พิมพ์
ประเภทยืนแข่งขันกลุ่มพิการร่างกายส่วนล่าง
ประเภทยืนแข่งขันกลุ่มพิการร่างกายส่วนล่าง

 

กฎเกณฑ์การพิจารณานักกีฬาแบดมินตันประเภทยืนแข่งขัน กลุ่มพิการร่างกายส่วนล่าง

 

(ตามการจัดลักษณะความพิการของสหพันธ์แบดมินตันโลกวันที่ 1 มิถุนายน 2555)

การแบ่งระดับความพิการร่างกายส่วนล่างมี 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มยืนแข่งขัน ระดับ SL3 (Standing Lowre 3) จะมีความพิการในส่วนล่างของร่างกายค่อนข้างรุนแรงและเห็นได้เด่นชัด ในส่วนบนของร่างกายไม่มีความพิการหรือมีบ้างเล็กน้อย ความพิการส่วนล่างที่เห็นได้ชัดคือ
     1.1 มีขาขาดเหนือเข่า 1 ข้าง หรือ
     1.2 มีขาขาดใต้เข่า 2 ข้าง
     1.3 พบความผิดปกติอย่างน้อย 4 อย่างในหนึ่งหรือสองของส่วนสะโพกลงไปยังขาทั้งสอง ในกรณีดังต่อไปนี้
        1.3.1 พับสะโพกเข้ามามากกว่า 45 องศา
        1.3.2 เหยียดสะโพกออกมากกว่า 25 องศา
        1.3.3 งอเข่าเข้ามาได้มากกว่า 60 องศา
        1.3.4 เหยียดเข่าได้มากกว่า 30 องศา
        1.3.5 กระกดข้อเท้าออกได้น้อยกว่าหรือเทียบเท่ากับ 10 องศา
     1.4 มีความผิดปกติใน 3 ข้อและมีความสูญเสียพลังของกล้ามเนื้อหนึ่งอย่างหรือมีความยาวของขาทั้งสองแตกต่างกัน 4 เซนติเมตร มีการสูญเสียพลังของกล้ามเนื้อ 4 ข้อ ใน 1 หรือทั้ง 2 ของร่างกายส่วนล่าง
        1.4.1 การพับสะโพกเข้ามาสูญเสียพลังกล้ามเนื้อระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.2 สูญเสียพลังกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการเหยียดสะโพกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.3 สูญเสียพลังกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการเหยียดสะโพกออกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.4 สูญเสียพลังกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการพับสะโพกเข้ามาระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.5 สูญเสียพลังกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการเหยียดเข่าออกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.6 สูญเสียพลังกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการงอเข่าเข้ามาระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.7 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวกับการกระดกข้อเท้าออกเข้าระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        1.4.8 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อในส่วนที่กระดกข้อเท้าเข้ามาระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2) หรือ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อข้อ 1.3 สามอย่าง กับการสูญเสียพลังของกล้ามเนื้อข้อ 1.4 หนึ่งอย่างหรือ ความแตกต่างระหว่างความยาวของขาทั้งสองข้าง 4 เซนติเมตร ความแตกต่างของความยาวขาทั้งสองข้างจะมีคุณสมบัติเท่ากับขาขาดเหนือเข่าหนึ่งข้าง

2. กลุ่มยืนแข่งขันระดับ SL4 (Standing Lowre 4) จะมีลักษณะความพิการ ดังนี้
     2.1 มีความพิการตั้งแต่กำหนด
     2.2 สูญเสียขาข้างหนึ่งบริเวณใต้เข่าลงมา
     2.3 ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ตรวจพบสองอย่างในหนึ่งหรือสองของร่างกายส่วนล่าง (ส่วนสะโพกถึงขาทั้งสองข้าง) ในกรณีดังต่อไปนี้
        2.3.1 สูญเสียความเคลื่อนไหวส่วนที่เกี่ยวกับการพับสะโพกเข้ามามากกว่า 45 องศา
        2.3.2 สูญเสียความเคลื่อนไหวส่วนที่เกี่ยวกับการเหยียดสะโพกออกมากกว่า 25 องศา
        2.3.3 สูญเสียความเคลื่อนไหวส่วนที่เกี่ยวกับการงอเข่าได้มากกว่า 60 องศา
        2.3.4 สูญเสียความเคลื่อนไหวส่วนที่เกี่ยวกับการเหยียดเข่าได้มากกว่า 30 องศา
        2.3.5 การกระดกข้อเท้าออกได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 องศา
        2.3.6 การกระดกข้อเท้าเข้าได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 องศา
     2.4 การสูญเสียพลังของกล้ามเนื้อพบสองอย่างในหนึ่งหรือสองของร่างกายส่วนล่าง (ส่วนสะโพกถึงขาทั้งสองข้าง) ในกรณีดังต่อไปนี้
        2.4.1 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อส่วนที่เกี่ยวกับการพับสะโพกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.2 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดสะโพกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.3 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเหยียดสะโพกระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.4 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเหยียดเข่าระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.5 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการงอเข่าระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.6 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกระดกข้อเท้าออกไประดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
        2.4.7 สูญเสียพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกระดกข้อเท้าเข้ามาระดับ 3 (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับ 2)
     2.5 ความแตกต่างความยาวของขาซ้ายและขาขวาอย่างน้อย 7 เซนติเมตร

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษา : กติกาแบดมินตัน เพิ่มเติม

 




- หรือ -