กาบัดดี้ (Kabaddi)
กาบัดดี้ คือ เป็นกีฬาพื้นบ้านที่กำเนิดมาตั้งแต่ 4000 ปี ก่อน ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในแถบทวีปเอเชีย กาบัดดี้เป็นกีฬาที่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น ในประเทศ ศรีลังกา เรียก กูดู, มาเลเซีย เรียก ชิดูกูดู, ไทย เรียก ตี่จับ, เนปาล เรียก โดโด, บังคลาเทศ เรียก ฮาดูดู, อินเดียและปากีสถาน เรียกว่า กาบัดดี้เป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ในบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ศรีลังกา สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น จากนั้นได้ทำการยกระดับหรือเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกติกาต่างๆ จากนั้นก็ได้ถูกบรรจุเข้ากีฬาระดับชาติ ในปี พ.ศ.2461 โดยแคว้นมหาราษฎร์ (Maharashtra) เป็นรัฐที่บุกเบิกเป็นผู้นำกีฬากาบัดดี้ มาบัญญัติไว้ในนโยบายระดับชาติและทำให้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศอินเดีย กาบัดดี้ได้รับการบรรจุเป็นสาธิตใน เอเชี่ยนเกม ครั้งที่ 9 ที่ประเทศอินเดียเป็นเจ้าภาพและได้บรรจุไว้ในกีฬาเอเชี่ยนเกม ครั้งที่ 11 เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน
ผังสนามกี้ฬากาบัดดี้

กติกาการเล่น
1. ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่ได้สิทธิ์เลือกแดนหรือเลือกเป็นฝ่ายรุก ในครึ่งหลังจะมีการเปลี่ยนแดน และทีมที่เป็นฝ่ายรับในครึ่งแรกจะเป็นฝ่ายรุกในครึ่งหลัง จำนวนผู้เล่นที่เข้าแข่งขันในครึ่งหลังจะเท่ากับจำนวนผู้เล่นที่เข้าแข่งขันที่เหลือเมื่อจบการแข่งขันในครึ่งแรก
2. ผู้ต้องเปล่งเสียง "กาบัดดี้" วนซ้ำอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดเป็นจังหวะติดต่อกัน ถ้าเสียงที่เปล่งออกมาเป็นอย่างอื่น ผู้เล่นฝั่งที่กำลังรุกจะต้องกลับไปยังแดนของตนเองและจะถูกเตือนจากผู้ตัดสิน และการรุกจะถูกเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้าม
3. การเปล่งเสียงจะเริ่มต้นจากผู้เล่นที่กำลังทำการรุกก่อนที่จะไปสัมผัสแดนของฝ่ายตรงข้าม
4. หลังจากผู้เล่นฝ่ายรุกกลับถึงแดนของตนหรือตาย ถูกให้ออกจากการแข่งขันในแดนของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องกลับเป็นฝ่ายรุก ภายใน 5 วินาที ดังนั้นแต่ละฝ่ายจะส่งผู้เล่นของตนสลับกันเป็นฝ่ายรุกจนจบการแข่งขัน
5. ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกสูญเสียการเปล่งในแดนของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นที่กำลังรุกถูกประกาศให้ออกจากการเล่น
6.เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกถูกจับ ผู้เล่นฝ่ายรับจะไม่พยายามทำให้การเปล่งเสียง "กาบัดดี้" ของฝ่ายรุกหยุดลง โดยการปิดปาก การปล้ำอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เกิดบาดเจ็บ การใช้ขาหนีบ หรือวิธีการอื่นใดที่ไม่ถูกต้อง
7. ผู้เล่นที่เข้าแข่งขันจะต้องตายเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะพื้นสนามนอกเส้นขอบสนาม (Boundary) แต่ถ้าอยู่ในระหว่างการต่อสู้กัน (Struggle) ผู้เล่นเหล่านั้นจะไม่ตาย หรือไม่ต้องออกจากการแข่งขัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างายแตะพื้นสนามโดยตรง หรือแตะกับผู้เล่นคนอื่นที่อยู่ภายในเส้นขอบสนาม (Boundary) (ส่วนที่แตะกันนั่นจะต้องเกิดขึ้นภายในเส้นขอบสนาม)

กติกาการแข่นขัน
1. ผู้เล่นทั้งหมด 10 คน ลงเล่นในสนามครั้งละ 7 คน ที่เหลือเป็นตัวสำรอง
2. ระยะเวลาในการทั้งหมด 40 นาที ครั้งละ 20 นาที พัก 5 นาที สำหรับทีมหญิงและทีมชายน้ำหนักต่ำกว่า 50 กิโลกรัม จะแข่งขันครึ่งละ 15 นาที พัก 5 นาที
3. ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด เมื่อจบการแข่งขันจะได้รับการประกาศเป็นทีมที่ชนะ
4. แต่ละทีมจะได้คะแนน 1 คะแนนทุกครั้ง เมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามออกจากการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนน LONA จะได้เพิ่มอีก 2 คะแนน
5. ถ้ามีคะแนนเสมอกันให้ต่อเวลาทันทีอีก 2 ช่วงๆ ละ 5 นาที การแข่งขันในช่วงต่อเวลานี้จำนวนผู้เล่นจะมีเท่ากับจำนวนผู้เล่นที่เหลือเมื่อจบการแข่งขันในครึ่งหลัง 
6. การขอเวลานอก (Time Out) จากกรณีบาดเจ็บหรือขอเปลี่ยนตัว จะขอได้ไม่เกิน 2 นาที โดยหัวหน้าทีมและระหว่างการขอเวลานอก ผู้เล่นจะออกนอกสนามแข่งขันไม่ได้ 
7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะเปลี่ยนได้สูงสุด 3 คน ทั้งกรณีการเปลี่ยนตัวตามปกติ และการเปลี่ยนตัวเมื่อผู้เล่นบาดเจ็บ โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
8. ห้ามทาน้ำมันหรืออื่นใดที่ทำให้ลื่นตามตัว แขน และขา
9. ห้ามสวมสิ่งที่เป็นโลหะ
10. ห้ามผู้เล่นสอนกันในขณะแข่งขัน ยกเว้นแต่หัวหน้าทีม หรือผู้เล่นที่ได้รับมอบหมาย และจะสอนกันได้ในแดนของตนเท่านั้น
11. ในการแข่งขันระบบลีกนั้น (League System) ทีมชนะจะได้ 2 คะแนน ทีมแพ้ได้ศูนย์คะแนน เสมอกันจะได้ทีมละ 1 คะแนน ถ้ามีทีมที่เสมอกันมากกว่า 2 ทีม จะต้องจับฉลากและแข่งขันกันใหม่ด้วยวิธีแพ้คัดออก (Knock-out)
12. ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกถูกจับโดยฝ่ายรับได้พยายามหนีจากการถูกจับ และกลับถึงแดนของตนได้โดยปลอดภัย จะไม่ถูกการรุกติดตามโดยทันที

การนับคะแนน
1. ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับจับผู้เล่นฝ่ายรุกไว้ได้ในแดนของฝ่ายรับ จะได้รับ 1 คะแนน
2. ผู้เล่นฝ่ายรุกที่รุกโดยไม่ผิดกติกา และทำให้ฝ่ายรับออกจากการเล่นได้ จะได้ 1 คะแนน
3. ผู้เล่นฝ่ายรุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษจะได้ 1 คะแนน
4. ผู้เล่นฝ่ายรุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษโดยไม่ได้สัมผัสหรือต่อสู้กับฝ่ายรับจะได้ทันที 1 คะแนน
5. ทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามถูกประกาศออกจากสนามจนหมดจะได้ 2 คะแนน
6. เมื่อทีมทำให้ผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดถูกประกาศให้ออก และไม่มีผู้เล่นคนใดในทีมกลับมาเล่นใหม่ได้ ทีมนั้นก็จะได้ 2 คะแนน

 

อ้างอิง

http://kabaddithailand.or.th/kabaddihistory.html
https://hilight.kapook.com/view/53906
http://sports.buu.ac.th/index.php/knowledge/knowledge_detail/2




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,626 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 815,172 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,725 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,266 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 913,131 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,955 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 592,002 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,558 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม