แสดงปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ
แสดงปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ

 

โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ

 

     เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ ทำให้เยื่อบุรอบ ๆ เอ็นบวม ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น เกิดการตีบแคบของโพรงที่เอ็นลอดผ่านและเกิดการเสียดสีทำให้มีอาการปวด โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือและข้อมือ

 

สาเหตุ
1. การใช้งานข้อมือและมือมาก ๆ หรือเกินกำลังซ้ำ ๆ บ่อย ๆ โดยเฉพาะท่านิ้วหัวแม่มือกางออกหรือกระดกขึ้น ร่วมกับการบิดไปด้านข้าง เช่น เขียนหนังสือนาน ๆ บิดเสื้อผ้า กวาดพื้น หั่นผัก สับหมู หรือเล่นกีฬาที่ใช้ไม้ตี เช่น เทนนิส กอล์ฟ
2. เป็นการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น ทำให้มีการหนาตัวและอักเสบในโพรงเอ็น ทำให้โพรงแคบลงมากกว่าปกติ เกิดอาการเรื้อรังไม่หายขาด โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานจะมีปลอกหุ้มเอ็นหนาง่ายกว่าปกติ
3. เกิดพร้อมกับข้ออักเสบอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์

 

อาการ
1. มีอาการเจ็บและโคนนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่
2. อาจจะมีอาการบวมและคลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
3. อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
4. วิธีตรวจ โดยการให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย (finkelstein's test) จะกระตุ้นให้มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือมากขึ้น

 

การรักษา
1. ระยะที่มีการอักเสบ ควรหยุดและหลีกกลี่ยงการใช้งาน ประคบด้วยความเย็น และใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ
2. การออกกำลังกาย และการทำกายภาพบำบัด เพื่อลดการอักเสบและลดปวดของเส้นเอ็น
3. บริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อข้อมือและนิ้วมืออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid) บริเวณปลอกหุ้มเอ็นที่มีอารอักเสบ หรือหากเกิดอาการซ้ำอีก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 กำงุ้มนิ้วโป้ง
ท่าที่ 1 กำงุ้มนิ้วโป้ง


     เริ่มจากท่าตะแคงมือ ให้ข้อมือเหยียดตรงโดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน งอนิ้วโป้งเข้าด้านในฝ่ามือ บิดข้อมือลง จนรู้สึกดึงบริเวณด้านข้างนิ้วโป้ง นิ่งค้างไว้ 3 - 5 วินาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต เพิ่มความยากโดยกำมือให้นิ้วโป้งอยู่ในสุดขณะบิดข้อมือลง

ท่าที่ 2 กระดกมือด้านข้าง
ท่าที่ 2 กระดกมือด้านข้าง


     นั่ง วางแขนบนขาลักษณะตะแคงข้อมือ กำแผ่นยางยืดที่อีกปลายถูกยึดอยู่กับที่ไว้ หรือถือขวดน้ำ แล้วออกแรงกระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุด นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ค่อย ๆ ปล่อยข้อมือลง ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 3 หนีบนิ้วโป้ง
ท่าที่ 3 หนีบนิ้วโป้ง


     ฝึกโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วมือทั้งสี่หนีบผ้าหรือวัตถุที่ไม่แข็งมาก หยิบ - ปล่อย ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 4 ง้างกางนิ้วโป้ง
ท่าที่ 4 ง้างกางนิ้วโป้ง


     กางนิ้วหัวแม่มือออกให้ได้มากสุด ลักษณะคล้ายตั้งวงรำไทย นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต เพิ่มความยากโดยใช้ยางยืดคล้องเป็นแรงต้าน

ท่าที่ 5 บีบลูกบอล
ท่าที่ 5 บีบลูกบอล


     มือจับลูกเทนนิสหรือลูกบอลยาง ออกแรงบีบ - คลาย ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 6 กางง้างนิ้วมือ
ท่าที่ 6 กางง้างนิ้วมือ


     ใช้ยางยืดคล้องปลายนิ้วมือในลักษณะห่อนิ้ว จากนั้นค่อย ๆ กางนิ้วทั้งห้าออกในลักษณะแบมือเต็มที่ แล้วค่อย ๆ ปล่อยกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 717,326 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 817,257 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 834,493 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 971,993 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 914,002 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,013,997 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 592,591 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 656,391 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม