สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราชกาลที่ 2

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2352 ซึ่งเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ในรัชสมัยนี้ปรากฏมีการบันทึกถึงเรื่องมวยไว้ในวรรณคดีหลายเรื่องบางเรื่องก็เป็นพระราชนิพนธ์ในพระองค์เอง เช่น

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

บัดนั้น ประชาชนคนดูอักนิษฐ์
เห็นเหาะทั้งสองข้างต่างมีฤทธิ์ ให้คิดพิศวงงงงวย
บ้างแหวงหน้าอ้าปากตะลึงตะไล แลดูภูวไนยเอาใจช่วย
เบียดเสียดเยียดยัดดังดูมวย แซ่ซร้องร้องอำนวยอวยชัย
“สังข์ทอง”
มีทั้งโขนละครมอญรำ มวยปล้ำค่ำลงจงมีหนัง
ตีประโคมฆ้องกลองให้ก้องดัง ให้หีบตั้งใส่ศพให้ครบครัน
“ขุนช้างขุนแผน”

 

 ประชาชนคนดูอักนิษฐ์
ประชาชนคนดูอักนิษฐ์

ให้เปรียบคู่ผู้หญิงชกมวยปล้ำ ข้างหนึ่งดำข้างหนึ่งขาวสาวขยัน
กางเกงลายสายถักเสื้อกั๊กกัน ต่างตั้งมั่นเหม่นเหม่คนเฮฮา
เข้าทุบทอยต่อยตะกายป่ายปุบปับ เสียงตุบตับเตะผางถูกหว่างขา
กางเกงแยกแตกควากเป็นปากกา ผู้ชายฮาเฮลั่นสนั่นดัง
ต่างเหนื่อยหอบหมอบทรุดให้หยุดอยู่ จูงมือคู่ปล้ำเข้ามาหน้าที่นั่ง
ต่างประหม่าหน้าตื่นยืนเก้งกัง เขาทุบหลังให้บังคมประพรมน้ำ
แล้วลุกขึ้นยืนประจัญขยั้นขยับ เข้ายุดจับขาแข้งแย่งขยำ
ต่างกอดเกี้ยวเกลียวกลมล้มคะมำ คนหนึ่งคว่ำคนหนึ่งหงายผู้ชายฮา
ขึ้นอยู่บนคนคว่ำขยำหยิก คนล่างพลิกผลักแพลงไขว้แข้งขา
กอดประกับกลับไพล่พลิกไปมา คนดูฮาเฮสนั่นครื้นครั่นไป
“สิงหไกรภพ”
แล้วมีมวยหมัดรับกันกับโกก แขยะปับขยับโปกปะเตะถอง
ปับเขาฮาปาเขาเฮเซคะนอง ดำมันแรงแดงเป็นรองตกรางวัล
“ลักษณะวงศ์”

 

 กางเกงลายสายถักเสื้อกั๊กกัน
กางเกงลายสายถักเสื้อกั๊กกัน


           วรรณกรรมที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 สามารถแสดงภาพลักษณ์ของกีฬามวยไว้ได้ชัดเจนว่าเป็นการแข่งขันที่มีคนนิยมดูกันมากที่สุดในสมัยนั้น และเป็นการบันเทิงชนิดหนึ่ง “ในงานเทศกาลประเพณี เช่น งานสงกรานต์ลอยกระทง เข้าพรรษา เทศกาลกฐิน งานบวช แต่งงาน หรือการฉลองสมโภชต่างๆ มักจะมีพิธีทางศาสนาและการบันเทิงควบคู่กันไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจในการพระศาสนาแล้วยังจะได้ความสนุกสนานบันเทิงใจได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของสังคมสืบต่อกันไปการบันเทิงที่เป็นกีฬา เช่น วิ่งวัว มวยปล้ำ การแข่งเรือในหน้าน้ำหลาก เล่นว่าวในฤดูหนาว ที่ต้องอาศัยความแข็งแรงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงกันด้วย” ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ในสมัยนี้มีการกล่าวถึงการชกมวยปล้ำผู้หญิงหน้าพระที่นั่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การชกมวยไม่ใช่จะมีแต่ในหมู่ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็มีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แขนงนี้ได้เช่นกันสันนิษฐานว่าคงจะฝึกหัดกันมานานแล้วเพราะไทยเราต้องทำศึกสงครามกับพม่าและหัวเมืองต่างๆ ตลอดเวลา แต่การที่ผู้หญิงมาชกมวยพนันกันคงจะเริ่มมีในระยะหลัง คงเป็นเพราะสภาพบ้านเมืองยังขัดสนเนื่องจากผลกระทบจากภาวะสงครามการชกมวยจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะได้เงินรางวัลมาใช้จ่ายเท่านั้นคงไม่มีโอกาสที่จะก้าวหน้าเช่นผู้ชายที่มีฝีมือและได้คัดเลือกเป็นทนายเลือกหรือเป็นครูมวย การชกมวยก็คงเป็นทั้งมวยปล้ำและใช้หมัดมวยควบคู่กันไป ยังไม่มีกติกาอะไรมากมาย ปล่อยให้ปล้ำให้ชกกันจนเหนื่อยก็หยุดพักแล้วชกกันต่อจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมแพ้ไปในที่สุด

 

  วรรณกรรมที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2
 วรรณกรรมที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,538 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,257 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,098 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,848 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,154 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,706 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,972 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,628 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม