แสดงตำแหน่งการอักเสบของเอ็นร้อยหวาย
แสดงตำแหน่งการอักเสบของเอ็นร้อยหวาย

 

โรคเอ็นร้อยหวายอักเสบ

 

     เอ็นร้อยหวาย เป็นเอ็นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อน่องและกระดูกส้นเท้า การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย พบได้บ่อยในกลุ่มนักวิ่งหรือออกกำลังกาย ในลักษณะที่มีแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า

 

สาเหตุ
     เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานมากเกินไป มักจะเกิดกับผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก ๆ เช่น วิ่ง บาสเกตบอล เป็นต้น การเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายอย่างทันที การไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เพียงพอก่อนการออกกำลังกาย การมีภาวะอุ้งเท้าต่ำหรือเบน มีข้อเท้าบิดเอียง ทำให้มีแรงดึงรั้งที่เอ็นร้อยหวายมาก การที่กล้ามเนื้อน่องมีความตึงมากเกินไป หรือการที่มีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้า ทำให้เสียดสีกับเอ็นร้อยหวายขณะมีการเคลื่อนไหวข้อเท้า จึงเกิดการอักเสบขึ้นได้

 

อาการ
- ปวดตามแนวเอ็นร้อยหวายในช่วงการออกกำลังกายแต่ยังรู้สึกปวดมากขึ้นทั้ง ๆ ที่หยุดออกกำลังกาย
- กดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย
- คลำได้เป็นตุ่ม เป็นก้อน บริเวณเอ็นร้อยหวาย
- บวมตลอดเวลาและจะแย่ลงในวันที่ยืนหรือเดินมาก
- ถ้าได้ยินเสียงดัง "ป๊อป" บริเวณด้านหลังน่องหรือส้นเท้า อาจจะมีการฉีกขาดของเอ็นร้อยหวายได้

 

การรักษา
     การรักษาการอักเสบแบบฉับพลันหรือเมื่อเกิดอาการ 1 - 2 วันแรก ในเบื้องต้นทำได้โดยประคบเย็นเป็นเวลา 15 - 20 นาที ทุก 1 - 2 ชั่วโมง จนอาการปวดลดลง ร่วมกับการยกเท้าสูง การใช้แผ่นรองส้นเท้าหรือใช้ผ้ายืดพัน จะช่วยลดแรงกระแทกและแรงบิดตึงของเอ็นร้อยหวายได้ดี เพื่อให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวน้อยลงจนหายอักเสบ เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ให้หลีกเลี่ยงการใช้งานมากกว่าปกติและป้องกันการทำให้เกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบซ้ำอีก

 

การป้องกันการได้รับบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย
- ให้มีการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เหมาะสม
- ต้องมีการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบข้อเท้า
- หากมีอาการปวดข้อเท้าหรือปวดฝ่าเท้า ให้หยุดออกกำลังกายทันที ปละปฏิบัติตามหลักการ RICE คือ หยุดพัก (Rest) ประคบเย็น (Ice) พันผ้ายืดให้กระชับ (Compression) ร่วมกับการยกเท้าสูง (Elevation)
- ใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม เช่น แผ่นรองส้นเท้า อุปกรณ์พยุงข้อเท้า
- เลือกรองเท้าและถุงเท้าที่เหมาะกับตนเอง

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 ยืนขาเดียว
ท่าที่ 1 ยืนขาเดียว

     ยืนตรง เกาะพนักเก้าอี้ที่มั่นคง งอเข่าขึ้นข้างหนึ่งไปด้านหลังและทรงตัวนิ่งค้างไว้ 10 วินาที วางขาลง ยืนตรงสลับข้างทำในลักษณะเดียวกัน

 

ท่าที่ 2 ยืนบนแผ่นฝึกทรงตัว
ท่าที่ 2 ยืนบนแผ่นฝึกทรงตัว

     ยืนบนแผ่นฝึกทรงตัว นิ่งค้างไว้ 10 วินาที แล้วพัก

 

ท่าที่ 3 เขย่งเท้าขึ้นลง
ท่าที่ 3 เขย่งเท้าขึ้นลง

     ยืนตรง เกาะพนักเก้าอี้ที่มั่นคง เขย่งส้นเท้าให้สูงพ้นพื้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 4 ถีบปลายเท้าขึ้น - ลง
ท่าที่ 4 ถีบปลายเท้าขึ้น - ลง

     กระดกปลายเท้าขึ้น และถีบปลายเท้าลงให้มากที่สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง อาจเพิ่มความยากโดยใช้ยางยืดเป็นแรงต้าน

 

ท่าที่ 5 หมุนบิดข้อเท้า
ท่าที่ 5 หมุนบิดข้อเท้า

     หมุนข้อเท้าเข้าด้านใน และบิดข้อเท้าออกด้านนอกให้มากที่สุด ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 6 ยืนโน้มตัวดันผนัง
ท่าที่ 6 ยืนโน้มตัวดันผนัง

     ยืนห่างจากผนัง 1 ช่วงแขน ก้าวขาที่จะยืดไว้ด้านหลังให้เข่าเหยียดตรง มือยันผนังไว้ ย่อเข่าที่อยู่ข้างหน้าลง โน้มตัวไปด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ท่าที่ 7 ไขว้ขาบิด
ท่าที่ 7 ไขว้ขาบิด

     นั่งเก้าอี้ ยกขาไขว้วางบนต้นขาอีกข้างหนึ่ง ใช้มือดันปลายเท้าลงและบิดเข้าด้านในให้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,597 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 815,136 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,691 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,233 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 913,083 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,913 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,972 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,526 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม