การวางตําแหน่งในจุดต่างๆ


#2 การวางตําแหน่งในจุดต่างๆ
#2 การวางตําแหน่งในจุดต่างๆ

 

ตําแหน่งของผู้ตัดสิน:

Position of the Judges:

           ผู้ตัดสินทั้ง 7 คน จะนั่ง ห่างจากขอบสนาม 1 ม. และ ห่างจากผู้ตัดสินด้วยกัน 1 ม. ผู้ตัดสิน 4 คน นั่งด้านหน้า หันหน้าเข้าหาผู้เข้าแข่งขัน ผู้ตัดสินอีก 3 คน นั่งด้านหลังผู้เข้าแข่งขัน เส้นขอบสนามด้านผู้ตัดสิน 4 คน ให้ถือว่าเป็นเส้นขอบสนาม #1 เรียงลําดับตามเข็มนาฬิกา เส้นขอบสนามที่ #2, #3 และ #4 ตําแหน่งผู้ตัดสินจะเรียงตามเข็มนาฬิกา จากด้านซ้ายของเส้นขอบสนามที่ #1 ในกรณี ที่ใช้ระบบผู้ตัดสิน 5 คน ผู้ตัดสิน 3 คน จะนั่ง ด้านหน้าผู้เข้าแข่งขัน ผู้ตัดสินอีก 2 คนจะนั่ง ด้านหลังผู้เข้าแข่งขัน เรียงลําดับเช่นเดียวกับระบบผู้ตัดสิน 7 คน


หมายเหตุ : ฝ่ายเทคนิคสามารถปรับเปลี่ยนตําแหน่งและจํานวนของผู้ตัดสินได้ ทั้งนี้ขึ้นนอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่จัด การแข่งขันและสภาพของการแข่งขัน ซึ่งการปลี่ยนแปลงนี้ จะต้องระบุไว้ที่ร่างระเบียบของการแข่งขันนั้น ก่อนที่จะแข่งขัน

 

  1. ตําแหน่งของผู้ตัดสินชี้ขาด: จะนั่งอยู่ ข้างผู้ตัดสินหมายเลข 1
  2. ตําแหน่งผู้เข้าแข่งขัน: จะอยู่ห่างจากจุดกึงกลางสนาม 2 ม. จากด้านเส้นขอบสนามที่ #3
  3. ตําแหน่งของโต๊ะผู้บันทึก: จะห่างผู้ตัดสินชี้ขาด 3 ม. ไปทางด้านขวา
  4. ตําแหน่งของผู้ประสานงานการแข่งขัน: จะอยู่มุมด้านนอกสนามแข่งขัน 1 ม. ตรงมุมที่ #2 ด้านข้างของเส้นขอบสนามที่ #2
  5. ตําแหน่งรอคอยของโค้ชและนักกีฬา: จุดรอเข้าทําการแข่งขันของโค้ชและนักกีฬา จะอยู่ห่างจากสนามแข่งขัน 3 เมตร ตรงมุมสนามที่ 3 ระหว่างเส้นขอบสนามที่ #3 และ #4
  6. ตําแหน่งโต๊ะของผู่ตรวจอุปกรณ์: ตําแหน่งของโต๊ะตรวจอุปกรณ์จะอยู่ทางเข้าด้านนอกของสนามแข่งขันทมุมของเส้นขอบสนามที่ #3 และ #4, เพื่ออํานวยความสะดวกแก่การแข่งขัน

 

(คําอธิบาย #1)
พื้นสนาม(Elastic Mat): จะต้องได้รับการรับรองโดยสหพันธ์เทควันโดโลก (WTF) เท่านั้น เพื่อใช้ในการแข่งขันพุมเซ่ที่ WTF อนุมัติ

(คําอธิบาย #2)
สี ของพื้นสนาม: สี ของพื้นสนามจะต้องไม่สะท้อนแสง หรือทําให้รู้สึกไม่สบายตา ต่อสายตาของผู้เข้าแข่งขันหรือผู้เข้าชม สี ของพื้นสนามจะต้องเหมาะสมกับภาพลักษณ์โดยรวมของสนามแข่งขัน

(คําอธิบาย #3)
โต๊ะผู้ตรวจสอบอุปกรณ์: ผู้ตรวจสอบอุปกรณ์จะทําการตรวจสอบชุดแข่งขันของนักกีฬาว่าเหมาะสม และได้รับการรับรองโดยสหพันธ์ฯ(WTF) หรื อไม่ นักกีฬาจะต้องเปลี่ยนชุดแข่งขันเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เหมาะสมหรือชุดที่ใส่ เข้าทําการแข่งขันนัhนไม่ได้รับการรับรองจาก WTF

(คําอธิบาย #4)
รูปแบบการจัดสนามแข่งขัน: สนามแข่งขันจะต้องจัดตามแผนผังนี้

 

Diagram 1 แผนผังการจัดสนามแข่งขัน

#2 แผนผังการจัดสนามแข่งขัน
#2 แผนผังการจัดสนามแข่งขัน



Rec: โต๊ะบันทึกผลการแข่งขัน
R: กรรมการผู้ตัดสินชี้ขาด
J1, 2, 3, 4, 5, 6: กรรมการผู้ตัดสิน
C1: พื้นที่การแข่งขัน
C2: จุดเริ่มต้นของผู้เข้าแข่งขัน
C3: จุดรอคอยเข้าแข่งขันของโค้ชและนักกีฬา
C4: ตําแหน่งของผู้ประสานงานการแข่งขัน
1, 2, 3, 4: เส้นขอบสนามทั้ง 4 ด้าน มุมขอบสนามแข่งขันทั้ง 4 มุม

 

 Diagram 2 รูปแบบการยกพื้นสนามแข่งขัน

#2 รูปแบบการยกพื้นสนามแข่งขัน
#2 รูปแบบการยกพื้นสนามแข่งขัน

 

เกี่ยวกับกีฬาเทควันโด

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 717,616 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 817,690 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 834,871 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 972,557 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 914,345 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,014,514 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 592,869 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 656,739 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม