พิมพ์
แสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือแสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
แสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

 

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ


     เกิดจากการที่เส้นประสาทแขนถูกขนทับขณะที่ลอดผ่านที่ยึดบริเวณด้านหน้าข้อมือ เนื่องจากมีการหนาตัวขึ้นของเอ็นยึดดังกล่าว ทำให้ไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกที่ฝ่ามือ ส่งผลให้มีอาการบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง อาจมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือและมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด

 

สาเหตุ
     เกิดจากการบวมของเอ็นพังผืดที่โอบล้อมยึดกระชับเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เส้นประสาทถูกกดรัดได้
     พบได้บ่อยใน{--mlinkarticle=424--ผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้มือทำงานในลักษณะกระดกมือ หรือกำนิ้วมือตลอดเวลา เช่น งานเย็บปักถักร้อย งานอุตสาหกรรม งานครัว หั่นผัก สับมือ งานทำความสะอาด การเขียนหนังสือมาก ๆ หรือการนอนทับมือเป็นเวลานาน เป็นต้น

 

อาการ
     มีอาการชา คล้ายเป็นเหน็บบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง อาการอาจเกิดได้ทุกช่วงเวลา
     - ถ้ามีอาการในตอนกลางคืน สาเหตุอาจมาจากการนอนงอข้อมือหรือนอนทับข้อมือ
     - ถ้ามีอาการในตอนกลางวัน อาจจะเกี่ยวกับการใช้มือทำงานในวันนั้น ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าการสะบัดมือจะช่วยให้อาการลดลง
     นอกจากนี้ ยังมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในการกำมือ ทำให้ของหลุดจากมือบ่อย ๆ หยิบจับของไม่ถนัด โดยเฉพาะสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ เช่น การติดกระดุม หากไม่ได้รับการรักษาหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือ ฝ่อลีบเล็กลงและการรับความรู้สึกร้อน - เย็น ลดลง

 

การรักษา
1. การใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือหรือผ้าเทปกาว เพื่อช่วยลดแรงกดที่ข้อมือ ลดการอักเสบ
2. การรับประทานยา เพื่อลดการปวด บวม อักเสบ
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการปวดบวม อักเสบ
4. การออกกำลังกาย และการรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อน การนวดบริเวณพังผืดที่กดรัดเส้นประสาท การยึดเส้นประสาท การรักษาด้วยคลื่นความถี่เหนือเสียง (Ultrasound) การบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงท่าทาง หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
6. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจรับการรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 หงายมือดันนิ้ว
ท่าที่ 1 หงายมือดันนิ้ว

     ยกแขนสูงขึ้นจนเสมอไหล่ เหยียดแขนหงายมือตรงไปด้านหน้า กระดกข้อมือและนิ้วมือลง มืออีกข้างจับบริเวณฝ่ามือ ดันข้อมือเข้าหาลำตัวให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 2 กำมือบีบบอล
ท่าที่ 2 กำมือบีบบอล

     มือถือ{--mlinkarticle=246--ลูกเทนนิสไว้ ค่อย ๆ ออกแรงบีบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วคลายมือออก ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 3 กระดกข้อมือขึ้นลง
ท่าที่ 3 กระดกข้อมือขึ้นลง


     มือถือขวดน้ำหรือวัตถุที่มีน้ำหนักพอเหมาะในลักษณะหงายมือขึ้น จากนั้นค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นิ่งค้างไว้ 2 วินาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยข้อมือลงให้สุด ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับให้แขนอยู่ในท่าคว่ำมือ ออกแรงกระดกข้อมือขึ้นและลง ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -