โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา

2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×200ม. นักกีฬาคนที่ 1และ2  จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3

จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 ม.)

3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×400 ม. คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตน

เองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น

เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 ม.ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่ง

เรียงตามลำดับออกมา

4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายใน

เขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา

5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น

6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4×100 ม.,4×400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีมให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว

แล้วตัดเข้าช่องในได้

 

การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว

นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 รั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน

สิ่งต้องห้าม – วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม

 

การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. การแข่งขันประเภทกระโดด – กระโดดสูง,เขย่งก้าวกระโดด,กระโดดสูง,กระโดดค้ำถ่อ

2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง – ทุ่มน้ำหนัก,ขว้างจัก,ขว้างฆ้อน,พุ่งแหลน

 

กติกาการแข่งขันกระโดดไกล

การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอ

กันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น

 

กติกาการแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด

ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบ

กระดานลงสู่พื้น

 

กติกาการกระโดดสูง

จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่ง

ขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ

 

กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อ

หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บ

การแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ

 

กติกาการแข่งขันทุ่มน้ำหนัก

นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขัน

รอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง

ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม

ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง

และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป

การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวาง

หรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม

จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง

ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ

ห้ามสวมถุงมือและสามารถใช้สารทามือได้

สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

ของกระดูกได้

ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า

ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น

 

กติกาการขว้างจักร

จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมี

ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว

ต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า

ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ

สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

ของกระดูกได้

จักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม

ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น

 

กติกาการขว้างฆ้อน

ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2ครั้ง

การขว้างเริ่มจากในวงกลม

เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือ

ขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว

เมื่อเข้าไปในวงกลม ห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว

ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว และถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว

การประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน

ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี

ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น

อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา

 

กติการพุ่งแหลน

ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยง

หรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ

การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล

ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลาย

ของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล

หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่

แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ

 

กติกาการแข่งขันเดิน

ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า

เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว

 

กติกาการแข่งขันประเภทรวม

ชาย (ปัญจกรีฑา,ทศกรีฑา)

1. ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 ประเภท โดยทำการแข่งขันวันเดียวดังนี้

กระโดดไกล,พุ่งแหลน,วิ่ง 200ม.,ขว้างจักรและวิ่ง 1,500 ม.

2. ทศกรีฑา 10 ประเภท จัดทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกัน

วันแรก วิ่ง 100ม.,กระโดดไกล,ทุ่มน้ำหนัก,กระโดดสูง,วิ่ง 400 ม.

วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 ม.,ขว้างจักร,กระโดดค้ำ,พุ่งแหลน,วิ่ง 1,500 ม.

 

หญิง (สัตตกรีฑา)

มีการแข่งขัน 5 ประเภท แข่ง 2 วันโดยมีดังนี้

วันแรก วิ่งข้ามรั้ว 100ม.,กระโดดสูง,ทุ่มน้ำหนัก,วิ่ง 800ม.

 

ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน

ถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน

 

แนะนำการดูกรีฑา

1. กรีฑา มีการแข่งขัน 2 ประเภท คือ

1.1 การแข่งขันประเภทลู่ มีการจับเวลา แข่งขันครั้งเดียวก็ถือผลแพ้ชนะได้ มีการเสมอกัน คือเวลาเท่ากันอาจตัดสินด้วยภาพ หรือจับสลากเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันในรอบต่อไป ถ้ามีนักกีฬาสมัครเข้าแข่งขันมากคน ก็ใช้วิธีการคัดเลือกหลายๆ รอบ ในรอบชิงชนะเลิศนั้น เฉพาะอันดับที่ 1 อาจให้แข่งขันกันใหม่ก็ได้ หรือให้เป็นไปตามผลคือเสมอกัน

1.2 ในการแข่งขันประเภทลาน ไม่มีการจับเวลาในการแข่งขัน แต่จะมีการประลองเท่านั้น ไม่มีการเสมอกัน จะต้องตัดสินแพ้ชนะกันเด็ดขาด

2. การประลอง มีเฉพาะการแข่งขันประเภทลานเท่านั้น กำหนดการประลองไว้ดังนี้

2.1 ถ้ามีนักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน ก็ให้ประลองคนละ 3 ครั้ง เพื่อคัดเอาไว้ 8 คน ถ้าอันดับที่ 8 ยังเสมอกันอยู่ก็ให้ประลองกันอีกคนละ 3 ครั้ง และได้กำหนดระยะเวลาในการประลองไว้ดังนี้

2.2 ประเภทกระโดดสูง กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มน้ำหนัก ขว้างค้อน และพุ่งแหลน ให้เวลาประลอง 1 นาที 30 วินาที

2.3 กระโดดค้ำ ให้เวลาประลอง คนละ 2 นาที ถ้ามีนักกีฬาคนเดียว ก็ให้ประลอง 5 นาที

3. การเสมอกัน ถ้ามีการเสมอกันให้ปฏิบัติดังนี้

3.1 กระโดดสูง ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 2 ซม.

3.2 กระโดดค้ำ ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 5 ซม.

3.3 แผนกที่ตัดสินด้วยระยะทาง ก็ให้ดูสถิติที่ดีที่สุดในอันดับ 2,3 รองลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายังเสมอกันอยู่ก็ให้แข่งขันใหม่

4. การเข้าเส้นชัย นักกีฬาจะต้องใช้ส่วนหนาของลำตัว (หน้าอก) ถึงด้านหน้าของเส้นชัย ในแนวดิ่ง (ยกเว้น หัว คอ แขน ขา มือ เท้า)

5. ช่องวิ่งหรือลู่วิ่ง ช่องกว้าง 1.22 เมตร

5.1 การแข่งขันวิ่งระยะทางไม่เกิน 400 เมตร จะต้องวิ่งในลู่ของตนเอง เริ่มวิ่งจากท่านั่งและใช้เครื่องยันเท้า รวมทั้งการวิ่งผลัด

5.2 การแข่งขันวิ่งที่ไม่ได้กำหนดช่องวิ่งเฉพาะตัวไว้ เส้นเริ่มวิ่งจะต้องเป็นเส้นโค้ง เพื่อให้ทุกคน มีระยะยทางวิ่งไปถึงเส้นชัยเท่ากัน ให้เริ่มวิ่งในท่ายืน ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยยันเท้า

6. การแข่งขัน มีหลายประเภทดังนี้

6.1 วิ่งข้ามรั้ว แต่ละรั้วจะมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม การกระโดดข้ามทำให้รั้วล้มไม่มีผลต่อการตัดสิทธิ์จากการแข่งขันและการทำสถิติ

6.2 วิ่งวิบาก จะต้องมีการกระโดดข้ามรั้วไม้และน้ำ (แอ่งน้ำ) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องข้ามรั้วแล้วจะกระโดดข้ามน้ำหรือลุยน้ำไปก็ได้

6.3 วิ่งผลัด จะต้องรับไม้ในเขตรับไม้ของตนเอง ต้องถือไม้ตลอดเวลาถ้าทำไม้ตก จะต้องกลับมาเก็บด้วยตนเอง

6.4 กระโดดสูง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว การเลื่อนไม้พาดขึ้นครั้งละไม่น้อยกว่า 3 ซม. ถ้ากระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขัน ต้องออกจากการแข่งขัน

6.5 กระโดดค้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะใช้สารเกาะติดทามือหรือไม้ก็ได้ ห้ามใช้แถบยางพันมือหรือนิ้ว

6.6 กระโดดไกล จะกระโดดแบบตีลังกาไม่ได้ จะวัดรอยที่หลุมทรายด้านใกล้กับกระดานกระโดดมากที่สุด รอยนั้นอาจจะเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้

6.7 เขย่งก้าวกระโดด จะต้องเขย่งแล้วเหยียบพื้นด้วยเท้าเดียวกันกับที่เหยียบกระดานกระโดด แล้วก้าวโดยใช้อีกเท้าข้างหนึ่งต่อไป จึงทำการกระโดด

6.8 ทุ่มน้ำหนัก ต้องยืนทุ่มออกจากวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องเริ่มจากท่านิ่งจะทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว ห้ามเงื้อ, เวลาเตรียมให้ยืน ลูกน้ำหนักจะอยู่ที่คอใกล้คาง ลูกที่ทุ่มไปจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด

6.9 ขว้างจักร จะต้องยืนขว้างออกจากวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.50 เมตร เริ่มจากท่านิ่ง จะต้องขว้างด้วยมือข้างเดียว จักรจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด

6.10 การขว้างค้อน จะยืนขว้างออกจากวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องขว้างในกรงรูปตัวยู เริ่มจากท่านิ่ง ค้อนที่ขว้างจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด

6.11 พุ่งแหลน จะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่ หรือเหนือแขนท่อนบนของมือที่จับแหลน จะพุ่งไม่เหวี่ยงหรือขว้าง ผลของการพุ่งก็เพียงหัวของแหลนตกถึงพื้นดินก่อนส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าดี

6.12 การเดิน คือการก้าวไปข้างหน้าโดยการก้าวเท้านั้น คงการสัมผัสพื้นไว้ เท้านำจะต้องเหยียดตึง (ไม่งอเข่า) ทันทีที่สัมผัสพื้น จนกว่าจะเลยแนวตั้งฉากกับลำตัวเสียก่อน ถ้าเดินผิดกติกาจะถูกเตือน ถ้าถูกเตือน 3 ครั้ง จะต้องออกจากการแข่งขัน การตั้งจุดให้น้ำนั้น ถ้าไม่เกิน 20 กม. ตั้งที่ไหนก็ได้ ถ้าเกิน 20 กม. ขึ่นไป ให้ตั้งทุก 5 กม. นักกีฬาคนใดรับน้ำหรือผ้าเย็น จากที่อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ จะต้องถูกปรับแพ้และออกจากการแข่งขันทันที

7. ปัญจกรีฑา, ทศกรีฑา และสัตกรีฑา

7.1 ปัญจกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 5 ประเภท จะต้องแข่งขันตามลำดับ คือ กระโดดไกล, พุ่งแหลน, วิ่ง 200 เมตร, ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร

7.2 ทศกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 10 ประเภท จัดแข่งขันตามลำดับ 2 วัน คือ วิ่ง 100 เมตร, กระโดดไกล, ทุ่มน้ำหนัก, กระโดสูง, วิ่ง 400 เมตร, วิ่งข้ามรั้วระยะทาง 110 เมตร (รั้วสูง 1.067 เมตร), ขว้างจักร, กระโดดค้ำ, พุ่งแหลน, และวิ่ง 1,500 เมตร

7.3 สัตตกรีฑา (เฉพาะหญิง) มี 7 ประเภท จัดแข่งขัน 2 วัน ตามลำดับคือ วิ่งข้ามรั้ว ระยะทาง 100 เมตร (รั้วสูง 0.838 เมตร) กระโดดสูง, วิ่ง 200 เมตร, กระโดดไกล,พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร

 

การตัดสิน

นักกีฬาผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ถ้าเสมอกันให้ผู้เข้าแข่งขันมากประเภทว่าเป็นผู้ชนะ ถ้ายังเสมอกันอยู่อีกก็ถือคะแนนที่มากกว่าในประเภทใดประเถทหนึ่งเป็นผู้ชนะ นักกีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภทหนึ่งให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันต่อไป ต้องออกจากสนามทันที

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,876 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,268 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,731 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,273 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,328 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,967 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,353 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,968 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม