ประวัติ
ประวัติ "นุช, ซาร่า" นุศรา ต้อมคำ กีฬาวอลเลย์บอล

 

     นุศรา ต้อมคำ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่งตัวเซต และเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่ได้เล่นวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในต่างประเทศ โดยได้ไปแข่งขันในระดับโลกหลายรายการ อาทิ เวิลด์กรังด์ปรีซ์ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ เวิลด์คัพ

 

ประวัติ

     นุศรา ต้อมคำ เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรสาวคนที่ 2 ของนายฉลวย และนางประนอม ต้อมคำ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ 10 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ที่จังหวัดราชบุรี ตาม นิตยา ต้อมคำ ซึ่งเป็นพี่สาวที่เล่นวอลเลย์บอลอยู่แล้ว โดยเมื่อเลิกเรียนจะรอพี่สาวเล่นวอลเลย์บอลเสร็จ จึงจะกลับบ้านพร้อมกัน โค้ชคนแรกจึงหัดให้เริ่มต้นวอลเลย์บอลนับแต่นั้น

     นุศรา ถือเป็นตัวเซตที่สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ทีมชาติไทยอีกคนหนึ่งนอกเหนือจากปริม อินทวงษ์ ซึ่งเป็นตัวเซตที่สร้างประวัติศาสตร์คนแรกของประเทศ นอกจากนี้ นุศรายังเป็นบุคคลต้นแบบของฮะรุกะ มิยะชิตะ ซึ่งเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น

     ปัจจุบัน นุศรา ทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป กองประมวลผลงานและกิจการสัมพันธ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

ทีมชาติ

ชุดใหญ่

  • 2001 ชิงแชมป์เอเชีย –  อันดับ 3
  • 2003 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2005 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2007 ชิงแชมป์เอเชีย –  อันดับ 3
  • 2007 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2008 เอวีซีคัพ –  อันดับ 3
  • 2009 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2009 ชิงแชมป์เอเชีย –  แชมป์
  • 2010 เอวีซีคัพ –  รองแชมป์
  • 2011 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2012 เอวีซีคัพ –  แชมป์
  • 2013 ชิงแชมป์เอเชีย –  แชมป์
  • 2013 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2014 เอเชียนเกมส์ –  เหรียญทองแดง
  • 2015 ชิงแชมป์เอเชีย –  อันดับ 3
  • 2015 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2016 มงเทรอมาสเตอร์ –  รองแชมป์
  • 2016 เอวีซีคัพ –  อันดับ 3
  • 2017 ชิงแชมป์เอเชีย –  รองแชมป์
  • 2017 ซีเกมส์ –  เหรียญทอง
  • 2018 เอเชียนเกมส์- เหรียญเงิน

 

เกียรติประวัติ

รางวัลส่วนบุคคล

  • 2007 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2007 ชิงแชมป์เอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2008 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
  • 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
  • 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2010-11 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2011 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
  • 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
  • 2012 เวิลด์กรังด์ปรีซ์ - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2012 เอวีซี คัพ - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2013 ชิงแชมป์เอเชีย- "เซตยอดเยี่ยม"[3]
  • 2014 ซีอีวี แชมเปียนส์ ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2013-14 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
  • 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
  • 2015-16 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2016 มงเทรอวอลลีย์แมสเตอส์ - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2016 เวิลด์กรังด์ปรีซ์ - "เซตยอดเยี่ยม"
  • 2017 ชิงแชมป์เอเชีย- "เซตยอดเยี่ยม"

ทีมสโมสร

  • 2007 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  รองแชมป์, กับ แสงโสม
  • 2008 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  รองแชมป์, กับ แสงโสม
  • 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  แชมป์, กับ เฟเดอร์บรอย
  • 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  แชมป์, กับ เฟเดอร์บรอย
  • 2010-11 ไทยแลนด์ลีก –  แชมป์, กับ กะทู้ ภูเก็ต
  • 2010-11 ชาเลนจ์คัพ –  แชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
  • 2010-11 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก –  รองแชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
  • 2011 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  แชมป์, กับ ช้าง
  • 2011-12 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก –  รองแชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
  • 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย –  อันดับ 3, กับ ช้าง
  • 2012-13 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก –  รองแชมป์, กับ อิกติซาดชิ บากู
  • 2013 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก –  แชมป์, กับ ไอเดียขอนแก่น
  • 2013-14 ซีอีวี แชมเปียนส์ ลีก –  อันดับ 3, กับ ราบิตา บากู
  • 2013-14 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก –  แชมป์, กับ ราบิตา บากู
  • 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก –  แชมป์, กับ ราบิตา บากู
  • 2015-16 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก -  แชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
  • 2016-17 เตอร์กิช คัพ -  แชมป์, กับ เฟแนร์บาห์แช
  • 2016-17 เตอร์กิช ลีก -  แชมป์, กับ เฟแนร์บาห์แช
  • 2017-18 เตอร์กิช ลีก -  อันดับ 3, กับ เฟแนร์บาห์แช

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2556 -  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
  • พ.ศ. 2553 -  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)



- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,871 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,262 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,726 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,265 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,317 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,951 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,351 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,918 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม