สำหรับกีฬายิมนาสติกนั้น ได้มีการเริ่มเล่นเมื่อใด ไม่ได้มีหลักฐานระบุชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณนั้นเป็นประเทศแรกที่สนใจ และได้มีบทบาทสาคัญต่อกีฬายิมนาสติก ซึ่งจะเห็นได้จากคำว่า ยิมนาสติก ก็เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยกรีกนั้นการออกกาลังกายทุกประเภท เช่น การวิ่ง การเล่นผาดโผน ไต่เชือก กายบริหาร ศิลปะการต่อสู้ เป็นต้นจะไม่สวมเครื่องแต่งกายมีการประกวดทรวดทรง แข่งขันกีฬากลางแจ้ง ผู้ที่ชนะก็ถูกสร้างรูปปั้นแสดงไว้บริเวณสนามกีฬา ที่เรียกว่ายิมเนเซียม ( Gymnasium ) 

ประวัติยิมนาสติก
ประวัติยิมนาสติก

 

            และเรียกกิจกรรมทุกประเภทที่ออกกำลังกายว่า ยิมนาสติก เพราะฉะนั้น ยิมนาสติกในสมัยกรีก จึงเปรียบเสมือนกับการพลศึกษาในปัจจุบัน กิจกรรมยิมนาสติกในประเทศกรีกนี้ ได้เริ่มต้นและพัฒนาไปพร้อมกับวิทยาการด้านศิลปะดนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ต่อมาเมื่อกีฬาแต่ละประเภทมีวิวัฒนาการมีกฎ ระเบียบ กติกา ของตนเองขึ้น จึงแยกตัวออกไป คงเหลือกิจกรรมยิมนาสติกที่เห็นกันในปัจจุบัน

 

          ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้รุกรานประเทศกรีก จึงได้นำยิมนาสติกมาฝึกให้กับทหาร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง กิจกรรมยิมนาสติกก็ได้รับความสนใจและความนิยมน้อยลงตามไปด้วย จนกระทั่งถึงยุคกลาง ( Middle Age ) ระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ( พ.ศ. 1943-พ.ศ. 2143 ) กิจกรรมยิมนาสติกของกรีกก็ได้รับการฟื้นฟู ประชาชนมีความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้กิจกรรมยิมนาสติกแพร่หลายไปในทวีปยุโรป 

 

          โดยในปี พ.ศ. 2266-2333 นายโจฮัน เบสโดว์ (Johann Basedow) แห่งเยอรมันนี นักการศึกษาที่สำคัญได้บรรจุการออกกำลังกายแบบยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2319

 

           จากนั้นในปี พ.ศ. 2302-2382 นักการศึกษาอีกผู้หนึ่งคือ นายโจฮัน กัตส์ มัธส์ (Johann Guts Muths) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "คุณปู่แห่งกีฬายิมนาสติก" ได้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนปรัชเซีย และท่านผู้นี้ยังได้เขียนตำราที่มีคุณค่าต่อการศึกษาไว้หลายเล่ม รวมทั้งตำรายิมนาสติกสำหรับเยาวชนด้วย นับว่าเป็นตำรายิมนาสติกเล่มแรกของโลก

 

       ในปี พ.ศ. 2321-2395 นายเฟรดริค จาน (Frederick Jahn) ชาวเยอรมันได้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับยิมนาสติกไว้มากมาย เช่น ราวเดี่ยว ราวคู่ ม้าหู หีบกระโดด ม้ายาวชนิดสั้น (Buck) และในปี พ.ศ. 2345ได้สร้างสถานที่ฝึกยิมนาสติกโดยเฉพาะเรียกว่า เทอนเวอเรียน (Tarnverein) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ทาให้กีฬายิมนาสติกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เขาจึงได้สมญาว่า บิดาแห่งกีฬายิมนาสติก

 

             ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2353-2401 นักศึกษาที่มีความสำคัญต่อวงการพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ นายอดอฟ สปีช (Adole Spiess) ชาวสวิส เป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

        และในปี พ.ศ. 2383-พ.ศ.2467 นายดัดเลย์ เอ ซาเกนท์ (Dudley A Sargent) ชาวอเมริกา เป็นครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย (Bowdoin lleqen) ซึ่งเขาได้บรรจุยิมนาสติกไว้ในหลักสูตรระดับวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

 

         นอกจากนั้นยังมีสมาคมที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬายิมนาสติก คือ สมาคม Y.M.C.A. (The Young Men’s Christian Association) ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ยิมนาสติกไว้ในโรงยิมเนเซียม และมีครูสอนเพื่อบริการแก่สมาชิกที่เข้ามาเล่น จึงทำให้ยิมนาสติกได้รับความนิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศในแถบเอเชียที่มีการฝึกอย่างจริงจังคือ จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น

 

ใน พ.ศ. 2430 มีการก่อตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากลขึ้นที่เมืองลีซ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ใน พ.ศ. 2439 มีการแข่งขันยิมนาสติกชายขึ้นเป็นครั้งแรก

ใน พ.ศ. 2471 การแข่งขันเพิ่มประเภทหญิง

ใน พ.ศ. 2477 เริ่มบรรจุม้ากระโดดและราวต่างระดับ เข้าไว้ในการแข่งขันยิมนาสติก

ใน พ.ศ. 2479 ได้กำหนดให้ชายแข่งขันท่าชุดของแต่ละอุปกรณ์ 12 ท่าหญิง 8 ท่า โดยทีมหนึ่งมีนักกีฬา 8 คน

ใน พ.ศ. 2495 กำหนดอุปกรณ์แข่งขันของชาย มี 6 อุปกรณ์ หญิงมี 4 อุปกรณ์ ยิมนาสติกนี้เรียกว่า ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics)

ใน พ.ศ. 2513 มียิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี (Modern Rhythmic Gymnastics) เกิดขึ้น

ใน พ.ศ. 2515 ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล

 

 

ประวัติความเป็นมาของกีฬายิมนาสติก ในประเทศไทย          

      สำหรับจุดเริ่มต้นการเล่นยิมนาสติกในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า ได้มีการเริ่มเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะในสมัยนั้นได้ส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เมื่อกลับมาจึงได้นำเอาวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่ โดยเริ่มสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าวิชายิมนาสติกมีประโยชน์ในการพัฒนาร่างกายและจิตใจ จึงให้อาจารย์ร้อยเอกขุนเจนกระบวนหัด ซึ่งศึกษาวิชานี้มาจากต่างประเทศเปิดสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดเป็นวิชาหนึ่งในการสอน และจัดเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย

      พ.ศ.2511 ยิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อมี การก่อตั้งสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2511 คณะกรรมการโอลิมปิกไทยและสหพันธ์ยิมนาสติกสากลรับรอง เมื่อปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยจึงได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์ค ส่งนักยิมนาสติกมาสาธิตการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง

 

         พ.ศ.2515 มีการสอนในวิทยาลัยพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างจริงจังและเริ่มมีการแสดงโชว์ตามสถานที่ต่าง ๆ และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (F.I.G) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ในปีเดียวกัน         

          พ.ศ.2520 ได้มีการอบรมเกี่ยวกับกติกาและการจัดการแข่งขันแก่ครูอาจารย์และผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติกมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ได้จัดให้กีฬายิมนาสติกเป็นกีฬาหนึ่งในการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยศึกษา

          พ.ศ. 2521 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ยิมนาสติกเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้รับความสนใจเข้าชมรมจากประชาชนและเยาวชนมากพอสมควร และในปีนี้เองกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้วิชายืดหยุ่นซึ่งเป็นพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

          พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬายิมนาสติกเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ถึงแม้จะไม่ได้เหรียญรางวัล แต่ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักกีฬามากขึ้นแต่ถ้าเป็นการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ซึ่งเป็นการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยประสบความสำเร็จในกีฬายิมนาสติกมาก โดยเฉพาะในประเภทชาย          

          พ.ศ. 2537 การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น นักกีฬายิมนาสติกของจีนครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงสำหรับนักกีฬาของไทยที่เข้าร่วมแข่งขันก็ประสบความสำเร็จใจการแข่งขันอุปกรณ์ห่วงพอสมควร คือ นายอมรเทพ แววแสง          

           พ.ศ. 2538 การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกของไทย ครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย และประเภทหญิงโดยได้เหรียญทองทั้งประเภททีม และประเภทเดี่ยวรวมทุกอุปกรณ์ และในแต่ละอุปกรณ์ก็ได้เหรียญทองเกือบทุกประเภท

 

ปัจจุบันกีฬายิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการที่นักกีฬาไทยมีอันดับความสามารถอยู่ในอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคและภายในทวีป




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,352 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,620 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,380 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 969,606 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,739 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,502 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,737 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,212 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม