พิมพ์
แสดงภาพกายวิภาคศาสาตร์ของข้อไหล่และข้อไหลติด
แสดงภาพกายวิภาคศาสาตร์ของข้อไหล่และข้อไหลติด

 

โรคข้อไหล่ติด และวิธีการออกกำลังกายเพื่อรักษา


ข้อไหล่ มีการเคลื่อนไหวได้ 6 ทิศทาง ได้แก่
1. ยกแขนขึ้น
2. เหยียดแขนไปด้านหลัง
3. กางแขน
4. หุบแขน
5. หมุนแขนเข้า
6. หมุนแขนออก


     โครงสร้างข้อไหล่ประกอบด้วยเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยืดข้อต่อ ถุงน้ำรอบ ๆ ข้อ และกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคลื่อนไหวในแต่ละทิศทาง
     ข้อไหล่ติด เป็นภาวะที่ข้อไหล่เคลื่อนไหวได้ไม่สุดในทุกทิศทาง และจะมีอาการปวดเมื่อฝืนเพิ่มมุมการเคลื่อนไหว มันพบหลังจากมีการปวดอับเสบของข้อไหล่ เนื่องจากไม่สามารถยกแขนขึ้นสุดหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น เอื้มหยิบของบนที่สูง ยกมือเกาหลัง ติดตะขอเสื้อใน ไขว้มือดึง-ล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลัง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ช่วงอายุประมาณ 40 - 56 ปี และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นมากกว่าปกติถึง ประมาณร้อยละ 10 - 20

 

สาเหตุ
- การได้รับบาดเจ็บของเนื้อเยื้อและกระดูก
- โรคข้ออักเสบ (โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์)
- หมอนรองกระดูกคอเสื่อม
     รวมถึงกระบวนการเสื่อมตามธรรมชาติของเส้นเอ็นตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ การใช้งานข้อไหล่ที่มากเกินไป ทำให้เยื้อหุ้มข้อและเส้นเอ็นอักแสบ เกิดการหน้าตัวของเยื้อหุ้ม จนทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง เนื่องจากการยึดติดของเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อต่อบริเวณข้อไหล่

 

อาการ
1. ในระยะแรกจะมีอาการปวดข้อไหล่เฉพาะเวลากลางคืน อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
2. ระยะที่สองอาการปวดจะน้อยลง กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อไหล่อ่อนแรงและลีบลง เคลื่อนไหวได้ลำบาก และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้

 

การรักษา
1. ระยะที่มีการอักเสบภายใน 24 - 48 ชั่วโมงแรง ควรประคบด้วยความเย็นต่อเนื่องนาน 15 - 20 นาที งดการเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด อักเสบ
2. เมื่อพ้นช่วงอักเสบ ให้ประคบด้วยความร้อน โดยให้รู้สึกอุ่นพอดีรอบ ๆ ข้อไหล่ต่อเนื่อง 20 - 25 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดและคลายอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก่อนที่จะบริหารข้อไหล่
3. การออกกำลังกายเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว โดยทำช้า ๆ และไม่รู้สึกปวด
4. ออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อไหล่ต่อเนื่องเป็นประจำ
5. กรณีข้อติดแข็ง ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อดัดดึงข้อต่อ เพิ่มองศามุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพ
6. รักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 แบะไหล่กางออก
ท่าที่ 1 แบะไหล่กางออก

     นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ประสานมือทั้งสองไว้ที่ท้ายทอยลำตัวตรง แบะไหล่ออกให้รู้สึกตึงที่กล้ามเนื้ออกและไหล่ด้านหน้า นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 -10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 20 ครั้ง/เซต วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 2 มือแตะไหล่
ท่าที่ 2 มือแตะไหล่

     นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรงยกมือซ้ายแตะไหล่ขวา และใช้มือข้างขวาดันข้อศอกซ้ายไปด้านหลัง ค้างไว้จนรู้สึกดึงกล้ามเนื้อไหล่ด้านหลัง นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 3 ยกแขนแนบหู
ท่าที่ 3 ยกแขนแนบหู

     นอนหงาย ยกแขนขึ้นไปเหนือศีรษะโดยใช้มืออีกข้างพยุงบริเวณข้อศอกแล้วช่วยดันแขนให้ยืดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วิทนาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 4 ยกแขนขึ้นลง
ท่าที่ 4 ยกแขนขึ้นลง

     นั่งหรือยืน ลำตัวตรง มือทั้งสองข้างจับไม้พลองหรือไม้เท้าที่มีน้ำหนักพอประมาณ เหยียดข้อศอกตรง ยื่นแขนทั้ง 2 ข้างออกไปข้างหน้า พยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ โดยใช้แขนข้างปกติช่วยยกนำแขนข้างที่ไหล่ติดให้สูงเท่าที่จะทำได้ นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วิทนาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 5 กางแขนยกขึ้น
ท่าที่ 5 กางแขนยกขึ้น

     นั่งลำตัวตรง มือทั้งสองข้างจับบริเวณปลายไม้พลองหรือไม้เท้าลักษณะดังรูป ออกแรงกางแขนข้างหนึ่งออกด้านนอกให้ได้มากที่สุด มืออีกข้างยังจับปลายไม้เท้าไว้ นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วิทนาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 6 ผ้าขนหนูถูหลัง
ท่าที่ 6 ผ้าขนหนูถูหลัง

     ใช้มือข้างที่ไหล่ติดไขว้ไปด้านหลังเพื่อแตะสะบักฝั่งตรงข้าม หรือใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยในท่าถูหลัง โดยใช้แรงจากแขนข้างปกติช่วยดึงปลายผ้าเช็ดตัวอีกด้านให้มือข้างที่ไหล่ติดเคลื่อนไปด้านบนมากที่สุด โดยไม่มีอาการปวดมาก นิ่งค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วิทนาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -