พิมพ์

 

บทสรุป

บทสรุปมวยไทย
บทสรุปมวยไทย

           ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มวยไทยได้มีบทบาทในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมามากมาย ทั้งยังปรากฏอีกว่า พระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ(ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยาตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้น มีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย(อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดง

 

มวยไทยได้มีบทบาทในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมามากมาย
มวยไทยได้มีบทบาทในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมามากมาย

 

           มือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆ สืบต่อกันมาเป็นประจำ และ “เป็นที่น่าสังเกตว่า กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตาก ล้วนประกอบด้วยนักมวยและครูมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจำนวนมาก ถึงกับได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กองคือ กองทนายเลือก กองพระอาจารย์ และกองแก้วจินดาซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่ทำให้คนไทยสิ้นความหวาดกลัวต่อทัพพม่า ในการรบที่บ้านนางแก้ว ราชบุรี จนอาจเรียกได้ว่า มวยไทยกู้ชาติ”

 

การจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง
การจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง

 

           มวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการบรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวยกับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวยกับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6

 

มวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
มวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

 

           ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน “ต่อมาเริ่มมีการการหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน”

 

ศิษย์เอกของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ศิษย์เอกของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

 

           แต่คำว่ามวยไทย มีมาใช้ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายชาตินิยม ในยุคที่มี น.ต.หลวงศุภชลาศัย ร.น. เป็นอธิบดีกรมพละศึกษา มีการออกพระราชบัญญัติมวยไทย ซึ่งแต่เดิมมวยไทยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น เช่น มวยโคราช, มวยไชยา และรวมถึงการก่อสร้างเวทีมวยมาตรฐานจวบจนปัจจุบันคือ เวทีมวยลุมพินี และเวทีมวยราชดำเนิน

 

น.ต.หลวงศุภชลาศัย ร.น. เป็นอธิบดีกรมพละศึกษา
น.ต.หลวงศุภชลาศัย ร.น. เป็นอธิบดีกรมพละศึกษา

 

           “ต่อมา พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีมติให้กำหนดเอาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็น “วันมวยไทย” โดยถือเอาวันขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ” แต่มีผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มวยไทยให้ความเห็นว่ามวยไทยมีกำเนิดมาก่อนยุคสมัยพระเจ้าเสือนานมาก และหากจะยกให้คนที่มีฝีมือในวิชามวยไทยและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในแง่เกียรติประวัติและความสามารถ ควรยกย่องพระยาพิชัยดาบหัก(นายทองดี ฟันขาว) มากที่สุด เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจนในการศึกษาวิชามวยไทยสำหรับนายขนมต้ม ซึ่งเป็นครูมวยกรุงเก่าและถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ถือว่าได้ใช้วิชามวยไทยแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นได้น่ายกย่อง แต่ประวัติความเป็นมาของท่านไม่ชัดเจน แต่หากเห็นว่าควรยกย่องพระมหากษัตริย์มากกว่าสามัญชนก็น่าจะพิจารณาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านมีชีวประวัติชัดเจนในความสามารถในวิชามวยและการต่อสู้หลายแขนง ทั้งมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการรวบรวม ครูมวย นักมวย ที่มีฝีมือจำนวนมากเป็นหลักในกองกำลังกอบกู้อิสรภาพ

           ตำรามวยไทยโบราณที่เก่าแก่ที่สุดถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ระหว่างพุทธศักราช 2367-2394 ยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งบรรยาย“หลักเบื้องต้นของมวยไทยคือ ทุ่ม-ทับ-จับ-หัก” (หอสมุดแห่งชาติ หมวดตำราภาพเลขที่ 10/ก มัดที่ 3 ตู้ที่ 117)


           ตำรามวยไทยเล่มแรก โดย 3 พี่น้องครูมวย ได้แก่ นายชุบ พี่คนโต นายชิต คนกลางและนายสุวรรณ์ คนน้องแห่งสกุลนิราสะวัต มี 103 หน้า ราคาเล่มละ 1 บาท 25 สตางค์พิมพ์ครั้งแรก 1,500 ฉบับ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรหม พระนคร เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471

           สารบาญประกอบด้วย เรื่อง วิธีคุมหลัก-วิธีก้าวเท้ารุกประชิด-ระยะต่อยและเตะ-กติกาสังเขป-การฝึกหัดเพื่อขึ้นเวที-การให้น้ำหนักมวย-แม่ไม้ชกและปิดเชิงมือทั้งหมด-การก้าว ฟันปลา-ท่าคละสืบเท้าชก และถอดเท้ารับ-วิธีกระโดดชกและหลบ-การแยกขาชกประจบ-หลักแม่ไม้เชิงเท้า-หลักแม่ไม้ถีบและจับ-หลักแม่ไม้หลบเตะ-ท่าเทพนม-ขึ้นไม้พรหม เป็นที่น่าสังเกตเนื้อหาสาระ และภาพลีลาการชกต่อย ส่วนใหญ่จะเป็นคำบรรยายภาพประกอบมีค่อนข้างน้อย เป็นภาพขาวดำที่จัดในห้องถ่ายทำเฉพาะ ไม่บอกชื่อท่าของแม่ไม้ บอกแต่ท่าคละอันหมายถึง ลีลา หมัด ศอก เตะ และเข่า คละกันไป แต่กลับโฆษณาภาค 2 ที่จะจัดพิมพ์ในโอกาสหน้า พรรณนาจะมีรูปประกอบท่าครูเด็ดๆ ได้แก่ ท่าลูกไม้มวย เช่น หนูไต่ราว-หนุมานถวายแหวน-ฤๅษีมุดสระ-ลิงชิงลูกไม้ และอื่นๆ

           ตำรามวยไทยเล่มนี้เป็นภาคแรก มีภาพประกอบตลอดเล่ม นับเป็นตำรามวยไทยเล่มแรกๆ ที่มีการตีพิมพ์ในประเทศสยาม ตำรานี้เรียบเรียงจากตำรามวยไทยแบบโบราณของไทย ผู้เขียนได้ร่วมกับนายชิต นิวาสวัต ผู้เป็นครูมวย พร้อมทั้งนักมวยเอกสมัยนั้นคือนายสุวรรณ นิวาสวัต เป็นผู้ช่วยดัดแปลง แก้ไข เนื้อหาของหนังสือไล่ลำดับตั้งแต่ หลักการฝึกขั้นพื้นฐาน เช่น วิธีคุมหลัก การต่อย เตะ จนถึงหลักแม่ไม้ต่างๆ ในวิชามวยไทยก็ได้บรรจุอยู่อย่างครบครันในตำราเล่มนี้

 

   ตำรามวยไทยเล่มนี้เป็นภาคแรก
   ตำรามวยไทยเล่มนี้เป็นภาคแรก

 

สรุปความสำคัญ คุณค่าและคุณประโยชน์ของมวยไทยกีฬาทุกชนิดมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ศิลปะมวยไทยมีคุณค่าสูงสำหรับผู้เรียนหลายประการ คือ
1. ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดี สมส่วน มีภูมิต้านทานสูง
2. มีจิตใจเข้มแข็ง มีความรอบคอบมานะอดทน
3. สามารถป้องกันตัวในชีวิตประจำวัน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
4. มีความเชื่อมั่นต่อตนเอง มีระเบียบวินัยกล้าหาญ
5. ดำรงไว้ซึ่งศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยให้ยั่งยืนแพร่หลายตลอดไป
6. มีไหวพริบ เชาวน์ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
7. มีความเป็นสุภาพบุรุษไม่กล้ากระทำในสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ
8. ใช้สร้างงานประกอบอาชีพได

กีฬามวยนี้กับความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศชาติก็สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะว่ามวยนี้ก็เป็นทางป้องกันตัว เป็นกีฬาที่มาจากการป้องกันตัวของนักรบไทยมาแต่โบราณ มาสมัยนี้เราจะต้องป้องกันตัวด้วยการใช้การต่อสู้ส่วนหนึ่ง และด้วยวิธีที่จะพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่ง นักมวยทราบดีว่าถ้าต่อสู้เฉพาะด้วยกำลังก็คงแพ้แน่ ต้องมีวิชาการ ต้องมีวิธีการ และต้องมีสติที่มั่นคง ที่วิชาการที่จะบุก และวิชาการที่จะหลบ ฉะนั้นการที่มีการต่อสู้มวยเพื่อป้องกันตัว

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -