พิมพ์

 

          นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล ทั้งสองคนได้พักอยู่ที่วังเปรมประชากรโดยมีกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีฝีมือมวยไทยเยี่ยมยอดมากคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อม

 

นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล
นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล

         นักมวยที่พักอยู่ในวังเปรมประชากรได้รับการฝึกซ้อมอย่างแข็งขัน การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี ทำให้นักมวยทุกคนพร้อมที่จะชกมวยได้ตลอดเวลาดังนั้นการเปรียบมวยในสมัยนั้นจึงไม่ถือเอาน้ำหนักของนักมวยเป็นสิ่งที่สำคัญ การหาคู่ชกเมื่อยืนเทียบกันพิจารณาเห็นสมควรและสมัครใจกันทั้งสองฝ่ายแล้วสามารถตกลงกันได้เลยซึ่งนายทับ จำเกาะ ได้คู่ชกเป็นนักมวยฝีมือดีจากมหาสารคามและนายทับ จำเกาะ เป็นฝ่ายชนะ

 

การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี
การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี

 

         ต่อมาสนามมวยสวนกุหลาบได้คัดเลือกนักมวยฝีมือดีอีกคนหนึ่งมาชกกับนายทับจำเกาะ คือ นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์ ซึ่งเป็นครูพลศึกษาเคยซ้อมอยู่กับนายทิม อติเปรมานนท์ หรือคนทั่วไปเรียก “ครูทิม” ซึ่งเป็นครูพลศึกษาที่มีฝีมือมวยไทยเป็นเลิศคนหนึ่งการฝึกซ้อมอยู่ในความควบคุมของพระยาภักดีนรเศรษฐ์ พระยาโอวาทวรกิจ และพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ตอนแรกทางสนามมวยจะจัดให้นายทับ จำเกาะ ชกกับนายบังสะเลบศรไขว้ ซึ่งเป็นนักมวยที่แข็งแรง บึกบึน รูปร่างใหญ่โต อยู่ในความควบคุมของหม่อมราชวงศ์มานพฯ แต่นายทับ จำเกาะไม่ยอมชกด้วย จึงจัดให้ชกกับนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์แทน “ต่อมานายทับ จำเกาะ ได้ทราบว่าตนเองจะได้ชกกับนักมวยฝีมือดีอย่างนายประสิทธิ์บุญยารมณ์ ก็คิดมากจนล้มป่วยเพราะมีจิตใจไม่สู้ เกรงกลัวคู่ต่อสู้จนเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ต้องพาไปทำพิธีปลุกเสกจากพระครูวิมลคุณาการ (หลวงพ่อสุก) วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”

 

นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์
นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์

 

         มวยคู่นี้เป็นมวยที่ประชาชนสนใจมากในยุคนั้น ผู้ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี แม่กองเสือป่าเป็นผู้เป่าปี่ มีลูกน้องในคณะตีกลองแขกและฉิ่งให้จังหวะ ซึ่งสามารถกระตุ้นอารมณ์ได้เป็นอย่างดี การชกกันเป็นไปในแบบระมัดระวังมากเพราะต่างก็มีไม้ตายด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่นายทับใช้ชั้นเชิงหลอกต่อยผิดนายประสิทธิ์ จึงวิ่งเข้าต่อยแต่เป็นจังหวะที่นายทับเตะตามอย่างรุนแรง และนายทับได้เตะติดต่อกันหลายครั้งจนนายประสิทธิ์ล้มลงด้วยความเจ็บปวดและยอมแพ้ไป

 

ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ
ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ

 

         การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์ นักมวยเมืองกรุงต่อนายทับ จำเกาะนักมวยโคราชในครั้งนั้นทำให้ชาวกรุงเรียกร้องที่จะเฟ้นหานักมวยฝีมือดีขึ้นต่อสู้กับนายทับ จำเกาะ เป็นคนต่อไป เช่น นายสุวรรณ นิวาสะวัด ศิษย์เอกของหลวง

 

 การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์
 การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์

 

         พิพัฒน์พลกาย (กระจ่าง วิโรจน์เพชร) นายอินทร์ ศักดิ์เดช มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา มวยดีจากโคราช ครูทิม อติเปรมมานนท์ นายสิน ดิลกวิลาศ(น้าชายของสมาน ดิลกวิลาศ) ชาวพระนคร “แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้ชกกับนายทับ เพราะนายทับได้กลับไปโคราชบ้านเกิดเมืองนอน และไม่ยอมกลับมาชกมวยอีกเลย”

 

 มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา
 มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา

 

         ส่วนนายยัง หาญทะเล นักมวยฝีมือดีที่เดินทางมาจากโคราชพร้อมนายทับจำเกาะ ยังหาคู่ชกที่เหมาะสมไม่ได้ พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี ซึ่งเป็นผู้บริหารสนามมวยสวนกุหลาบจึงปรึกษาหารือคณะกรรมการเพื่อหาคู่ชกให้ในที่สุดก็จัดให้ชกกับมวยจีนชื่อ “จี๊ฉ่าง” ซึ่งนายเคียงเหลียน สีบุญเรือง และนายฮุนกิมฮวด แห่งสโมสรสามัคคีจีนสยามเป็นผู้สั่งมาจากฮ่องกง แต่บางเสียงก็ว่าเป็นจีนกวางตุ้ง ซึ่งเป็นอาจารย์สอนมวยจีนอยู่ย่านสำเพ็ง ทำการฝึกซ้อมที่ค่ายมวยแถววัดแก้วแจ่มฟ้า (วัดแก้วฟ้าล่าง) ถนนสี่พระยาส่วนนายยัง หาญทะเล ก็ทำการฝึกซ้อมอยู่ที่วังเปรมประชากร โดยการควบคุมของเสด็จในกรมฯ ทำ “พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร” ซึ่งจะต้องพาไปรดน้ำมนต์ และมีการลงคาถาอาคมรับมอบเครื่องรางของขลังต่างๆ ซึ่งจะทำให้นักมวยมีจิตใจกล้าหาญพร้อมที่จะต่อสู้กับศัตรูได้เสมอ” หลังจากที่นายยัง หาญทะเลได้ผ่านพิธีชุบตัวแล้วก็มีจิตใจกล้าหาญ พร้อมที่จะต่อสู้กับมวยจีน

 

พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร
 พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร

 

         มวยคู่นี้สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้มากเป็นประวัติการณ์ เพราะทั้งชาวจีนและชาวไทยต่างพากันเข้าชมจนบัตรหมด ที่นั่งเต็มก่อนการชกหลายชั่วโมงนายยัง หาญทะเล แต่งกายตามแบบของมวยไทยในสมัยรัชกาลนั้น มีผ้าขนหนูสีเทาชุบน้ำพาดบ่า เคี้ยวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องรางของขลังอย่างหนึ่งที่ได้มาจากครูบาอาจารย์ของนักมวย ขนาบข้างด้วยพี่เลี้ยงพระชลัมภ์พิสัยเสนี มีวงปี่กลองของหมื่นสมัคร เสียงประจิตบรรเลงอยู่ข้างล่างของเวที เมื่อถึงเวลาชกกรรมการได้เรียกนักมวยและพี่เลี้ยงของนักมวยทั้งสองฝ่ายมาชี้แจงกติกาการชก เมื่อตกลงกันแล้วผู้ตัดสินก็กล่าวสรุปผลมีความสำคัญว่า “การแข่งขันเพื่อการแพ้ชนะมีกำหนด 11 ยก คนทำคู่ต่อสู้ล้มให้ไปคอยอยู่ที่มุมกลองจึงไม่ใช้มุมของฝ่ายใด ต้องแยกกันเมื่อได้ยินเสียงบอกแยก ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้คนใดไม่เชื่อฟังถือว่าผิดประเพณี ใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณ” ซึ่งกติกาเหล่านี้เป็นกติกาการแข่งขันชกมวยของสนามมวยสวนกุหลาบปี พ.ศ. 2464 “ผลปรากฏว่านายยังชกชนะจี๊ฉ่าง ซึ่งถูกกรรมการนับ 10 แล้วยังไม่สามารถลุกขึ้นได้เป็นฝ่ายแพ้ไป”

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -