ชนโคคน
ชนโคคน

 

การละเล่นชนโคคน

 

     ชนโคคน หรือ ชนวัวคน, ชนควายด้วยศีรษะ เป็นการละเล่นเก่าแก่ชนิดหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ งานพิธีการ หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ในภาคใต้สมัยก่อน

 

วิธีเล่น
     แบ่งออกเป็นสองพวก ๆ ละ 5 คน ในพวกหนึ่งสมมติ คนเล่นให้เป็นโค 1 คน เป็นหมอแต่งโค 1 คน เป็นคนถืออาหารและน้ำสำหรับโค 1 คน เป็นคนจูงโคเข้าวาง 1 คน คนที่เป็นโคเลือกคนที่มีร่างกายแข็งแรง ฉลาดไหวพริบดี คนที่จะเป็นโคจะต้งคลานโดยใช้มือทั้ง 2 และเข่าทั้ง 2 ข้างต่างขาโค ใช้ไหล่และศีรษะต่างเขาชนกัน คนจูงจูงเข้าวงชนกัน ต้องมีเชือก 1 เส้น ยาวประมาณ 5 ศอก ใช้เชือกชนิดที่อ่อน ๆ เช่น เชือกด้วยเข็ด ขนาดกลางไม่โตและไม่เล็กเกินไป ต้นและปลายเชือกผู้วางโคต่างถือไว้ข้างละคน วัดเส้นเชือกให้ได้กึ่งกลางพอดีให้คนโคใช้ปากคาบเชือกสมมติว่าร้อยจมูกโค คนที่เป็นหมอแต่งโคเลือกคนที่ตลกขบขันท่าทางเป็นคนเลื่อมใสทางไสยศาสตร์ ต้องมีหม้อน้ำมนต์ 1 ใบ เวลาเข้าแต่งโคฝ่ายตนผู้นั้นจะต้องแสดงวิธีปลุกเสก ด้วยคาถาอาคมตามแต่ตนจะสมมติขึ้น คนที่จัดอาหารและน้ำสำหรับโคคน จะต้องมีน้ำและหญ้าหรือจะใช้ขนมต่างหญ้าก็ได้ ถือเข้าสู่สนามโค เพื่อให้โคคนกินไปก่อนเวลาเข้าชนว่าด้วยวิธีเล่น สนามต้องเป็นรูปวงกลม ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ด้านตรงกันข้ามตรงกลางสนาม กรรมการต้องทำเครื่องหมายไว้กึ่งกลางสนามพอดี เป็นเขตกำหนดสำหรับพักโคทั้งสองฝ่าย เมื่อจูงโคของตนมาถึงแล้ว จะล่วงล้ำพาโคของตนพ้นไปไม่ได้

     เมื่อทั้งสองฝ่ายมาถึงเครื่องหมายที่กรรมการทำไว้แล้ว ผู้วางโคทั้งสองฝ่ายต่างชักเชือกที่โคคนคาบออกเสียปล่อยให้โคคนต่อสู้กันตัวต่อตัว กรรมการจะต้องให้เวลาผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเตรียมตัว 10 นาที

     เมื่อกรรมการให้อาณัติสัญญาณครั้งที่ 1 หมอแต่งโคจะต้องเตรียมโคของตน เช่น สมมติว่าให้ปลุกเสกคาถาอาคม ผู้เลี้ยงโคให้โคกินหญ้า เมื่อครบกำหนดเวลาที่กรรมการวางไว้ให้เตรียมตัวแล้ว ก็อาณัติสัญญาณครั้งที่ 2

     เมื่อผู้เล่นได้ยินอาณัติสัญญาณ ครั้งที่ 2 ต่างก็นำโคของตนไปที่เครื่องหมายวางโค คนถืออาหารโคไม่ต้องไป ขณะที่ทั้งสองฝ่ายจูงโคของตนออกไปสู่ที่วางโคนั้น หมอโคต้องเดินนำหน้าโคและประปรายน้ำมนต์ไปด้วย พอถึงเครื่องหมายแล้วหมดโคกลับที่เดิม ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของคนวางโค เมื่อกรรมการเห็นว่าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมาถึงที่หมายพร้อมกันแล้ว ก็ให้อาณัติสัญญาณครั้งที่ 3

     เมื่อผู้เล่นได้ยินอาณัติสัญญาณครั้งที่ 3 ผู้วางทั้งสองฝ่ายต่างชักโคของตนเข้ามาให้ศีรษะถึงกันถึงพอดีแล้วเอาเชือกที่โคคนคาบออกเสีย แล้วคนวางโคทั้งสองฝ่ายต่างวิ่งกลับที่เดิมปล่อยให้โคคนต่อสู้กันตัวต่อตัว

 

ระเบียบของการตัดสิน ให้กรรมการคอยดูว่า
1. กำลังกายฝ่ายไหนจะดีกว่ากัน
2. หากฝ่ายใดใช้มือเป็นเครื่องต่อสู้ ตัดสินให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้แพ้
3. ฝ่ายโคล้มหงายหน้าขึ้นแสดงว่าหมดกำลังตัดสินเป็นแพ้
4. ฝ่ายโคออกปากว่าสู้ไม่ได้เป็นแพ้
     หลักของการเสมอกัน ก่อนลงมือเล่นกรรมการควรจะให้เวลาไว้ หากคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายมีกำลังกายและไหวพริบเท่า ๆ กัน สู้กันไปจนหมดเวลาตัดสินเป็นเสมอกัน

 

ประโยชน์
     เพื่อการออกกำลังกาย เกิดความฉลาด มีไหวพริบ สร้างความสนุกสนาน รื่นเริงในหมู่คณะ

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ได้ที่ : บทความทั่วไป

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,496 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,928 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,575 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,007 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,922 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,723 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,876 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,410 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม