กติกามวยไทย Medical Examination and Weighin (การตรวจร่างกาย การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก)

 

Medical Examination and Weighin
Medical Examination and Weighin




การตรวจร่างกาย


             ในเวลาของการชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ผุู้แข่งขันต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ว่าเป็นผุ้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ก่อนที่ทำการชั่งน้ำหนักและอาจกำหนดไว้ทำการตรวจร่างกายก่อนชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การชั่งน้ำหนักเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้านักมวยคนใดไม่น้ำบัตรประจำตัวและสมุดนักมวยมาแสดงในขณะตรวจร่างกายชั่งน้ำหนัก จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน

 

การจำแนกรุ่นมี 19 รุ่นดังนี้

1. รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)

2. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)

3. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)

4. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)

5. รุ่นซูปเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)

6. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)

7. รุ่นซูปเปอร์เบนยตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)

8. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)

9. รุ่นซูเปอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)

10. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)

11. รุ่นซูปเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)

12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)

13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)

14. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71575 กิโลกรัม)

15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)

16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)

17. รุ่นครุยเซอเวท น้ำหนักต้องเกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)

18. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)

19. รุ่นซูเปอร์เฮวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

 

การชั่งน้ำหนัก

1. ผู้แข่งขันทุกคนต้องพร้อมที่จะชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายในตอนเช้าวันแรกของการแข่งขันตั้งแต่งเวลาประมาณ 07.00 – 10.00 นาฬิกา สำหรับวันแข่งขันต่อไปเฉพาะนักมวยที่จะแข่งขันตามรายการวันนั้น จะต้องมาทำการชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 นาฬิกา (ควรให้นักมวยตรวจร่างกายจากแพทย์ของสมาคมก่อนทำการชั่งน้ำหนัก) นักมวยห้ามใส่ อุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น นวมหรืออุปกรณ์ เครื่องแต่งกายต่าง ๆ ขณะชั่งน้ำหนัก

2. คณะกรราการควบคุมการแข่งขันที่ได้รับการแต่งจตั้งจากคณะกรรการบริหารของสหพันธ์ฯ มีอำนาจขยายเวลาออกไปได้ถ้ามีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ล่าช้า การแข่งขันต้องไม่เริ่มก่อน 3 ชั่งโมง ภายหลังจากการชั่งน้ำหนักสิ้นสุดลง หรือหากการแข่งขันต้องเริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมง หลังจากการชั่งน้ำหนัก คณะกรรการควบคุมการแข่งขันจะต้องขอความเห็นจากคณะกรรการแพทย์เสียก่อนว่าการแข่งขั นครั้งนี้จะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับนักมวยที่แข่งขันในคู่ต้นๆ

3. น้ำหนักในการชั่งได้เป็นทางการในวันแรกถือเป็นน้ำหนักของนักมวยตลอดการแข่งขัน แต่ต้องมาทำการชั่งน้ำหนักทุกวันที่เขามีการแข่งขัน ผุ้แข่วงขันต้องแข่งขันในรุ่นที่เขาได้ชั่งน้ำหนักเป็นทางการไว้เท่านั้น

4. ในวันชั่งน้ำหนักแต่ละวัน อนุญาตให้ผู้แข่งขันขึ้นชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งน้ำหนักที่เป็นทางการเพียงครั้งเดียว น้ำหนักที่ชั่งนั้นถือเป็นเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม อนุญาตให้ผู้แทนของทีมที่แข่งขันของเขาชั่งน้ำหนักเข้ารุ่นไม่ได้ในครั้งแรก บรรจุเข้ารุ่นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง ตามน้ำหนักของเขาที่ชั่งได้ ถ้ารุ่นนั้นไม่มีผู้แข่งขันจากทีของตนและเวลาของการชั่งน้ำหนักยังไม่สิ้นสุดลง

5. ก่อนทำการชั่งน้ำหนักทุกครั้งผู้แข่งขันต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ปริญญาที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์จึงจะเข้าแข่งขันได้

6. น้ำหนักที่ปรากฏที่ตาชั่งด้วยตัวเปล่า น้ำหนักที่ชั่งต้องเป็นมาตราเมตริกหรือใช้เครื่องช่างไฟฟ้าก็ได้

 

ภาพประกอบจาก : http://sirayut7957.blogspot.com

สาระน่ารู้อื่นๆเกี่ยวกับมวยไทย

 



- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,884 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,587 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,462 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 959,225 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,542 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,005,144 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 589,192 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,942 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม