ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง

บอร์ด พูดคุยเรื่องสุขภาพ
ตอบกลับโพส
สมุนไพรใกล้ตัว
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 377
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 26, 2009 11:17 am

ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง

โพสต์ โดย สมุนไพรใกล้ตัว »

ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง

ลิ้นจี่ Litchi chinensis Sonn.

          ชื่ออื่น Lychee  ลี่จือ (จีน) Alupag (ฟิลิปปินส์) เป็นพืชชนิดเดียวของจีนัส Litchi ในวงศ์ Sapindacese
          ลิ้นจี่เป็นไม้เขตร้อนมีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนตอนใต้ ไปถึงทางใต้ของประเทศอินโดนีเซียและทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ปัจจุบันมีการปลูกลิ้นจี่ทางตอนใต้ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
รูปภาพ
          ชื่อลิ้นจี่ในภาษาจีนมีความหมายว่า " ของขวัญเพื่อชีวิตที่เบิกบาน" ปัจจุบันเป็น "ผลไม้แห่งห้วงรัก" ของจีน

ลักษณะทั่วไป

          ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ ๑๑-๑๒ เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
            ใบ  เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
            ดอก  ออกดอกเป็นช่อ  ดอกย่อยมีขนาดเล็ก 
            ผล   รูปร่างกลมรี ผิวผลคล้ายหนังขรุขระสากมือ คล้ายมีหนามขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดมีสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดเดี่ยวมีสีน้ำตาลแดงแข็ง

              ส่วนที่ใช้  เนื้อผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกต้น ราก

          ประเทศจีนและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กินเนื้อผลสุก เนื้อผลตากแห้ง หรือเนื้อผลลิ้นจี่บรรจุกระป๋อง
          ราวร้อยกว่าปีมาแล้วประเทศจีนดองลิ้นจี่ทั้งเปลือก ในน้ำเกลือบรรจุไหส่งเป็นสินค้าออกไปกับเรือเดินสมุทร มาขายในประเทศไทย กว่าจะมาถึงก็เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว
          ประเทศไทยกินลิ้นจี่สด ลิ้นจี่กระป๋อง นำลิ้นจี่มาทำเป็นเครื่องดื่ม ไอศกรีม และใช้ประกอบอาหารคาวบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ซีกโลกตะวันตกและสหรัฐอเมริกากินลิ้นจี่เป็นส่วนประกอบของอาหารจานเนื้อสัตว์ ลิ้นจี่เป็นผลไม้มีรสอ่อนจึงเข้าได้กับทั้งเป็ด ไก่ หมู แฮม ปลา และอาหารทะเลอื่นๆ ปรุงเป็นเครื่องดื่ม กวนแยม ใส่ใน  สลัด ทำไอศกรีม ปรุงอาหารเบเกอรี่ เข้าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ลิ้นจี่มาร์ตินี่ ปรุงเป็นลูกกวาดและ ขนมหวานต่างๆ นอกจากนี้ ที่จีนยังใช้ลิ้นจี่แห้งเพิ่มความหวานให้ชาแทนการเติมน้ำตาล

คุณค่าทางอาหาร

          ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ  รสชาติหอมหวานชื่นฉ่ำใจ

          ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามิน  บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหาร

          ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงานเพียง 125  แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูลิ้นจี่จึงควรกินลิ้นจี่แทนวิตามินซีสังเคราะห์สักระยะหนึ่ง

          เนื้อในผล  กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน  ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร

          ประเทศจีนใช้ชาเปลือก ลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ ชาต้มรากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อ ไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันจึงมีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณลิ้นจี่ในผลิตภัณฑ์ช่วยควบคุมอาหารและ ลดน้ำหนัก แต่ไม่พบที่มาของสรรพคุณในการเผาผลาญสารอาหารดังกล่าว

ลิ้นจี่ต้านมะเร็งเต้านม

          เนื้อลิ้นจี่และเปลือกลิ้นจี่มีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด งานวิจัยจากประเทศจีน 2 ชิ้นพบว่าส่วนเพอริคาร์พ (เปลือกและเนื้อผล) ของลิ้นจี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา- ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนแอนโทไซยานินที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน3-  รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน-3กลูโคไซด์ เควอเซทิน-3- รูติโนไซด์ และเควอเซทิน-3-กลูโคไซด์ สารเหล่านี้แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นที่ดี โดยในกลุ่มฟลาโวนอลพบว่าโพรไซยาไนดินบี 2 กำจัดไฮดรอกซี่เรดิคัลและซูปเปอร์-ออกไซด์แอนอิออนได้ดีที่สุด

          ส่วนโพรไซยาไนดินบี 4 โปรไซยาไนดินบี 2 และอีพิคาเทชินมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ อีก และมีพิษต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาพาซิทาเซลที่ใช้ในปัจจุบัน

          นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารสกัดเพอริคาร์พของลิ้นจี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง การสร้าง mRNA และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งดังกล่าวแบบอะป๊อบโทซิสในระดับยีน และยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็ง พบว่าขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมในหนูทดลองลดลงร้อยละ 41 เมื่อได้รับสารสกัดเอทานอล ของเพอริคาร์พของลิ้นจี่ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

          งานวิจัยอีกชิ้นจากประเทศจีนรายงานว่า สารสกัดจากลิ้นจี่ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานจากสหรัฐอเมริกาพบว่าสารสกัดลิ้นจี่ลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง

มีรายงานว่าสารสำคัญในลิ้นจี่ดูดซึมได้ยาก ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงผลิตสารสำคัญให้มีขนาดเล็กลง (ความลับทางการค้า) เพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ แต่วันนี้จะขอแนะนำรายการเพิ่มการดูดซึมของสารสำคัญ ทำได้ง่ายๆ คือนำลิ้นจี่ไปปรุงอาหารกับอะไรที่มีไขมันนิดหน่อยจะทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่าง กายได้ดีขึ้น
รูปภาพ

ที่มา  :  http://www.vcharkarn.com/
jokerzero
Newbie
Newbie
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 15, 2010 9:16 pm

Re: ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง

โพสต์ โดย jokerzero »

ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง
โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรคมะเร็ง จัดเป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนมาอย่างไม่รู้ตัว แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับ การวินิจฉัยที่แม่นยำ จึงเป็นโอกาสดีที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีโอกาสหายขาดได้
รูปภาพ
เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งใน ปัจจุบัน จึงเปลี่ยนจากการรักษาให้หายขาด เป็นการรักษาให้หายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งการใช้ยา การผ่าตัด และการฉายรังสี โดยเฉพาะการใช้รังสีรักษาโรคมะเร็งที่ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเพิ่มความหวังแก่ผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางในการรักษาโรคมะเร็ง  ที่เน้นการรักษาเชิงวิจัย เหมือนในสหรัฐอเมริกา ที่เลือกการรักษาที่น่าจะมีประโยชน์ โดยพิจารณาจากแนวโน้มในการรักษาว่าน่าจะเป็นไปในทิศทางใด จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้ หายขาดได้ ขณะเดียวกันด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงถือได้ว่าโรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์การรักษาโรคมะเร็งที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน
รูปภาพ
การรักษาทางด้านรังสีได้เปลี่ยนจากการฉายรังสี 2 มิติ เป็นรังสี 3 มิติ ซึ่งเริ่มมีบริการแล้วในหลายแห่งของประเทศไทย การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้การวางแผนด้วยระบบ 3 มิติ ทำให้การวางแผนการกำหนดลำรังสีมีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น โดยใช้ ระบบการสร้างภาพ หาทิศทางที่เหมาะสมของลำรังสีและปรับลำรังสีที่ได้ให้เป็นไปตามรูปร่างของ ก้อนเนื้องอกมากที่สุด ทำให้สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี นำไปสู่ผลการรักษาที่ดีลดผลข้างเคียงระยะเฉียบพลันและระยะยาวลงได้ ต่อมามีการพัฒนาอีกระดับหนึ่งของรังสีสามมิติ ที่ปรับความเข้มของรังสีตามสัดส่วนความหนาบางของก้อนมะเร็งใน แนวทางเข้าของลำรังสีนั้นๆ เรียกว่ารังสีแปรความเข้มสามมิติ (IMRT) ทั้งนี้ในแต่ละแนวของการฉายรังสี จะมีเทคนิคในการฉายต่าง ๆ กัน เพื่อให้เกิดรูปร่างและความเข้มของรังสีที่ต่างกัน โดยคำนึงให้เกิดการกระจายรังสีที่แตกต่างกันเป็นจุด หรือช่อง (voxel) หรือเรียกส่วนย่อย ๆ นี้ว่า beamlets ตามความเหมาะสมของรอยโรค ทั้งนี้จะอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ในการกำหนดความเข้มของรังสี ซึ่งจะให้สูงที่สุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งหนาที่สุด และต่ำสุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งบาง ที่สุด แม้ว่า การวางแผนการรักษาด้วยเทคนิครังสี 3 มิติ และ รังสีแปรความเข้มสามมิติ จะเป็นภาพ 3 มิติที่ได้มาจากการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นภาพนิ่งในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ในความเป็นจริง ก้อนเนื้อ งอกในบางส่วนหรือบางอวัยวะก็อาจสามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งในระหว่างการฉายรังสีแต่ละครั้ง และการฉายรังสีครั้งต่อครั้ง ซึ่งอาจเนื่องจากอวัยวะภายในมีการเคลื่อนไหว และผลกระทบจากการหายใจ เช่น มะเร็งบริเวณ ปอด ตับ หรือตับอ่อน อาจทำให้ก้อนเนื้องอกหลุดออกจากตำแหน่งที่วางแผนไว้ ดังนั้นเนื้องอกอาจไม่ได้รับปริมาณรังสีตามที่วางแผนไว้ ขณะเดียวกัน อาจจะทำให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่ข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าระดับที่ จะทนทานได้ ปัจจุบัน โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จึงมีการพัฒนาการรักษาทางรังสีเป็นการรักษา 4 มิติ หรือ การรักษาด้วยเทคนิค ที่เรียกว่า รังสีรักษาภาพนำวิถี หรือ Image guided radiation therapy ( IGRT )  ซึ่งเป็นการรักษาในมิติที่ 4 ที่นอกเหนือจากความแม่นยำในเป้าหมายหรืออวัยวะที่จะรักษาในระบบ 3 มิติแล้ว ยังควบคุมถึงมิติที่ 4 ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้องอก เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ ตับอ่อน เป็นต้น โดยการใช้ภาพของเนื้องอกหรือบริเวณที่ต้องการได้รังสีสูงมาร่วมในการวางแผน การรักษา และใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของเนื้องอกในแต่ละวันของการรักษา โดยสร้างภาพจากการหมุนเครื่องเร่งอนุภาคหรือเครื่องฉายรังสีรอบผู้ป่วย 1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงในขณะที่จะฉายรังสีมาสร้างภาพเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งถ้าคลาดเคลื่อนก็จะมีการแก้ไขโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันระบบจับการเคลื่อนไหวจากการหายใจของผู้ป่วย ก็จะถูกบันทึกด้วยกล้องอินฟราเรด ที่ได้จากระหว่างการจำลองการรักษา ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ภาพเนื้องอกที่มีการเคลื่อนไหว ตลอดช่วงการหายใจ ที่เรียกว่าได้เป็นภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สี่มิติ หรือ Gated 4D CT  ภาพดังกล่าวจะถูกนำมาวางแผนการรักษา และเครื่องเร่งอนุภาคจะปล่อยรังสี เมื่อก้อนเนื้องอกหรือภาพบริเวณที่ต้องการได้รังสี ปรากฏอยู่ในตำแหน่งการรักษาที่วางแผนไว้ เท่านั้น ทำให้มั่นใจได้ว่าการยิงรังสีถูกเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแน่นอน ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจตามธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องกลั่นหายใจหรือกดกระบังลม เพื่อบังคับการหายใจ ดังนั้น IGRT จึงเป็นเทคนิคที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ที่เพิ่มโอกาสการหายของผู้ป่วยมะเร็ง และ ลดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อปกติจากรังสีได้ นับเป็นการฉายรังสีเฉพาะเป้าหมายที่ต้องการรักษาอย่างแท้จริง IGRT หรือ รังสีภาพนำวิถี จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่จะต้องได้รับการรักษาทางรังสี
สนับสนุนเนื้อหา รูปภาพ

คำที่เกี่ยวข้อง  :  โรคภัยไข้เจ็บ    igrt    การฉายรังสี    รังสีรักษาโรคมะเร็ง    โรคมะเร็ง
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง