มวยโคราช (มวยไทยภาคอีสาน)


มวยไทยโคราชเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าที่พันด้วยเชือกหรือด้ายดิบของชนชาติไทยในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5–6

 

มวยโคราช
มวยโคราช


           มวยไทยโคราช เป็นมวยที่มีมาในประวัติศาสตร์ไทยมาช้านาน เป็นศิลปะมวยไทยที่มีชื่อเสียงตลอดมาเท่ากับมวยลพบุรี มวยอุตรดิตถ์ และมวยไชยาซึ่งมีนักมวยจากหัวเมืองคือเมืองโคราชได้สร้างชื่อเสียงจากการไปแข่งขันชกมวยในพระนครโดยชกชนะนักมวยภาคอื่นๆ นับไม่ถ้วน ซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น โดยเริ่มตั้งแต่สมัย “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมากการฝึกหัดมวยไทยแพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ” ทรงจัดให้ทีมการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ในวันที่ 18–21 มีนาคม ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ณ ทุ่งพระเมรุ นักมวยที่เจ้าเมืองต่างๆ นำมาแข่งขันล้วนแต่คัดเลือกคนที่มีฝีมือดีจากทั่วประเทศ การแข่งขันครั้งนี้ได้นักมวยที่สามารถชกชนะคู่ต่อสู้หลายคนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระองค์ และโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ให้กับนักมวยมณฑลนครราชสีมาเมืองโคราชเป็นขุนหมื่นครูมวย คือ “หมื่นชงัดเชิงชก” ถือศักดินา 300 คือ นายแดง ไทยประเสริฐลูกศิษย์คุณพระเหมสมาหารเจ้าเมืองโคราช มีชื่อเสียงในการใช้ “หมัดเหวี่ยงควาย”

 

ณ ทุ่งพระเมรุ
ณ ทุ่งพระเมรุ

 


            อีกทั้งยังมีนักมวยโคราชที่มีความสามารถจนได้เป็นครูสอนพลศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนถึงเกษียณอายุราชการ รวมเวลาถึง 28 ปี คือ ครูบัว นิลอาชา(วัดอิ่ม) และยังมีมวยโคราชที่มีฝีมือดี เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ถึงกับเป็นครูสอนมวยไทยให้กับนักมวยจากเมืองโคราชที่วังเปรมประชากร เช่น นายทับ จำเกาะ, นายยัง หาญทะเล, นายตู้ ไทยประเสริฐ,นายพูน ศักดา เป็นต้น

 


            มวยโคราชคาดเชือกยุคฟื้นฟูอนุรักษ์ สมัยรัชกาล 9 ถึงปัจจุบัน ไม่มีการฝึกซ้อมที่เมืองโคราช แต่ยังมีลูกศิษย์ครูบัว วัดอิ่ม (นิลอาชา) คือ พันเอกอำนาจ พุกศรีสุข ทำการถ่ายทอดมวยโคราชคาดเชือกให้กับผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์สืบสาน อยู่ที่ สยามยุทธ์ กรุงเทพ ฯ ทุกวัน ครูเช้า วาทโยธา ที่ยังอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดมวยโคราช ให้กับลูกศิษย์ และผู้ที่สนใจเป็นประจำที่โรงเรียนบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งเปิดสอนในวิชาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีละ 450 คน

 

มวยโคราชคาดเชือกยุคฟื้นฟูอนุรักษ์
มวยโคราชคาดเชือกยุคฟื้นฟูอนุรักษ์

 


            “เอกลักษณ์มวยไทยโคราช พบว่า สวมกางเกงขาสั้น ไม่สวมเสื้อ สวมมงคลที่ศีรษะขณะชก การพันหมัดแบบคาดเชือก ตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะมวยโคราชเป็นมวยต่อยวงกว้าง และใช้หมัดเหวี่ยงควาย การพันเชือกเช่นนี้ เพื่อป้องกันการเตะต่อยได้ดี”การฝึก ฝึกจากครูมวยในหมู่บ้าน ต่อจากนั้นจึงได้รับการฝึกจากครูมวยในเมืองขั้นตอนการฝึกโดยใช้ธรรมชาติ เมื่อเกิดความคล่องแคล่วแล้วทำพิธียกครู แล้วให้ย่างสามขุมและฝึกท่าอยู่กับที่ 5 ท่า ท่าเคลื่อนที่ 5 ท่า ฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า ฝึกท่าแม่ไม้สำคัญ ประกอบด้วย ท่าแม่ไม้ครู 5 ท่า และท่าแม่ไม้สำคัญ โบราณ 21 ท่า แล้วมีโคลงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมคำแนะนำ เตือนสติไม่ให้เกรงกลัวคู่ต่อสู

 

เอกลักษณ์มวยไทยโคราช
เอกลักษณ์มวยไทยโคราช

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,748 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,473 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,323 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 959,079 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,363 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,989 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 589,102 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,820 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม