สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี

 

สมัยกรุงธนบุรี


      สมัยกรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2310-2325 หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า ขณะนั้นสภาพบ้านเมืองวัดวาอารามถูกทำลาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พยายามรวบรวมไพร่พลที่หนีกระจัดกระจายอยู่ตามป่า ตามชุมนุมต่างๆ เพื่อกอบกู้เอกราชจนสามารถตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้เมื่อจุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก

 

สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี

 

      ลอดเวลาดังกล่าวประเทศชาติไม่ได้ว่างเว้นจากการทำสงคราม ทั้งจากศัตรูภายนอกประเทศและจากการตั้งตัวเป็นใหญ่ของชุมนุมต่างๆ ทำให้คนไทยในสมัยนั้นต้องอยู่ในสภาพเตรียมตัวพร้อมรับกับสถานการณ์จากการสู้รบที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งคนดีมีฝีมือและพระสงฆ์ที่มีวิชาความรู้ในศิลปศาสตร์แขนงต่างๆล้มตายกันเป็นจำนวนมาก จึงต้องเสาะแสวงหาผู้รู้ผู้ชำนาญการต่างๆ เข้ามาในกรุงธนบุรีเพื่อฝึกฝนวิชาความรู้ต่างๆ ทั้งด้านการศาสนา การเมือง การปกครอง ยุทธวิธีการรบการฝึกหัดมวยไทย กระบี่กระบอง ดาบ ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำศึกสงคราม

 

สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี

 

      สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนใจมวยไทยเป็นพิเศษทรงมีความสามารถในศิลปะมวยไทยและกระบี่กระบองเป็นอย่างดี เมื่ออายุ 6 ขวบได้เข้าศึกษาที่วัดโกษาวาศน์ (วัดคลัง) และทรงฝึกหัดมวยไทยจากทนายเลือกในพระราชวังและสำนักมวยอื่นๆ อีกหลายสำนักและเสด็จทอดพระเนตรการชกมวยอยู่เสมอ “สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรีจึงมีนักมวยที่มีความสามารถเกิดขึ้นมากมายได้แก่ ครูเมฆ บ้านท่าเสา ครูเที่ยง บ้านเก่ง นายทองดีฟันขาว (นายจ้อย) หรือหมื่นไววรนารถ หรือพระยาสีหราชเดโช หรือพระยาพิชัยดาบหัก ครูห้าว แขวงเมืองตากครูนิล เมืองทุ่งยั้ง นายถึก ศิษย์ครูนิล เป็นต้น”

      จุดมุ่งหมายในการฝึกหัดมวยไทยในสมัยนั้นจึงคล้ายกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือฝึกเพื่อการทหาร การป้องกันประเทศชาติเมื่อเกิดสงครามรักษาความสงบภายในประเทศถวายการอารักขาแด่พระมหากษัตริย์ และฝึกหัดมวยไทยเพื่อเป็นศิลปะป้องกันตัวสำหรับลูกผู้ชายในการป้องกันตัว ครอบครัว และชุมชน เพราะเป็นช่วงที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุมการฝึกมวยไทยสมัยนี้เพื่อการสงครามและการฝึกทหารอย่างแท้จริง มีนักมวยฝีมือดีเกิดขึ้นมากมาย ส่วนนักมวยที่เป็นนายทหารเลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนาหลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก พระยาพิชัยดาบหัก

 

 การฝึกมวยไทยสมัยกรุงธนบุรี
การฝึกมวยไทยสมัยกรุงธนบุรี

      การฝึกมวยไทยสมัยนี้เพื่อการสงครามและการฝึกทหารอย่างแท้จริง มีนักมวยฝีมือดีเกิดขึ้นมากมาย ส่วนนักมวยที่เป็นนายทหารเลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนาหลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก พระยาพิชัยดาบหัก 

 

การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรี
การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรี

 

     การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรีนิยมจัดนักมวยต่างถิ่นหรือลูกศิษย์ต่างครูชกกันกติกาการแข่งขันยังไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงแต่ว่าเป็นการชกแบบไม่มีคะแนนจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้ไป สังเวียนเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด นักมวยยังชกแบบคาดเชือกสวมมงคล และผูกประเจียดที่ต้นแขนขณะทำการแข่งขัน

      สมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชนชาวสยามเป็นปึกแผ่นรวบรวมดินแดนได้มากแล้ว แต่ยังไม่ว่างเว้นจากศึกสงครามใหญ่น้อย ทำให้ต้องเร่งการฝึกปรือกลมวย เพลงดาบอยู่เสมอ จึงนับได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติที่สำคัญ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปใความสนใจและให้ความสำคัญ “แม้แต่ในพระมหาราชวังก็ยังมีการเรียนการสอนกระบี่กระบอง วิชามวย และพิชัยสงคราม อันเป็นหลักสูตรสำคัญ” โดยเฉพาะมวยไทยที่มีรูปแบบการใช้อวัยวะเป็นอาวุธ ทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก คล้ายคลึงกันทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามด้วยปัญญา และภูมิปัญญาอันมากมายของคนไทย วิชามวยก็ได้แตกแขนงออกไปอย่างเด่นชัดทั้งท่ารำร่ายไหว้ครู รูปแบบลีลาท่าย่าง ท่าครู แม่ไม้ ลูกไม้ อีกทั้ง

 

ชนชาวสยามเป็นปึกแผ่นรวบรวมดินแดนได้มากแล้ว
ชนชาวสยามเป็นปึกแผ่นรวบรวมดินแดนได้มากแล้ว

 

      ความชำนาญเรื่องการจักสาน ร้อยรัด ถักทอ ทำให้การคาดเชือก ถักหมัด มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกมากมาย ดังนั้น จึงได้มีรูปแบบการฝึกมวยแต่ละที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิประเทศความถนัด และความสามารถหลักใหญ่แบ่งได้ตามภูมิภาค คือ มวยท่าเสา มวยไชยามวยโคราช มวยลพบุรีเป็นต้น

      “สำนักฝึกมวยสมัยกรุงธนบุรีมีลักษณะคล้ายๆ กับในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีสำนักมวยในพระราชวังสำหรับฝึกหัดมวยไทยให้ทหารและขุนนาง และมีสำนักมวยตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วไป” การฝึกหัดก็นิยมฝึกหัดกันในบริเวณวัด เพราะบริเวณวัดกว้างขวางเหมาะสมอย่างยิ่งในการฝึกหัดมวย และอีกอย่างหนึ่งคนเก่งไม่ว่าจะเป็นนักรบและนักมวยเมื่อแก่เฒ่าลงมักจะใช้ชีวิตในบั้นปลายออกบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัด ลูกศิษย์เมื่อได้ข่าวว่ามีฝีมือดีก็จะติดตามไปขอมอบตัวเป็นลูกศิษย์เพื่อฝีกหัดมวยด้วย

 

การทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรี
การทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรี

 

       การทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรีนี้ เป็นการรบที่ไทยมีกำลังพลน้อยจึงต้องอาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและการรบที่รวดเร็วไม่ให้ข้าศึกตั้งตัวได้ทันจึงนิยมเดินทัพทางเรือมากกว่า ทัพบกเป็นทัพหนุน และนิยมใช้ยุทธวิธีหลอกล่อให้ข้าศึก

 

การทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรี
การทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรี

 

      หลงกลตกอยู่ในวงล้อมที่ซุ่มโจมตี ทั้งนี้การค้ากับต่างประเทศช่วยให้ได้อาวุธปืนไว้ใช้ในสงครามจำนวนมาก เช่น กรณีพ่อค้าจากเมืองตรังกานูและเมืองยักกะตรานำปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง 1,200 กระบอก การรบแบบซุ่มโจมตีโดยใช้ปืนที่ทันสมัยล้อมยิงข้าศึกจึงเป็นการได้เปรียบคู่ต่อสู้ การรบในลักษณะดังกล่าวและ “ความก้าวหน้าของอาวุธยุทโธปกรณ์จึงทำให้การรบในระยะประชิดตัวลดลำดับลง ซึ่งจะส่งผลให้ความสำคัญของมวยไทยในการรับใช้ชาติในสมัยต่อๆ มาลดลงเช่นกัน” 

 

ในยามสงบโอกาสที่จะได้ชกมวยมักจะเป็นในงานเฉลิมฉลองต่างๆ
ในยามสงบโอกาสที่จะได้ชกมวยมักจะเป็นในงานเฉลิมฉลองต่างๆ

 

       ในยามสงบโอกาสที่จะได้ชกมวยมักจะเป็นในงานเฉลิมฉลองต่างๆ เช่นงานประเพณีบวชนาค เทศกาลสงกรานต์ วันสมโภชเจดีย์ วันถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และการชกมวยหน้าพระที่นั่ง หากพระมหากษัตริย์เสด็จทอดพระเนตร ทนายเลือกจะจัดให้มีการคัดเลือกนักมวยมาเปรียบมวยเพื่อหาคู่ชก โดยใช้วิธีคล้ายกับสมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะถือว่าฝีมือสำคัญกว่ารูปร่าง และมักจะนิยมจัดนักมวยต่างถิ่น หรือลูกศิษย์ต่างครูชกมวยกันส่วนกติกาการแข่งขันยังไม่ปรากฏชัดเจน คงใช้วิธีการเดียวกับสมัยอยุธยา คือชกไม่มีกำหนดยก ไม่มีการให้คะแนน มีการพักระหว่างยกคือเมื่อชกไปหนึ่งยก (ใช้กะลาเจาะรูวางบนน้ำเป็นการจับเวลา เมื่อกะลมีน้ำไหลเข้าเต็มก็จะจมลงถือว่าหมดยก) จะหยุดพักโดยให้คู่ที่ 2 ขึ้นชกยกที่หนึ่ง หลังจากนั้นจึงให้คู่ที่ 3-4-5 ชกต่อจนหมดคู่ แล้วจึงย้อนกลับมา 

 

สังเวียนสมัยก่อนจะเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด
สังเวียนสมัยก่อนจะเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด

 

      ให้คู่ที่หนึ่งชกยกที่สองต่อไป ตามลำดับคู่แรกจนครบคู่สุดท้าย นักมวยต้องชกกันจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ไปเอง หากคู่ใดชกกันจนแพ้ชนะแล้วก็ให้ข้ามคู่นั้นไป การพักระหว่างยกจึงใช้เวลายาวนานพอสมควร ต่างกับปัจจุบันที่ชกทีละคู่ กำหนดเวลาชกและพักไว้แน่นอน “สังเวียนสมัยก่อนจะเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด” รางวัลสำหรับนักมวยเท่าที่ปรากฏคือนายทองดีฟันขาว ต่อมาได้เป็นพระยาพิชัยดาบหัก ได้เงินรางวัล5 ตำลึง และไม่มีการเก็บภาษีอากรมหรสพแต่อย่างใด

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,457 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,155 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,001 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,720 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,047 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,601 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,922 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,553 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม