กรรมการผูตัดสิน

กรรมการผู้ตัดสิน

 

คําแนะนํากรรมการเทคนิคตามาตรฐานสากล

1. คำนำ
     1.1 สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติเป็นผู้ให้คําแนะนํากรรมการเทคนิคเพื่อ ต้องการให้การควบคุมเกมการแข่งขันทุก ๆ ประเทศเป็นมาตรฐานและดําเนินไปภายใต้กฎกติกา
     1.2 จุดประสงค์ของคําแนะนํานี้ เพื่อชี้แจงให้กรรมการผู้ตัดสินทราบถึงวิธีการควบคุมการแข่งขันให้รัดกุมและยุติธรรมในหน้าที่ของตน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการแข่งขันได้ดําเนินไปภายใต้กฎกติกาอย่างถูกต้อง คําแนะนํานี้ยังเป็นข้อชี้แนะถึงการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการกํากับการส่งลูก และกรรมการกำกับเส้นอีกด้วย
     1.3 กรรมการเทคนิคทุกคนพึงระลึกว่า "เกมการแข่งขันเป็นของผู้เล่น"

 

2. กรรมการและการตัดสินใจ
     2.1 กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานผลปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การกํากับดูแลของกรรมการผู้ชี้ขาด (หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในกรณีไม่มีกรรมการผู้ชี้ขาด)
     2.2 โดยปกติกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการกํากับการส่งลูก กรรมการผู้ชี้ขาดมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนกรรมการกํากับการส่งลูกหรือเปลี่ยนโดยกรรมการผู้ตัดสินหลังจากได้ปรึกษากรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
     2.3 โดยปกติกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการกํากับเส้น กรรมการผู้ชี้ขาดมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนกรรมการกํากับเส้น หรือเปลี่ยนโดยกรรมการผู้ตัดสินหลังจากได้ ปรึกษากรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
     2.4 การตัดสินปัญหาข้อเท็จจริงของกรรมการถือว่าสิ้นสุด แต่หากกรรมการผู้ตัดสินเห็นว่ากรรมการกํากับเส้นผู้นั้นตัดสินผิดอย่างแน่นอน กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง เปลี่ยนคําตัดสินของกรรมการกํากับเส้น ถ้าหากว่ากรรมการผู้ตัดสินเห็นสมควรต้องเปลี่ยนกรรมการกํากับเส้นให้เรียกกรรมการผู้ชี้ขาดเข้ามาเพื่อปรึกษาก่อนจะมีการเปลี่ยน
     2.5 เมื่อกรรมการสนามอื่นมองไม่เห็น กรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้ตัดสิน หากไม่สามารถตัดสินได้ให้ "เอาใหม่"
     2.6 การรับผิดชอบในสนามและเหตุฉับพลันรอบสนาม เป็นหน้าที่ของกรรมการผู้ตัดสิน ซึ่งมีอํานาจตั้งแต่เดินเข้าสนามก่อนเริ่มการแข่งขัน จนกระทั่งออกจากสนามหลังจากจบการแข่งขัน

 

3. คําแนะนํากรรมการผู้ตัดสิน
     3.1 ก่อนเริ่มการแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
     3.1.1 รับใบบันทึกคะแนนจากกรรมการผู้ชี้ขาด
     3.1.2 ตรวจให้แน่ใจว่า เครื่องบอกคะแนนทํางานปกติ
     3.1.3 ดูด้วยว่าเสาตาข่ายตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของสนามประเภทคู่ (กติกาข้อ 1.5 )
     3.1.4 ตรวจดูความสูงของตาข่ายและต้องให้แน่ใจด้วยว่าไม่มีช่องว่างระหว่างปลายสุดของตาข่ายกับเสาตาข่าย
     3.1.5 ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่ามีข้อบังคับว่าด้วยลูกขนไก่ถูกสิ่งกีดขวางหรือไม่
     3.1.6 ตรวจดูให้แน่ด้วยว่ากรรมการกํากับการส่งลูกและกรรมการกํากับเส้นรู้หน้าที่และนั่งประจําที่ถูกต้อง (กติกาข้อ 5 และ 6)
     3.1.7 ตรวจดูให้แน่ด้วยว่าลูกขนไก่ที่ได้ทดสอบแล้ว (กติกาข้อ 3) มีอยู่พร้อมและจํานวนเพียงพอสําหรับใช้ในการแข่งขัน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความล้าช้าระหว่างการแข่งขัน (เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของกรรมการผู้ตัดสินที่มอบหน้าที่ในข้อ 3.1.3, 3.1.4, 3.1.7 ให้กรรมการกํากับการส่งลูกที่ได้มีการแต่งตั้ง)
     3.1.8 ตรวจดูเครื่องแต่งกายของนักกีฬาว่าถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยสี, การออกแบบของตัวอักษรและการโฆษณาและต้องแน่ใจว่าการฝ่าฝืนนั้นได่รับการแก้ไขแล้วในเรื่องเครื่องแต่งกาย หากตัดสินว่าผิดระเบียบ (หรือไม่แน่ใจ) ควรรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มการแข่งขัน หรือหากไม่สามารถทําได้ให้รายงานทันทีหลังจากการแข่งขันจบลง
     3.1.9 แน่ใจว่าการเสี่ยงสิทธิ์ได้ดําเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ฝ่ายชนะและฝ่ายแพ้ในการเสี่ยงสิทธิ์ได้ใช้สิทธิ์ของตนเองอย่างถูกต้อง (กติกาข้อ 6) ให้บันทึกด้านที่นักกีฬาเลือกไว้ด้วย
     3.1.10 ในกรณีประเภทคู่ทําเครื่องหมายไว้ที่ชื่อนักกีฬาที่เริ่มเล่นในสนามส่งลูกทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ควรทําเช่นนี้ทุกครั้งที่เริ่มแข่งขันแต่ละเกม (การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่านักกีฬาอยู่ในสนามส่งลูกที่ถูกต้อง)
     3.2 การเริ่มต้นการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะต้องประกาศโดยใช้คําประกาศตามข้อความที่ระบุไว้และให้ยื่นแขนชี้ไปทางขวาหรือซ้ายประกอบคําประกาศ

 

*ประเภทบุคคล
การแข่งขันเดี่ยว การแข่งขันระหว่าง ชื่อ - สกุล (สังกัด) ด้านขวา กับ ชื่อ - สกุล (สังกัด) ด้านซ้าย ชื่อเป็นฝ่ายส่ง "ศูนย์เท่า - ส่งได้"
การแข่งขันคู่ การแข่งขันระหว่าง ชื่อ - สกุล (สังกัด) และชื่อ - สกุล (สังกัด) ด้านขวา กับ ชื่อ - สกุล (สังกัด) และ ชื่อ - สกุล (สังกัด) ด้านซ้าย ชื่อ ส่งให้ ชื่อ "ศูนย์เท่า - ส่งได้"

 

*ประเภททีม
การแข่งขันเดี่ยว การแข่งขันระหว่าง.. (สังกัด) ด้านขวา ตัวแทนคือ ชื่อ - สกุลกับ...(สังกัด) ด้านซ้าย ตัวแทนคือ ชื่อ - สกุล..(สังกัด) เป็นฝ่ายส่ง "ศูนย์เท่า - ส่งได้"
การแข่งขันคู่ การแข่งขันระหว่าง... (สังกัด) ด้านขวา ตัวแทนคือ ชื่อ - สกุล และ ชื่อ - สกุล กับ...(สังกัด) ด้านซ้าย ตัวแทนคือ ชื่อ - สกุล และ ชื่อ - สกุล... (สังกัด) เป็นฝ่ายส่ง ชื่อ ส่งให้ชื่อ "ศูนย์เท่า - ส่งได้"

กรรมการผูตัดสิน
กรรมการผู้ตัดสิน

 


     3.3 ระหว่างการแข่งขัน
        3.3.1 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
        3.3.1.1 ใช้คําศัพท์มาตรฐานในภาคผนวก 4 ของกติกาแบดมินตัน
        3.3.1.2 บันทึกและขานคะแนน โดยจะต้องขานคะแนนของผู้ส่งก่อนเสมอ
        3.3.1.3 ระหว่างการส่งลูก ถ้าหากมีการแต่งตั้งกรรมการกํากับการส่งลูกให้มองดูผู้รับลูกเป็นพิเศษ และกรณีที่จําเป็นอาจจะขานเสียถ้าฝ่ายส่งลูกได้ส่งลูกไม่ถูกต้องตามกติกา
        3.3.1.4 ถ้าเป็นไปได้คอยมองสภาพการทํางานของป้ายบอกคะแนน
        3.3.1.5 ยกมือขวาขึ้นเหนือศีรษะเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากกรรมการผู้ชี้ขาด
        3.3.2 เมื่อฝ่ายที่แพ้ในการตีโต้และเสียสิทธิ์ในการส่งลูก (กติกาข่อ10.3.2,11.3.2) ให่ขานว่า "เปลี่ยนส่ง" ตามด่วยคะแนนของฝ่ายที่ได้ส่งลูกใหม่ถ้าจําเป็นให้ชี้มือไปยังด้านและสนามส่งลูกที่ถูกต้องของฝ่ายส่งลูก
        3.3.3 คําว่า "ส่งได้" กรรมการผู้ตัดสินเท่านั้นเป็นผู้ขาน
        3.3.3.1 แสดงว่า แมทช์หรือเกม หรือในเกมหลังจากการพัก หรือในเกมหลังจากเปลี่ยนข้างแล้วได้เริ่มขึ้น
        3.3.3.2 แสดงว่าการเล่นได้เริ่มขึ้นหลังจากได้มีการหยุดพักชั่วคราว หรือ
        3.3.3.3 แสดงว่ากรรมการผู้ตัดสินบอกให้ผู้เล่นเริ่มเล่นได้

        3.3.4 การขาน "เสีย" จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสินเมื่อมีการทําผิดเกิดขึ้น ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
        3.3.4.1 การขาน "เสีย" เมื่อฝ่ายส่งส่งลูกเสีย จะขานโดยกรรมการกํากับส่งลูกตามกติกาข้อ 13.1 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องรับรู้การขานว่า "ส่งลูกเสีย" กรรมการผู้ตัดสินจะขาน "เสีย" ฝ่ายรับลูก ตามด้วยการขานว่า "ฝ่ายรับเสีย"
        3.3.4.2 การทํา "เสีย" ตามกติกาข้อ 13.1.1 ซึ่งขานหรือการให้เพียงสัญญาณโดยกรรมการกํากับเส้น (คําแนะนําข้อ 6.2 ) และ
        3.3.4.3 การทํา "เสีย" ตามกติกาข้อ 13.2.1,13.2.2,13.3.2 หรือ 13.3.3 จําเป็นต้องขานเพื่อให้ผู้เล่นหรือผู้ชมได้เข้าใจ
        3.3.5 ในระหว่างแต่ละเกมเมื่อมีฝ่ายทําคะแนนนําถึง 11 คะแนน ทันทีที่การตีโต้ลูกคะแนนที่11 ได้ยุติลง ให้ขาน "...คะแนน.." "..พัก.." หรือ "...เปลี่ยนส่ง..." "...คะแนน..." "...พัก..." โดยไม่ต้องคํานึงถึงการปรบมือและให้นักกีฬาพักตามกติกาข้อ 16.2.1 ต้องแน่ใจว่ากรรมการกํากับการส่งลูกกํากับดูแลการเช็ดสนามให้ระหว่างการพัก
        3.3.6 ในระหว่างเกมเมื่อมีฝ่ายทําคะแนนนําถึง 11 คะแนน ให้มีการพัก ภายหลังจาก 40 วินาที ผ่านไป ให้ขานว่า "สนามที่...20 วินาที" (ขานซ้ำ) นักกีฬาพัก ในระหว่างเกมที่ 1 เกมที่ 2 และเกมที่ 3 (ภายหลังจากเปลี่ยนข้างแล้ว) ให้มีบุคคลเข้าไปพบนักกีฬาในสนามได้ฝ่ายละไม่เกิน 2 คน และต้องออกจากสนามทันทีเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน 20 วินาทีการเริ่มการแข่งขันภายหลังจากการพักให้ขานคะแนนซ้ำตามด้วยคําว่า "ส่งได" แต่ถ้านักกีฬาทั้งสองฝ่ายไม่ใช้สิทธิ์ในการพักตามกติกาข้อ 16.2.1 จะอนุญาตให้เล่นต่อไปได่ทันที
        3.3.7 ขอบเขตของเกม
        3.3.7.1 เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทําคะแนนถึง 20 คะแนน ให้ขานว่า "อีกแต้มเดียวเกม" หรือ "อีกแต้มเดียวจบการแข่งขัน" ในโอกาสแรกของแต่ละเกม
        3.3.7.2 เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีโอกาสได้คะแนน 29 คะแนนในแต่ละเกม ให้ขานว่า "อีกแต้มเดียวเกม" หรือ "อีกแต้มเดียวจบการแข่งขัน" แล้วแต่กรณีให้ขานคะแนนของฝ่ายส่งและฝ่ายรับลูกตามด้วยขานว่า "อีกแต้มเดียวเกม" หรือ "อีกแต้มเดียวจบการแข่งขัน" ตามคําแนะนําข้อ 3.3.7.1 และ 3.3.7.2
        3.3.8 เมื่อสิ้นสุดการเล่นทุกเกม ต้องขานทุกครั้งว่า "เกม" ทันทีที่การตีโต้ลูกยุติลงโดยไม่ต้องคํานึงถึงการปรบมือ ให้ปฏิบัติทํานองเดียวกันกับกรณีเริ่มการพักตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ         16.2.2 หลังจบเกมที่1 ให้ขานว่า "เกมที่ 1....(ชื่อผู้เล่นหรือชื่อสังกัดในประเภททีม) เป็นฝ่ายชนะ..(คะแนน)" หลังจบเกมที่ 2 ให้ขานว่า "เกมที่ 2...(ชื่อผู้เล่นหรือชื่อสังกัดในประเภททีม) เป็นฝ่ายชนะ...(คะแนน)" "ชนะคนละเกม" (ถ้ามีการแข่งขันในเกมที่ 3) หากเป็นเกมที่ทําให้ชนะในแมทช์การแข่งขันให้ขานว่า "ผลการแข่งขัน ... (ชื่อผู้เล่นและสังกัดในประเภททีม) เป็นฝ่ายชนะ...(ประกาศคะแนนทุกเกม)"
        3.3.9 ในการพักระหว่างเกมที่ 1 และเกมที่ 2 และระหว่างเกมที่ 2 และเกมที่ 3 หลังจาก 100 วินาทีผ่านไป ให้ขานว่า "สนาม...20 วินาที" (ขานซ้ำ)ในการพักระหว่าง 2 เกม หลังจากได้เปลี่ยนข้างแล้วให้มีบุคคลเข้าไปพบนักกีฬาในสนามได้ฝ่ายละไม่เกิน 2 คน และจะต้องออกจากสนามทันทีเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน 20 วินาที
        3.3.10 เริ่มการแข่งขันเกมที่ 2 ให้ขานว่า "เกมที่2 ศูนย์เท่า - ส่งได้" หากมีการเล่นเกมที่ 3 เริ่มการแข่งขันให้ขานว่า "เกมสุดท้ายศูนย์เท่า - ส่งได้"
        3.3.11 การแข่งขันเกมที่ 3 หรือการแข่งขันเกมเดียว ให้ขานคะแนนแล้วตามด้วยคําว่า "เปลี่ยนข้าง" เมื่อเริ่มเล่นให้ขานคะแนนของฝ่ายส่งและฝ่ายรับตามด้วย "ส่งได้"
        3.3.12 หลังขากการแข่งขันจบลงให้นําไปบันทึกคะแนนที่สมบูรณ์ส่งให้กรรมการผู้ชี้ขาดทันที
     3.4 การกํากับเส้น
        3.4.1 กรรมการผู้ตัดสิน ควรมองดูกรรมการกํากับเส้นเสมอเมื่อลูกขนไก่ตกใกล้เส้นและตกนอกเส้นเขตทุกครั้งไม่ว่าจะห่างแค่ไหน กรรมการกํากับเส้นเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจทั้งสิ้น ยกเว้น
        3.4.2 ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่ากรรมการกํากับเส้นขานผิดอย่างแน่นอน กรรมการผู้ตัดสินจะต้องขาน "แก้ไขเป็นดี" เมื่อลูกขนไก่ตกในเขตสนาม "แก้ไขเป็นออก" เมื่อลูกขนไก่ตกนอกเขตสนาม
        3.4.3 ในกรณีที่ไม่มีกรรมการกํากับเส้น หรือกรรมการกํากับเส้นมองไม่เห็น ขาน "ออก" ก่อนที่จะขานคะแนน เมื่อลูกขนไก่ตานอกเส้นเขตหรือ ให้คะแนน เมื่อลูกขนไก่ตกในเขต หรือ "เอาใหม" หากกรรมการผู้ตัดสินมองไม่เห็นเช่นกัน
     3.5 ระหว่างการแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินจะต้องคอยดูแลและดําเนินการทันทีกับเหตุการณ์สําหรับกรณีดังต่อไปนี้
        3.5.1 นักกีฬาขว้างแร็กเกตไปยังสนามของคู่แข่งขันหรือลื่นไถลลอดใต้ตาข่าย (ถือว่าผู้นั้นกีดขวางหรือรบกวนสมาธิคู่ต่อสู้) ถือว่า "เสีย" ฯลฯ ตามกติกาข้อ 13.4.2 หรือ 13.4.3 ตามลําดับ
        3.5.2 ลูกขนไก่ที่ล้ำเข้ามาจากสนามอื่นไม่จําเป็นต้องตัดสินให้ "เอาใหม่" ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า
        3.5.2.1 นักกีฬาไม่ได้สังเกตเห็น หรือ
        3.5.2.2 ไม่ได้กีดขวางหรือทําลายสมาธิของนักกีฬา
        3.5.3 การตะโกนว่า "อย่าตี" "เสีย" ฯลฯ อาจจะถือว่าทําลายสมาธิคู่ต่อสู้ได้แต่การที่นักกีฬาตะโกนบอกคู่ขาซึ่งกําลังจะตีลูกไม่ถือว่าเป็นการรบกวนสมาธิคู่ต่อสู้
        3.5.4 นักกีฬาออกนอกสนาม
        3.5.4.1 นักกีฬาต้องไม่ออกไปนอกสนาม โดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างการพักตามกติการข้อ 16.2
        3.5.4.2 ต้องเตือนนักกีฬาที่ละเมิดว่าการออกไปนอกสนามต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน หากจําเป็นให้ดําเนินการตามกติกาข้อ 16.7 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไม่แร็กเกตที่วางไว้ข้างหลังนามระหว่างการตีโต้อนุญาตให้กระทําได้
        3.5.4.3 ในระหว่างการแข่งขันนักกีฬาออกไปเช็ดเหงื่อและ / หรือดื่มน้ำกระทําด้วยความรวดเร็วถ้าไม่ทําให้การเล่นหยุดชะงักกรรมการผู้ตัดสินจะอนุญาตให้กระทําได้
        3.5.5 การถ่วงเวลาและการพักการเล่นต้องแน่ใจว่าผู้เล่นจะไม่จงใจถ่วงเวลาหรือพักการเล่น ควรระมัดระวังการเดินรอบ ๆ สนาม หากจําเป็นจะต้องดําเนินการตามกติกาข้อ 16.7
        3.5.6 การสอนจากนอกสนาม
        3.5.6.1 ป้องกันไม่ให้มีการสอนจากนอกสนาม ขณะลูกอยู่ในการเล่น
        3.5.6.2 ต้องมั่นใจว่า ผู้ฝึกสอนนั่งอยู่ในพื้นที่ที่กําหนดและไม่ได้ยืนอยู่ข้างสนามระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นในช่วงที่อนุญาตให้มีการพัก ไม่มีการทําลายสมาธิหรือก่อกวนจากผู้ฝึกสอนคนหนึ่งคนใด สําหรับแมทช์การแข่งขันนั้น
        3.5.6.3 ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าเกมการเล่นถูกรบกวนทําให้นักกีฬาเสียสมาธิโดยผู้ฝึกสอนของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ขาน "เอาใหม" และเรียกกรรมการผู้ขาดทันทีกรรมการผู้ชี้ขาดจะเตือนเกี่ยวกับการกระทํานั้น ๆ
        3.5.6.4 ถ้ามีการกระทําอีกเป็นครั้งที่สองถ้าจําเป็นกรรมการผู้ชี้ขาดอาจขอให้ผู้ฝึกสอนออกจากบริเวณสนามแข่งขัน
        3.5.7 การขอเปลี่ยนลูกขนไก่
        3.5.7.1 การขอเปลี่ยนลูกขนไก่ระหว่างการเล่นต้องไม่เป็นการเอาเปรียบ เมื่อผู้เล่นขอเปลี่ยนลูกขนไก่กรรมการผู้ตัดสินจะอนุญาตก็ต่อเมื่อเห็นว่าสภาพลูกขนไก่ชํารุดแล้ว
        3.5.7.2 หากมีการทําลายวิถีและความเร็วของลูกขนไก่ให้เปลี่ยนลูกนั้น และกรรมการผู้ตัดสินต้องดําเนินการตามกติกาข้อ 16.7
        3.5.7.3 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการเลือกความเร็วของลูกขนไก่ที่ใช้ในการแข่งขัน ถ้านักกีฬาทั้งสองฝ่ายต้องการเปลี่ยนความเร็วของลูกขนไก่กรรมการผู้ตัดสินจะต้องเรียกกรรมการผู้ชี้ขาดทันทีและถ้าจําเป็นกรรมการผู้ชี้ขาดอาจจะให้มีการทดสอบความเร็วของลูกขนไก่ก็ได้
        3.5.8 การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยระหว่างการแข่งขัน
        3.5.8.1 การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยระหว่างการแข่งขันต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง และยืดหยุ่น กรรมการผู้ตัดสินต้องวินิจฉัยความรุนแรงของปัญหาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ถ้าจําเป็นให้เรียกกรรมการผู้ชี้ขาด
        3.5.8.2 กรรมการผู้ชี้ขาดจะเรียกเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือบุคคลอื่น ที่เห็นว่าจําเป็นเข้าไปในสนาม แพทย์จะต้องวินิจฉัยและแนะนํานักกีฬาเกี่ยวกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยถ้าเลือดออกจะต้องหยุดเกมและห้ามเลือดจนกระทั่งเลือดหยุด หรือได้ทําบาดแผลแล้ว
        3.5.8.3 กรรมการผู้ชี้ขาดจะแนะนําให้กรรมการผู้ตัดสินจับเวลาและเป็นผู้บอกให้นักกีฬาเริ่มเล่นต่อไป
        3.5.8.4 กรรมการผู้ตัดสินต้องมั่นใจว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่อยู่ในฐานะเสียเปรียบ และควรปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรมตามกติกาข้อ 16.4 , 16.5 , 16.6.1 และ 16.7
        3.5.8.5 กรณีของการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได่ควรถามผู้เล่นว่า "จะถอนตัวไหม" หากตอบรับให้ขานว่า ผลการแข่งขัน...(ชื่อผู้เล่นและสังกัด หรือชื่อสังกัดในประเภททีม) เป็นฝ่ายชนะ....(คะแนน) ...ถอนตัวจากการแข่งขัน
        3.5.9 โทรศัพท์เคลื่อนที่ถ้ามีเสียงโทรศัพท์ผู้เล่นดังขึ้นขณะกําลังมีการแข่งขันในสนามถือว่า ผู้เล่นคนนั้นทําความผิดตามกติกาข้อ 16.6.4 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดําเนินการลงโทษตามกติกาข้อ 16.7
        3.5.10 ความประพฤติของนักกีฬาในสนาม
        3.5.10.1 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องแน่ใจว่าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทําการแข่งขันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา
        3.5.10.2 การกระทําละเมิดใด ๆ ของผู้เล่นตามข้อบังคับที่ 4.6. ,4.10 ถึง 4.16 ของระเบียบว่าด้วยการควบคุมความประพฤติของนักกีฬา ให้ถือว่าเปํนการทําผิด ตามกติกาข้อ 16.6.4
     3.6 การพักการเล่นถ้ามีการพักการเล่นให้ขานว่า "พักการเล่น" แล้วบันทึกคะแนน ผู้ส่งลูกผู้รับลูก สนามส่งลูกที่ถูกต้องและด้านของผู้เล่นเมื่อกลับมาเล่นต้องให้บันทึกระยะของการพักการเล่น ต้องแน่ใจว่าผู้เล่นกลับมายืนในตําแหน่งที่ถูกต้องและขานว่า "เตรียมตัว" แล้วจึงขานคะแนน และ "ส่งได้"

 

กรรมการผูตัดสิน
กรรมการผู้ตัดสิน

 

     3.7 การทำผิด
        3.7.1 บันทึกแล้วรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดถึงสาเหตุของการกระทำผิดและการดำเนินการที่ได้ทำไป
        3.7.2 การกระทำผิดระหว่างเกม ถือเสมือนเป็นการกระทำผิดขณะที่กำลังเล่นในระหว่างเกม กรรมการผู้ตัดสินจะประกาศดำเนินการกับการทำผิดเมื่อเริ่มเกมถัดไป โดยขานตามคำแนะนำข้อ 3.3.10 ตามด้วยข้อ 3.7.3 หรือ 3.7.5 จากนั้น ขาน "คะแนน" หรือ "เปลี่ยนส่ง...คะแนน" ตามความเหมาะสม
        3.7.3 หากกรรมการผู้ตัดสินต้องดำเนินการตามกติกาข้อ 16.4 , 16.5 หรือ 16.6 โดยเตือนฝ่ายที่กระทำผิด ให้เรียกผู้เล่นที่ทำผิด "มานี่" แล้วขานว่า "...(ชื่อผู้เล่น) เตือนที่กระทำผิด" ในขณะเดียวกันให้ถือใบเหลืองขึ้นเหนือศีรษะ
        3.7.4 หากกรรมการผู้ตัดสินต้องดำเนินการตามกติกาข้อ 16.4 , 16.5 หรือ 16.6 โดยเตือนฝ่ายที่กระทำผิด ซึ่งได้เตือนที่กระทำผิดไปแล้ว ให้เรียกผู้เล่นที่ทำผิด "มานี่" แล้วขานว่า "...(ชื่อผู้เล่น) ตัดสิทธิ์ที่กระทำผิด" ในขณะเดียวกันให้ถือใบแดงขึ้นเหนือศีรษะ
        3.7.5 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินได้ดำเนินการกระทำผิดอย่างชัดแจ้งหรือผิดอยู่ตลอดเวลาตามกติกาข้อ 16.2 , 16.4 , 16.5 หรือ 16.6 โดยตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด และรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที ในการพิจารณาตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเรียกฝ่ายที่กระทำผิดว่า "มานี่" "...(ชื่อผู้เล่น) ตัดสิทธิ์ที่กระทำผิด" ในขณะเดียวกันให้ชูแขนขวาที่ถือใบแดงขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมทั้งเรียกกรรมการผู้ชี้ขาดเข้ามาในสนาม
        3.7.6 หากกรรมการผู้ชี้ขาดพิจารณาให้ตัดสิทธิ์ผู้เล่นออกจากการแข่งขันก็จะส่งใบดำให้กรรมการผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินจะเรียกฝ่ายที่กระทำผิดว่า "มานี่" และขานว่า "...(ชื่อผู้เล่น) ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน" ในขณะเดียวกันให้ชูแขนขวาที่ถือใบดำขึ้นเหนือศีรษะ เมื่อผู้เล่นถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน จะถูกตัดสิทธิ์ทั้งหมดสำหรับประเภทที่เหลืออยู่ในรายการนั้น

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษา : กติกาแบดมินตัน เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,797 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,513 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,368 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 959,136 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,420 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,005,033 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 589,133 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,855 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม