สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีได้สถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2325 หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยนี้ได้แก่กฎหมายตราสามดวงซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และชำระเมื่อ พ.ศ. 2347 ซึ่งได้กล่าวถึงการตีมวย และปล้ำกันไว้ในพระอัยการเบ็ดเสร็จอันเป็นสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทกัน การนิยมชกมวยไทยคงมีอยู่ทั่วไปจึงทำให้ชาวต่างชาติสนใจเข้ามาท้าชกพนัน ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

        รุงรัตนโกสินทร์นิยมชกมวยไทยตามงานวันสำคัญต่างๆ เช่น งานปิดทองพระงานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา งานประจำปี และงานรับเสด็จเจ้านาย ทำให้ ชาวต่างประเทศที่ได้เห็นการต่อสู้แบบศิลปะมวยไทยและคิดว่าคนไทยดูเหมือนจะเป็นนักมวยไปหมด ทำให้ชาวฝรั่งอยากที่จะประลองฝีมือดู ในปี พ.ศ. 2331 ฝรั่งเข้ามาท้าพนันชกมวยนั้น ตามพงศาวดารกล่าวว่าเป็นชาวฝรั่งเศส มีอาชีพเป็นนายกำปั้น 2 คน ซึ่งเป็นพี่น้องกัน คนที่จะขอชกคนแรกเป็นน้อง ซึ่งมีฝีมือดีและผ่านการชกมาหลายที่หลายเมืองจนสุดท้ายมาขอท้าชกกับนักมวยชาวกรุงรัตนโกสินทร 

 

ชกมวยไทยตามงานวันสำคัญต่างๆ
ชกมวยไทยตามงานวันสำคัญต่างๆ

          เมื่อมาถึงพระนคร นายกำปั่นให้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลังว่าจะขอชกมวยพนันกับคนไทย พระยาพระคลังจึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงดำรัสปรึกษากับกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือมวยไทยและควบคุมกรมทนายเลือกอยู่ในขณะนั้น เห็นว่าการข้อท้าพนันมวยของชาวฝรั่งเศสครั้งนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของคนไทยจึงได้ตกลงพนันกันเป็นเงิน 50 ชั่ง กรมพระราชวังบวรฯจึงจัดการคัดเลือกนักมวยชื่อ “หมื่นผลาญ” เป็นทนายเลือกวังหน้า แล้วจัดสนามมวยปลูกพลับพลาขึ้นที่สนามหลังวัดพระแก้ว เมื่อถึงเวลาชกก็ตรัสให้แต่งตัวหมื่นผลาญชโลมน้ำมัน ว่านยา และให้ขึ้นขี่คอคนเดินมายังมาสนามมวย เมื่อเริ่มชก ชาวฝรั่งเศสได้เปรียบทางด้านร่างกายที่สูงใหญ่กว่าพยายามเข้ามาปล้ำและจะจับหักกระดูก แต่หมื่นผลาญใช้วิธีชกพลางถอยพลางป้องกันแล้วก็เตะ ถีบต่อย แล้ววิ่งถอยออกมา ฝรั่งโดนหมัดโดนเตะหลายครั้งแต่ไม่ยอมล้ม การต่อสู้ดำเนินไปในรูปเดิมคือ หมื่นผลาญเป็นฝ่ายใช้อาวุธยาว เตะหนี ถีบหนี ต่อยหนี ส่วนฝรั่งก็เดินหน้า

 

นายกำปั่นให้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลัง
นายกำปั่นให้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลัง

             เข้ามาหมายจะจับหักกระดูกท่าเดียว ยิ่งการชกเนิ่นนานไปฝรั่งก็ยิ่งเสียเปรียบ เพราะทำอะไรหมื่นผลาญไม่ได้ ฝ่ายพี่ชายชาวฝรั่งเศสเห็นว่าถ้าหมื่นผลาญเอาแต่ถอยเตะ ถอยต่อยถอยถีบ น้องชายของตนคงแย่แน่ เลยกระโดดเข้าไปผลักหมื่นผลาญไม่ให้ถอยหนี “การกระทำดังกล่าวเป็นเหมือนช่วยกันชก จึงทำให้เกิดมวยหมู่ตะลุมบอนกันขึ้นระหว่างฝรั่งกับพวกทนายเลือกซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีฝีมือทางด้านมวยไทย จึงพากันต่อยเตะจนฝรั่งบาดเจ็บสาหัส” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงสั่งให้หยุดการชกและพระราชทานหมอยาหมอนวด ให้ไปรักษาพยาบาล แล้วฝรั่งทั้งสองก็ได้ออกเรือกลับไปโดยยังไม่รู้ผลแพ้ชนะด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการที่หมื่นผลาญกำลังดูชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ คิดว่าจะเผด็จศึกเอาตอนหลังเมื่อฝรั่งหมดแรง 

 

ยิ่งการชกเนิ่นนานไปฝรั่งก็ยิ่งเสียเปรียบ
ยิ่งการชกเนิ่นนานไปฝรั่งก็ยิ่งเสียเปรียบ

หลักฐานที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งคือวรรณคดี ซึ่งผู้แต่งมีวิถีชีวิตอยู่ในสมัยใดก็จะบันทึกเรื่องราวที่ได้พบเห็นถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้รับรู้และสัมผัสกับภาพ น้ำเสียง ความคิดและองค์ประกอบอื่นๆ จากตัวหนังสือที่สร้างสรรค์ไว้ ดังที่สุนทรภู่ได้แต่งนิราศพระบาทคราวตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่จะขึ้นไปนมัสการ

 

หลักฐานที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งคือวรรณคดี
หลักฐานที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งคือวรรณคดี

 

พระพุทธบาทจำลองในเดือน 3 ปลาย พ.ศ. 2350 และได้กล่าวถึงการชกมวย วิธีการชกและการแต่งกายของนักมวยไว้ดังนี้

 

 วิธีการชกและการแต่งกายของนักมวยไว้
วิธีการชกและการแต่งกายของนักมวยไว้

ละครหยุดอุตลุดด้วยมวยปล้ำ ยืนประจำหมายสู้เป็นคู่ขัน
มงคลใส่สวมหัวไม่กลัวกัน ตั้งประจันจดจับกระหยับมือ
ตีเข่าปับรับโปกสองมือปิด ประจบติดเตะผางหมัดขว้างหวือ
กระหวัดหวิดหวิวผวาเสียงฮาฮือ คนดูอื้อเออเอาสนั่นอึง
ใครมีชัยได้เงินบำเหน็จมาก จมูกปากบอบบวมอลึ่งฉึ่ง
แสนสนุกสุขล้ำสำมดึงษ์ พระผู้ถึงนฤพานด้วยการเพียร
“นิราศพระบาท”


            จากบทกลอนดังกล่าวทำให้เราทราบว่าการชกมวยในสมัยก่อนจะสวมมงคลไว้ที่ศีรษะในขณะชกมวย นักมวยใช้วิธีการชกทั้งหมด ขว้างหมัด เข่า เตะ และกลวิธีการรับเพื่อปกปิดร่างกาย สภาพคนดูสนุกสนานพร้อมกับเสียงเชียร์สนั่นรอบสนาม นักมวยเจ็บตัวกันทั้งสองฝ่าย ใครชนะก็ได้รางวัลมากกว่าคนชกแพ้ การชกมวยในสมัยนี้มักจะเรียกชื่ออย่างเดิมที่เคยเรียกมาครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ มวย มวยปล้ำ ตีมวย ต่อยมวย เป็นต้น

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,505 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,218 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,062 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,804 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,110 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,667 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,955 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,597 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม