สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 8

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 8
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 8

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (พ.ศ. 2477-2489)

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล

 

         ระหว่างปี พ.ศ. 2478-2484 คหบดีผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้สร้างเวทีมวยขึ้นบริเวณที่ดินของเจ้าเชต ชื่อ “สนามมวยสวนเจ้าเชต” ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมรักษาดินแดน การดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยดี เนื่องจากทหารเข้ามาควบคุม เพื่อนำรายไปบำรุงกิจการทหาร จัดการแข่งขันกันติดต่อหลายปี จึงเลิกไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484

         ระหว่างปี พ.ศ. 2485-2487 สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะสงบแต่ยังคงมีเครื่องบินข้าศึกบินลาดตระเวนอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จำเป็นต้องจัดการแข่งขันชกมวยไทยตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในเวลากลางวัน เช่น สนามมวยพัฒนาการ สนามมวยท่าพระจันทร์สนามมวยวงเวียนใหญ่ เนื่องจากประชนยังคงให้ความสนใจมวยไทยอยู่

         วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 “สนามมวยเวทีราชดำเนิน” ได้เปิดสนามทำการแข่งขันครั้งแรก มีนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นนายสนามมวยคนแรก พระยาจินดารักษ์เป็นกรรมการบริหารเวที ครูชิต อัมพลสิน เป็นโปรโมเตอร์ จัดชกเป็นประจำในวันอาทิตย

 

กติกาของกรมพลศึกษา
กติกาของกรมพลศึกษา

 

         เวลา 16.00-17.00 น. ใช้กติกาของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ. 2480 ชก 5 ยก ยกละ 3 นาทีพักระหว่างยก 2 นาที ในระยะแรก ชั่งน้ำหนักตัวนักมวยด้วยมาตราส่วนเป็นสโตนเหมือนน้ำหนักม้า อีก 2 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นกิโลกรัม ปี พ.ศ. 2491 เปลี่ยนน้ำหนักนักมวยเป็นปอนด์ เพื่อให้เป็นระบบสากลมากขึ้น และเรียกชื่อรุ่นตามน้ำหนัก เช่น น้ำหนักไม่เกิน112 ปอนด์ รุ่นฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์ รุ่นแบนตัมเวท เป็นต้น และปี พ.ศ. 2494 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เริ่มก่อสร้างหลังคาอย่างถาวร

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2496 พันตำรวจเอกพิชัย กุลวณิชย์ ผู้ช่วยมวยนายสนามมวยเวทีราชดำเนินได้ออกระเบียบให้นักมวยสวมกางเกงให้ตรงมุมตนเอง พี่เลี้ยงต้องแต่งกายสุภาพ

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2496 “สนามมวยเวทีลุมพินี” ได้เปิดการแข่งขันมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มี เสธ เอิบ แสงฤทธิ์ เป็นนายสนาม นายเขต ศรียาภัย เป็นผู้จัดการ

 

“ปี พ.ศ. 2498 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้จัดทำกติกามวยไทยอาชีพฉบับแรกขึ้นโดยได้ปรับปรุงจากกติกามวยไทย ฉบับปี พ.ศ. 2480 ของกรมพลศึกษา” 

 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด
บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด

 

พ.ศ. 2502 นายโนกุจิ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นนำนักมวยชาวญี่ปุ่นมาชกกับนักมวยไทย ได้ถ่ายภาพยนตร์มวยไทยไว้แล้วนำไปศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็นคึกบอกซิ่งนายไคโต เคนกุจิ  “ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่นได้เข้าชมมวย ณ เวทีราชดำเนินเกิดความประทับใจ นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจังในโรงเรียนประถมศึกษาของญี่ปุ่น”

 

ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่น
ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่น

 

พ.ศ. 2503 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้เพิ่มข้อบังคับกติกามวยไทยอาชีพอีกว่านักมวยไทยต้องมีอายุในวันแข่งขันไม่ต่ำกว่า 18 ปี และอายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ์

พ.ศ. 2504 เวทีราชดำเนินได้จัดการแข่งขันมวยชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรกมีนักมวยซึ่งได้รับถ้วยพระราชทาน ตามลำดับดังนี้

 

 ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่นได้เข้าชมมวย ณ เวทีราชดำเนิน เกิดความประทับใจ นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจังในโรงเรียนประถมศึกษาของญี่ปุ่น

นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจัง
นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจัง

 

 


นำศักดิ์ ยนตรกิจ
นำศักดิ์ ยนตรกิจ

เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต
เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต

สมพงษ์ เจริญเมือง
สมพงษ์ เจริญเมือง
 วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504
คนที่ 1 นำศักดิ์ ยนตรกิจ
 วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
คนที่ 2 เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508
คนที่ 3 สมพงษ์ เจริญเมือง 

 


เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต
เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต

ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์
ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์

เผด็จศึก พิษณุราชันย
เผด็จศึก พิษณุราชันย
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2512
คนที่ 4 เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2522
คนที่ 5 ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
คนที่ 6 เผด็จศึก พิษณุราชันย

 

 

       พ.ศ. 2507 นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานบริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการชิงแชมป์เปี้ยน การป้องกันแชมป์เปี้ยน และการจัดอันดับนักมวยไทยของเวทีราชดำเนินเป็นครั้งแรก

       พ.ศ. 2508 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ได้ปรับปรุงกติกามวยไทยอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า “กติกามวยไทยอาชีพของเวทีราชดำเนิน พ.ศ. 2508”

       ธันวาคม พ.ศ. 2527 เวทีมวยราชดำเนินจัดอันดับ 10 ยอดมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรกดังนี้ 1 ผล พระประแดง 2 สุข ประสาทหินพิมาย 3 ชูชัย พระขรรค์ชัย 4 ประยุทธ์อุดมศักดิ์ 5 อดุลย์ ศรีโสธร 6 อภิเดช ศิษย์หิรัญ 7 วิชาญน้อย พรทวี 8 พุฒ ล้อเหล็ก9 ผุดผาดน้อย วรวุฒิ 10 ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์

 


ผล พระประแดง
ผล พระประแดง

สุข ปราสาทหินพิมาย
สุข ปราสาทหินพิมาย

ชูชัย พระขรรค์ชัย
ชูชัย พระขรรค์ชัย
คนที่ 1 ผล พระประแดง คนที่ 2 สุข ปราสาทหินพิมาย คนที่ 3 ชูชัย พระขรรค์ชัย

 


ประยุทธ์ อุดมศักดิ์
ประยุทธ์ อุดมศักดิ์

อดุลย์ ศรีโสธร
อดุลย์ ศรีโสธร

อภิเดช ศิษย์หิรัญ
อภิเดช ศิษย์หิรัญ
คนที่ 4 ประยุทธ์ อุดมศักดิ์ คนที่ 5 อดุลย์ ศรีโสธร คนที่ 6 อภิเดช ศิษย์หิรัญ

 


วิชาญน้อย พรทว
วิชาญน้อย พรทว

พุฒ ล้อเหล็ก
พุฒ ล้อเหล็ก

ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
คนที่ 7 วิชาญน้อย พรทว คนที่ 8 พุฒ ล้อเหล็ก คนที่ 9 ผุดผาดน้อย วรวุฒิ

 


ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์
ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์ว
คนที่ 10 ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,621 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 815,160 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,710 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,259 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 913,122 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,943 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,998 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,551 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม