แสดงตำแหน่งเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
แสดงตำแหน่งเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

 

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ

 

     เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้า เอ็นใต้ฝ่าเท้าจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ ที่เชื่อมระหว่างกระดูกส้นเท้าไปยังกระดูกนิ้วเท้า ทำหน้าที่ช่วยพยุงโค้งของเท้า ถ้าเอ็นฝ่าเท้าถูกยืดหรือเกิดแรงดึงมากเกินไปจะเกิดการบวมหรืออักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนปลายของเท้าขณะยืนหรือเดินได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 - 70 ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และผู้ที่มีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วหรือภาวะอ้วน

 

สาเหตุ
     เกิดมาจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เนื่องมาจากการบากเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า โดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สะสมมานาน มักพบในผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง หรือมีปัญหาบริเวณอุ้งเท้า เช่น ภาวะเท้าแบน หรือส่วนโค้งของเท้ามากเกินไป ซึ่งจะพบในนักวิ่งระยะไกลหรือการใส่รองเท้าที่ไม่มีส่วนพยุงอุ้งเท้า หรือมีส้นรองเท้าแข็งเกินไป

 

อาการ
     ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า และจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อยืนลงน้ำหนัก แต่เมื่อเดินไประยะหรืออาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้น อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากการยืนหรือเดินมาก ๆ ได้

 

การรักษา
- หากเกิดการอักเสบแบบฉับพลัน ให้ประคบเย็นบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า 15 - 20 นาที ภายใน 1 - 2 วันแรก
- หลังจากไม่มีการอักเสบ ให้แช่น้ำอุ่น 20 - 30 นาที จะช่วยให้สบายขึ้นและอาการปวดน้อยลง
- ออกกำลังกาย หรือทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและอักเสบ

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 กระดกข้อเท้า - ลง
ท่าที่ 1 กระดกข้อเท้า - ลง

     นั่งเหยียดขา กระดกข้อเท้าขึ้นมากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อยลง จากนั้นถีบปลายเท้าลงให้มากที่สด ค้างไว้ 5 วินาที ทำสลับกัน 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 2 คล้องผ้าดึงเท้าเข้า
ท่าที่ 2 คล้องผ้าดึงเท้าเข้า

     ใช้ผ้าคล้องปลายเท้า ดึงให้ข้อเท้ากระดกขึ้นให้มากที่สุดค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อย ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 3 เหยียบคลึงฝ่าเท้า
ท่าที่ 3 เหยียบคลึงฝ่าเท้า

     ใช้ฝ่าเท้าเหยียบวัสดุกลม ๆ เช่น ลูกเทนนิส กะลา หรือขวด เหยียบแล้วกลิ้งไปมาบริเวณใต้ฝ่าเท้า 50 - 100 ครั้ง

 

ท่าที่ 4 จิกนิ้วขยุ้งผ้า
ท่าที่ 4 จิกนิ้วขยุ้งผ้า

     ใช้นิ้วเท้าหยิบสิ่งของจากพื้น เช่น ผ้า ดินสอ ก้อนหิน เล็ก ๆ แล้วปล่อยลง สลับกันหยิบขึ้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 5 ยืนโน้มตัวดันผนัง
ท่าที่ 5 ยืนโน้มตัวดันผนัง

     ยืนห่างจากผนัง 1 ช่วงแขน ก้าวขาที่จะยืดไว้ด้านหลังให้เข่าเหยียดตรง มือยันผนังไว้ ย่อเข่าที่อยู่ข้างหน้าลง โน้มตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 6 เขย่งเท้าขึ้น - ลง
ท่าที่ 6 เขย่งเท้าขึ้น - ลง

     ยืนเขย่งส้นเท้าให้สูงพ้นพื้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 7 ยืนด้วยส้นเท้า
ท่าที่ 7 ยืนด้วยส้นเท้า

     ยืนเขย่งส้นเท้าขึ้นให้สูงพ้นพื้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อยลง สลับกับยืนด้วยส้นเท้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

     นอกจากการออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ รองเท้าที่เหมาะสม คือ มีส้นเล็กน้อย (สูงประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว) เพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักตัวจากส้นเท้าไปยังฝ่าเท้าส่วนหน้า ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดลดลง และการปรับรองเท้าให้เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการปวดได้ โดยการใช้อุปกรณ์เสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านในและบริเวณส้นเท้า ควรใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับเท้า เพื่อกระจายและลดแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า อีกทั้งยังเป็นการถ่ายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้าส่วนหน้าได้

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,432 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,130 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 824,973 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,677 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,013 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,569 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,906 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,531 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม