เอเชียนเกมส์

เอเชียนเกมส์

เอเชียนเกมส์
เอเชียนเกมส์

(อังกฤษ: Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย

ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์ หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายในครั้งที่ 17 โดยเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด จัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018)

 

ประวัติ

ตรากีฬาตะวันออกไกล
ตรากีฬาตะวันออกไกล

ยุคกีฬาตะวันออกไกล

เมื่อปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) อี.เอส.บราวน์ ประธานสมาคมกีฬาแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา (The Philippines Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่งกรุงมะนิลา (Manila Carnival Games) เชิญชวนให้สาธารณรัฐจีน และ จักรวรรดิญี่ปุ่น (ชื่อในขณะนั้น) เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล (Far East Games) ทว่าในเวลาต่อมา เกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่น การแข่งขันจึงต้องสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีการประกาศเอกราชเกิดขึ้นเป็นหลายประเทศใหม่ ซึ่งประเทศในเอเชียทั้งหมดต่างก็คาดหวังจะเห็น การแข่งขันกีฬาภายในทวีปรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีการใช้อิทธิพลเข้าครอบงำ หากแต่ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

 

ยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์

จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) กลุ่มนักกีฬาของสาธารณรัฐประชาชนจีน และฟิลิปปินส์ ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 ที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร มีดำริที่จะฟื้นการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม กูรู ดัตท์ สนธิ (Guru Dutt Sondhi) ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย ให้ความเห็นว่า ควรเปิดกว้างให้แก่ทุกประเทศในทวีปเอเชีย สามารถเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน จึงเสนอให้ร่างระเบียบขึ้น เพื่อจัดตั้งขึ้นในรูปสหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย (The Asian Athletic Federation) ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ธรรมนูญองค์กรก็เสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์กีฬาเอเชีย (The Asian Games Federation)[ ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย ซึ่งเมืองหลวงแห่งนี้เอง ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 1 ของเอเชียนเกมส์ ในอีกสองปีถัดมา (พ.ศ. 2493; ค.ศ. 1950)

 

ระยะต่อมาเกิดปัญหาขึ้น ตั้งแต่ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 8 ซึ่งมีกรุงเทพมหานครของไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เนื่องจากสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ออกมติไม่ยินยอมให้ จีนไทเปและอิสราเอล เข้าร่วมแข่งขัน อันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองชาติ ทำให้เกิดความกังวลต่อการรักษาความปลอดภัย เป็นเหตุให้องค์กรกีฬาระดับนานาชาติหลายแห่ง ออกมาทักท้วงต่อต้าน โดยเฉพาะสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations; IAAF) ถึงกับประกาศขู่ว่า หากนักกรีฑาของชาติใด เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์คราวนี้ สหพันธ์ฯจะกีดกันไม่ให้เข้าแข่งขัน ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ซึ่งส่งผลกระทบให้นักกีฬาหลายชาติ ขอถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้

 

ยุคสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

พิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 1  ที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2494
พิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 1 ที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2494

 

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติในทวีปเอเชีย ตัดสินใจเปิดการประชุมร่วมกันในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) โดยไม่มีการแจ้งให้ทางอิสราเอลเข้าร่วมด้วย เพื่อยกร่างแก้ไขธรรมนูญสหพันธ์เอเชียนเกมส์ มีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งสมาคมบริหารจัดการเอเชียนเกมส์ขึ้นใหม่ เรียกว่า สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย และก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ระหว่างการประชุมครั้งแรกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ที่กรุงนิวเดลี ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหลวงของอินเดียตามกำหนดเดิม โดยไม่มีการยกเลิกกำหนดการต่าง ๆ ซึ่งสหพันธ์กีฬาเอเชียจัดทำไว้แล้ว และมีสมาชิกชุดก่อตั้ง เป็นคณะกรรมการโอลิมปิกของ 34 ชาติ จากนั้นสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย จึงเริ่มรับหน้าที่กำกับดูแลเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ซึ่งโซลของเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เป็นครั้งแรก มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนจีนไทเปกลับเข้าร่วมในครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่งของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)

 

ในการแข่งขันครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นที่นครฮิโรชิมาของญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) เป็นครั้งแรกที่มิได้จัดแข่งขันในเมืองหลวงของประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่แยกตัวเป็นเอกราชจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งประกอบด้วยคาซักสถาน, คีร์กีซสถาน, อุซเบกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน เข้าร่วมเป็นครั้งแรก[8] ส่วนอิรักมิได้รับการยินยอมให้เข้าร่วม เนื่องจากเป็นชาติที่ก่อสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี พ.ศ. 2533 และเกาหลีเหนือคว่ำบาตรการแข่งขัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นปัญหา นอกจากนี้ยังเกิดการสูญเสียผู้แทนจากประเทศเนปาล ณเรศกุมาร์ อธิการี (Nareshkumar Adhikari) ซึ่งเสียชีวิตระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เป็นประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ เมื่อกรุงเทพฯของไทย เป็นเจ้าภาพครั้งที่ 4 โดยพิธีเปิดในสามครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม ส่วนครั้งนี้เปิดในวันที่ 6 แต่ทั้งหมดสิ้นสุดในวันเดียวกันคือ 20 ธันวาคม และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดทั้งสี่ครั้ง

 

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

จำนวนกีฬาที่แข่งขันจะกำหนดให้ลดน้อยลง เหลือเพียง 35 ชนิดในการแข่งขันครั้งที่ 17 ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ และคราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่การแข่งขันจะจัดขึ้นตามระยะเวลาเดิม เมื่อโอซีเอผลักดันให้การแข่งขันครั้งถัดไป เกิดขึ้นก่อนกีฬาโอลิมปิกเพียงหนึ่งปี จึงหมายความว่าเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ซึ่งตามปกติจะมีกำหนดจัดในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) จะผลักดันไปเป็น พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)

ในปัจุบันได้มีการยุติการเปลี่ยนระยะเวลาจัดการแข่งขันออกไป จากที่จะจัดการแข่งขันก่อนโอลิมปิกเกมส์เพียงหนึ่งปีเป็นจัดการแข่งขันตามระยะเวลาเดิม เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ไม่สามารถที่จะจัดภายในปีค.ศ. 2019 ได้ ซึ่งในปีค.ศ. 2019 นั้นได้มีการจัดการเลือกตั้งประธานธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย จึงจัดภายในปีค.ศ. 2018 ตามระยะเวลาเดิมแทน

 

สัญลักษณ์

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้มีการใช้สัญลักษณ์เพื่อที่จะใช้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ซึ่งยึดแนวทางตามการแข่งขันโอลิมปิก สัญลักษณ์ของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ คือ

ธงสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

คบเพลิงเอเชียนเกมส์

เพลงสดุดีสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

 

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org

ไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้ หากคุณเห็นหมวดย่อย เนื้อหาอาจอยู่ในนั้น

คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,496 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,928 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,574 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,007 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,921 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,723 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,876 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,410 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม