พิมพ์

 

หมากข่าง
หมากข่าง

 

การละเล่นหมากข่าง


     หมากข่าง เป็นเกมการละเล่นของเด็กพื้นบ้านที่นิยมเล่นในทุกภาคของประเทศ หมากข่าง มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น หมากหมุน หมากปิน เป็นต้น

 

วิธีการเล่น
     มีลูกตั้งฝ่ายละ 5 ลูก ลูกตั้งใช้ลูกสะบ้า ลูกกลิ้งฝ่ายละเท่า ๆ กัน ถ้าข้างหนึ่ง 10 ลูก อีกข้างหนึ่งก็ต้อง 10 ลูก ลูกกลิ้งใช้ไม้แก่นเหนียวกลึงรูปกลมอย่างลูกฟุตบอล วัดโดยรอบ 6 นิ้วครึ่ง หรือ 8 นิ้วครึ่ง
     เมื่อตั้งต้นเล่น ฝ่ายใดจะลงมือขึ้นก่อนก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน ลูกกลิ้งที่ฝ่ายหนึ่งกลิ้งไปเฉพาะเวลาเล่นครั้งแรก จะต้องเป็นลูกเพิ่มหรือลูกเชลยของฝ่ายนั้นผลัดเปลี่ยนกันได้ ได้ลูกเชลย จนกว่าจะถูกลูกตั้งได้หมดหรือแพ้ชนะกัน
     การแพ้ชนะกัน ถ้าลูกกลิ้งของฝ่ายใดกลิ้งไปถูกลูกตั้งของฝ่ายตรงข้ามล้มหมด ฝ่ายที่ถูกตั้งล้มหมดก่อนเป็นฝ่ายแพ้ ถ้าล้มเท่ากันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า เสมอกัน ไม่แพ้ไม่ชนะกัน การที่ลูกตั้งล้มนั้นต้องล้มด้วยลูกกลิ้งมาโดนลูกล้มจริง ๆ วัตถุอย่างอื่นทำให้ล้มใช้ไม่ได้
     การแพ้และชนะกันแล้วจะเล่นต่อไป ให้ฝ่ายชนะขึ้นต้นทำก่อนเสมอถ้าลูกตั้งล้มหมดทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่าเสมอกัน ก็ให้ฝ่ายที่มีลูกกลิ้งเดิมค้างอยู่มือมากเป็นฝ่ายลงมือทำก่อน หรือแล้วแต่จะตกลงกันให้ฝ่ายใดขึ้นทำก่อนก็ได้ ระยะของการเล่น กว้างยาวแล้วแต่จะตกลงกัน ระยะกลิ้งห่างจากลูกตั้งไกลที่สุด 6 วา ใกล้ที่สุด 4 วา
     หมายเหตุ วิธีกลิ้งลูกกลิ้ง ให้กลิ้งไปตามพื้นดิน ใช้ทอยหรือโยนหรือปาไม่ได้ จะทอยหรือโยนได้ต่อเมื่อถูกตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหลือเพียงหนึ่งลูกเท่านั้น

 

ประโยชน์
     ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และฝึกการใช้มือ

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ได้ที่ : บทความทั่วไป

 




- หรือ -