" สาเหตุที่กรมนักมวยมีความสำคัญมากในการทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพระราชวังและในการตามเสด็จนี้ก็เพราะสมัยนั้นบุคคลใด จะพกอาวุธเข้าไปในพระราชวังไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ดังนั้น เวลาเกิดเรื่องราวหรือเกิดการต่อสู้กันในพระราชวังจึงมักจะใช้ ฝีมือมวยไทยเข้าต่อสู้กัน "

 

 

สาเหตุที่กรมนักมวยมีความสำคัญมากในการทำหน้าที่สาเหตุที่กรมนักมวยมีความสำคัญมากในการทำหน้าที่

 

      สาเหตุที่กรมนักมวยมีความสำคัญมากในการทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพระราชวังและในการตามเสด็จนี้ก็เพราะสมัยนั้นบุคคลใดจะพกอาวุธเข้าไปในพระราชวังไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ดังนั้น เวลาเกิดเรื่องราวหรือเกิดการต่อสู้กันในพระราชวังจึงมักจะใช้ฝีมือมวยไทยเข้าต่อสู้กัน กรมนักมวยนี้นอกจากจะทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วยังทำหน้าที่ฝึกสอนเยาวชนในพระราชวังด้วย กรมนักมวยนี้รุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเสือ แต่ในระยะหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมมวยหลวงหรือมวยหลวงซึ่งมีมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

      กีฬามวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการฝึกหัดมวยไทยในพระราชวัง ตามวัดและสำนักมวยประจำหมู่บ้านที่ครูมวยอาศัยอยู่ ครูมวยที่สอนในพระราชวังเป็นครูมวยที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่สอนมวยหรือเป็นทนายเลือกส่วนครูมวยที่สอนตามวัดมักเป็นครูมวย หรือข้าราชการที่ออกบวชเมื่อมีอายุมาก หรือบวชเพื่อหนีภัยทางการเมือง ซึ่งล้วนแต่มีความรู้ความสามารถในศิลปศาสตร์หลายแขนง ลาลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงความนิยมชกมวยในสมัยนั้นว่า “...ในสมัยอยุธยามีการชกมวย หมัด ศอก เข่า และเท้า ผู้คนนิยมกันมากจนบางคนก็ยึดเป็นอาชีพ...” แต่การชกมวยสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ได้จัดให้มีการชกกันเป็นประจำ จะมีการชกมวยก็เนื่องมาจากมีงานเฉลิมฉลอง งานประเพณี งานเทศกาลในวันสำคัญต่างๆ เท่านั้น และการชกมวยสมัยนั้นรางวัลที่ได้รับส่วนมากเป็นสิ่งของ ถึงแม้เป็นเงินทองก็คงไม่มากนัก ไม่มากพอที่จะเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ และที่สำคัญคนไทยเชื่อว่ามวยไทยเป็นศิลปะป้องกันตัวชั้นสูงสามารถที่จะทำให้ร่างกายพิการและได้รับบาดเจ็บถึงตายได้ง่าย

      การเปรียบคู่มวยในการแข่งขันชกมวยได้มีการกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ไทยตอนหนึ่งว่าพระเจ้าเสือเสด็จทางชลมารคพร้อมเรือตามเสด็จอีกมากมาย ไปจอดที่ตำบลตลาดกรวดแล้วพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็กอีกสี่คน แต่งกายแบบชาวบ้านออกไปในงานมหรสพซึ่งมีคนไปเที่ยวงานอย่างเนืองแน่น มีการละเล่นมากมายหลายอย่างทั่วบริเวณพระองค์เสด็จไปยังสนามมวยเพราะพระองค์ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการชกมวยมาก พระองค์

 

 การเปรียบคู่มวยในการแข่งขันชกมวย
การเปรียบคู่มวยในการแข่งขันชกมวย

 

      จึงให้นายสนามจัดหาคู่ชกให้ จะเอามวยเอกหรือระดับใดก็ได้ โดยทางสนามประกาศให้ประชาชนทราบว่าพระองค์เป็นนักมวยจากเมืองกรุง ประชาชนสนใจมากเพราะสมัยนั้นนักมวยกรุงศรีอยุธยามีชื่อเสียงมาก นายสนามมวยได้จัดเอานักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญเท่าที่มีอยู่มาเป็นคู่ชก พระเจ้าเสือได้ชกกับนักมวยเอกถึงสามคน มีนายกลางหมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก ซึ่งแต่ละคนมีฝีมือดีเยี่ยม
การต่อสู้เป็นไปอย่างน่าดูด้วยฝีมือเก่งพอๆ กัน แต่ด้วยความฉลาดและความชำนาญในศิลปะมวยไทยที่พระองค์ได้ทรงฝึกหัดและศึกษาจากสำนักมวยหลายสำนัก จึงทำให้พระองค์สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทั้งสามได้ โดยที่คู่ต่อสู้ต่างได้รับความบอบช้ำเป็นอันมาก

      ในการชกครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือได้รางวัลเป็นเงินหนึ่งบาท ส่วนผู้แพ้ได้สองสลึงพระองค์ทรงพอพระทัยกับการที่ได้ชกมวยในครั้งนั้นมาก

      วิธีการชกมวยก็ไม่มีกฎกติกาอะไรที่แน่นอน คงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายโดยชกจนกว่าจะชนะ บางทีคนเดียวอาจจะขึ้นชกหลายครั้งกับคู่ต่อสู้คนอื่นๆ “ลาลูแบร์ กล่าวถึงลักษณะการชกมวยไทยไว้ว่า มีการชกมวยกันกลางพื้นดินใช้เชือกกั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยไม่สวมนวมแต่ถักหมัดด้วยด้ายดิบ” ผู้ชกมวยจะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนมาก เพราะทุกคนที่ชกมวยต้องเจ็บตัวด้วยอาวุธหมัด ศอก เข่า เท้า ของฝ่ายตรงข้ามจนกว่าจะมีฝ่ายใดชนะโดยเด็ดขาดเท่านั้น ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ดุเดือดและเร้าใจผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง

 

 วิธีการชกมวยก็ไม่มีกฎกติกา
วิธีการชกมวยก็ไม่มีกฎกติกา

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย


     ความนิยมฝึกหัดวิชามวยไทยในหมู่ประชาชนชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ตอนกลางและตอนปลายคงมีโดยทั่วไป จึงทำให้มีนักมวยฝีมือดีเกิดขึ้นมากมาย หลายคนถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยในคราวกรุงศรีอยุธยาหลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 มีนักมวยที่มีชื่อเสียง 2 คน ปรากฏขึ้นเป็นที่ประจักษ์ในฝีมือและชื่อเสียง คือ
     1. พระยาพิชัยดาบหัก (พ.ศ. 2284-2325) เดิมชื่อจ้อย เป็นคนเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้ความสามารถเชิงกีฬามวยมาก ได้ฝึกมวยจากสำนักครูเที่ยงและใช้วิชาความรู้ชกมวยหาเลี้ยงตัวเองมาตลอด เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัยบิดาได้พร่ำสอนเสมอถ้าจะชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จนเด็กชายจ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้แตกฉานเพราะเป็นคนขยันและเอาใจใส่ในตำราเรียน คอยรับใช้อาจารย์ และซ้อมมวยไปด้วย ทั้งหมัด เข่า ศอก และสามารถเตะได้สูงถึง 4 ศอก “ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้นเขามักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอแต่ในระยะหลังเขาก็สามารถปราบเด็กวัดได้ทุกคนด้วยชั้นเชิงมวย”

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย
สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย


      ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ จ้อยจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด และที่วัดบ้านแก่ง จ้อยได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อเที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนายทองดีฟันขาว ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดีฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดีฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบกับครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงตัดสินใจลาครูเที่ยงและเดินทางต่อไปยังเมืองตาก

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,491 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,913 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,566 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 969,993 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,914 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,712 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,873 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,408 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม