พิมพ์

 

ชิงหลักชัย
ชิงหลักชัย

 

การละเล่นชิงหลักชัย


     ชิงหลักชัย เป็นการละเล่นที่นิยมเล่นกันอย่างมากในภาคใต้สมัยก่อน นิยมเล่นกันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายที่ได้ทุกส่วนเช่นเดียวกันการเล่นฟุตบอล เป็นกีฬาที่ต้องวิ่งเต้นฝึกความว่องไวของร่างกาย ตา และหู ฯลฯ

 

วิธีการเล่น
     1. ปักเสาหลักต้นหนึ่งโตพอควร สูงราว 2 เมคร หรือจะใช้ไม้แทนก็ได้ ซึ่งเรียกว่า "หลักชัย" (ควรมีผ้าหรือธงติดไว้ที่หลักให้แลเห็นได้ชัดเจน)
     2. ต้องมีที่เล่นกว้างพอที่ผู้เล่นจะได้วิ่งและหลบหนีในเวลาเล่นและควรมีที่กำบังการหลบหนีได้ตามควร แต่กรรมการกะอาณาเขตให้ด้วย (ขนาดเท่าสนามฟุตบอลก็ใช้ได้)
     3. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 พวก พวกละเท่า ๆ กัน จะเป็นฝ่ายละกี่คนก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร การแต่งกายของทั้งสองฝ่ายควรแต่งให้ต่างกัน หรือใช้เครื่องหมายต่างกัน
     4. กรรมการจัดให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเสี่ยงทายกัน ฝ่ายใดเลือกได้ทีหลังถูกเป็นฝ่ายรับ หรือเฝ้าหลักชัย ฝ่ายที่เลือกได้ก่อนเป็นฝ่ายชิงหลักชัย
     สมมติว่า พวกที่เลือกได้ก่อนเป็นพวก ก. และเลือกได้ทีหลังเป็นพวก ข. เพราะฉพนั้นพวก ข. จะต้องเป็นผู้เฝ้าหลักชัย การเฝ่าหลักชัยให้เลือกคนในพวกของตนคนหนึ่งเป็นผู้เฝ้า ซึ่งจะต้องระมัดระวังอย่างที่สุด ที่ไม่ให้ฝ่ายปรปักษ์มาแตะต้องหลักชัยได้ก่อนที่พวกของตนจะถูกตัวฝ่ายปรปักษ์ก่อน ถ้าผู้ใดพยายามเข้ามาจับหลักชัยไว้ไดก่อนฝ่ายเฝ้าหลักจะถูกต้องนั้น นับเป็นชนะไปได้คนหนึ่งแล้วคนต่อ ๆ ไปต้องพยายามเช่นเดียวกัน แต่ถ้าผู้เฝ้าหลักถูกตัวเสียก่อนที่จะมาถึงหลักได้ นับเป็นตาย คือ หมดสิทธิ์ในการเล่นรอบนั้นไปอีกคนหนึ่ง
     ก่อนลงมือเล่นพวก ข. คือ พวกที่อยู่เฝ้าหลักชัยต้องผูกตาหมดทุกคน ในขณะที่ผูกตาแล้วพวก ก. ออกจากที่หนีไปซุ่มซ่อนตัวอยู่ในที่ต่าง ๆ อันจะคอยหาหนทางเข้ามาแย่งหลักชัยเป็นที่มั่นต่อไป กรรมการก็เป่านกหวีดเป็นอาณัติสัญญาณ เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ยินอาณัติสัญญาณ พวก ข. แก้ผ้าผูกตาออกและออกไล่จับพวก ก. ทันที พวก ก. ก็ตั้งต้นหนี และคอยหาหนทางเข้ามาชิงหลักชัยให้ได้ก่อนที่จะถูกจับต้องตัวเสียก่อน (เมื่อจับใครได้แล้วนำมามอบกรรมการ หรือผู้เฝ้าหลักชัย)

 

การตัดสิน
     1. พวก ก. วิ่งมาจับหลักชัยก่อนถูกจับมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เล่นนับให้พวก ก. เป็นฝ่ายชนะ
     2. ถ้าพวก ก. ถูกจับ (ตาย) มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เล่นฝ่ายตน ต้องนับให้พวก ข. เป็นผู้ชนะ

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ได้ที่ : บทความทั่วไป

 




- หรือ -