ยาท่วมหัว..แต่เอาตัวไม่รอด

บอร์ด พูดคุยเรื่องสุขภาพ
ตอบกลับโพส
สมุนไพรใกล้ตัว
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 377
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 26, 2009 11:17 am

ยาท่วมหัว..แต่เอาตัวไม่รอด

โพสต์ โดย สมุนไพรใกล้ตัว »

ยาท่วมหัว..แต่เอาตัวไม่รอด

        ความเสี่ยงของคนยุคใหม่ในการ "พึ่งตัวเอง" เกี่ยวกับสุขภาพ กลายเป็นดาบสองคม ที่ข้อมูลการศึกษาจากฝ่ายแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาระบบยาประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3 - 4 สิงหาคมที่ผ่านมา มีหลายประเด็นปัญหา รวมถึงการส่งเสริมการขายยา ซึ่งมีกรณีศึกษาบทบาทบริษัทยาในการให้ข้อมูลโรคและยากับประชาชนว่า บริษัทมีบทบาทสูงและทำอย่างซับซ้อน ส่งผลต่อการบริโภคยาอย่างไม่เหมาะสม
รูปภาพ
ลองมาดูสถานการณ์การใช้ยาอย่างคร่าวๆ ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา
          เดือนมีนาคม ปี 2551 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้เปิดเผยผลการศึกษาที่ชี้ว่า คนไทยใช้ยาเกินความจำเป็น และส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวะ (ยาฆ่าเชื้อ) ที่ใช้ในสัดส่วนสูงสุดในปริมาณการใช้ยาทั้งหมดของประเทศไทยและยังมีการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ นั่นคือใช้ยารักษาผิดอาการ ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง

          ยกตัวอย่าง ยาเพนิซิลิน ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่กลับถูกใช้ในการรักษาคอเจ็บ เป็นตุ่ม ซึ่งไม่ถูกต้อง และการใช้ที่ออกฤทธิ์กว้างๆ สำหรับโรคที่จำเป็นต้องใช้ยาออกฤทธิ์จำเพาะ จึงทำให้ยาสั่งสมในร่างกายมากเกินไป ยังผลให้เกิดการดื้อยา

          ในสถานการณ์นี้ ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ได้เปิดโครงการนำร่องเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล Antibiotics Smart Use เริ่มจากพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี 2550 และมีแผนจะขยายไปทั่วประเทศ (อ้างอิงจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ.หน้า 11 ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2551)

          การใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทย ตามข้อมูลของบริษัท ไอเอ็มเอส เฮลท์ ผู้ทำข้อมูลตลาดยาทั่วโลก เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคมปี 2552 ยังเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของยาทุกประเภท

          เดือนมีนาคม ปี 2552 สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ได้เสนอให้มีถอดยาแก้ปวดหัวและยาโรคพื้นฐาน เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยให้เหตุผลว่า การเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนควรจะมีสิทธิเลือกซื้อยาตามกำลังจ่าย และไม่จำเป็นต้องพึ่งบริการหมอตลอดเวลา และ เพื่อลดการใช้ยาฟุ่มเฟือย และถือเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แพทย์โดยไม่จำเป็น อีกทั้งทำให้ประชาชนมีสิทธิเลือกยา โดยสามารถนำใบสั่งยาจากแพทย์ไปซื้อได้ตามร้านขายยาที่มีคุณภาพ แม้ว่ายาจะแพงขึ้น แต่ก็เป็นยาที่ประชาชนมั่นใจในคุณภาพและพร้อมที่จะร่วมจ่าย

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง