สุดท้ายสิ่งที่หน้ายกย่องของพระยาพิชัยดาบหัก คือ “ความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสิน” หลังจากทราบข่าวว่าพระเจ้าตากสินสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงใหม่ของไทย เจ้าเมือง หัวเมืองต่าง ๆ จะต้องเข้าไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อพระมหากษัตริย์ “พระยาพิชัยตัดสิน ใจที่จะเป็น “ทหารเสือพระเจ้าตาก” แต่เพียงพระองค์เดียว จึงทิ้งลูกและภรรยาเดินออกจากเมืองพิชัยด้วยใจเด็ดเดี่ยว และหายไปจากเมืองพิชัยตั้งแต่วันนั้น”

      ซึ่งน่าเสียดายทหารกล้าคนนี้มาก แต่ด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสิน ที่ได้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกันมาแล้ว จึงไม่อเปลี่ยนแปลงหรือแปรพักตร์ไปเป็นทหารเสือของ ผู้ใดได้อีกในชาตินี้ น่าชื่นชมความซื่อสัตย์ของบุคคลสำคัญของชาติไทยที่ช่วยกอบกู้อิสรภาพให้ชาติไทยเป็นเอกราชอยู่ได้จวบจนทุกวันนี้

 

ความจงรักภักดีต่อ พระเจ้าตากสิน
ความจงรักภักดีต่อ พระเจ้าตากสิน

 

     2. นายขนมต้มเคยเป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ.2310 นายขนมต้ม เกิดวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. 2293 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ปัจจุบันคือ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) บิดาชื่อนายเกิด มารดาชื่อนางอี่ มีพี่น้อง 2 คนคือ

  1. นางเอื้อย ถูกพม่าฆ่าตายเมื่อเล็กๆ
  2. นายขนมต้ม

     นายขนมต้มต้องอาศัยอยู่วัดตั้งแต่เด็กๆ ต่อมาเมื่ออายุได้ประมาณ 10 ขวบพ่อแม่ได้ถูกพม่าฆ่าตายทั้งคู่ เมื่อเริ่มโตเป็นหนุ่ม ได้ฝึกหัดมวยไทยจากผู้มีฝีมือด้านหมัดมวย และมีความสามารถด้านมวยมากขึ้นเป็นลำดับ ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ผู้คนได้ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกอย่างมากมายในระหว่างนั้นเองชื่อเสียงของนายขนมต้มได้เริ่มปรากฏเมื่อในปี พ.ศ. 2317 จึงปรากฏเรื่องราวของนักมวยไทยในพระราชพงศาวดารซึ่งบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งพระเจ้าอังวะจัดพิธียกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกศธาตุ แล้วให้มีงานเฉลิมฉลองจัดงานสมโภชมหาเจดีย์มีขุนนางพม่ากราบทูลว่า ชาวไทยมีฝีมือด้านมวยไทยดีแทบทุกคน จึงตรัสสั่งให้จัดหา

 

นายขนมต้ม
นายขนมต้ม

 

      นักมวยเพื่อชกกัน ในงานนี้ได้นักมวยไทยมีฝีมือคนหนึ่งชื่อนายขนมต้มเป็นนักมวยมีชื่อเสียงมากตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ขุนนางพม่าได้นำตัวนายขนมต้ม ผู้มีรูปร่างล่ำสัน บึกบึนผิวดำ มาถวายพระเจ้าอังวะ แล้วจัดให้นักมวยพม่าเข้าเปรียบเทียบกับนายขนมต้มเมื่อได้คู่กันแล้วก็ให้ชกกันหน้าพระที่นั่ง และนายขนมต้มชกชนะพม่าถึงเก้าคนสิบคนพระเจ้าอังวะทอดพระเนตรแล้ว ตรัสสรรเสริญฝีมือมวยนายขนมต้มว่า “ไทยมีพิษอยู่ ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้คนเดียวชนะถึงเก้าคนสิบคนฉะนี้เพราะเจ้านายไม่ดีจึงเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าเจ้านายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุธยา” พระเจ้าอังวะ จึงทรงมอบเงินและภรรยาให้ 2 คน เป็นรางวัล กาลเวลาต่อมานายขนมต้มก็ได้นำเอา สองศรีภรรยาเข้ามาตั้งรกรากในไทยจนถึงบั้นปลายของชีวิต 

      นายขนมต้มจึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทยที่ได้ไปประกาศฝีไม้ลายมือมวยไทยในต่างแดน และยังเปรียบเสมือนกับเป็นบิดามวยไทยมาจนเท่าทุกวันนี้ อนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมวยไทยชกกันด้วยการคาดเชือก เรียกว่ามวยคาดเชือก

 

พระเจ้าอังวะ
พระเจ้าอังวะ

 

" นายขนมต้มคือ “บิดาของมวยไทย” สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาได้สำนึกในบุญคุณของนายขนมต้มและถือเป็นเกียรติศักดิ์คนดีศรีอยุธยา จึงได้พร้อมใจกันสร้าง “อนุสาวรีย์นายขนมต้ม” ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา "

 

ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมาปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก
ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมาปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก

 

      ซึ่งใช้เชือกหรือผ้าพันมือ บางครั้งการชกอาจจะถึงตาย เพราะเชือกที่ใช้คาดมือถึงข้อศอกนั้นบางครั้งใช้น้ำมันชุบเศษแก้วหรือทรายละเอียด ชกถูกตรงไหนจะบาดเจ็บและได้เลือดตรงนั้น นับว่าการชกมวยคาดเชือกนั้นมีอันตรายมาก ทั้งนี้ยังนิยมสวมมงคลไว้ที่ศีรษะและผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขนตลอดการแข่งขัน การเปรียบคู่ชกนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คำนึงถึงขนาดร่างกาย อายุ “กติกาการชกง่ายๆ คือ ชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้” ในงานเทศกาลต่างๆ ต้องมีการจัดแข่งขันมวยไทยด้วยเสมอมีการพนันกันระหว่างนักมวยที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่งกับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง

      ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมาปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก มีหน้าที่แวดล้อมองค์พระมหากษัตริย์คอยป้องกันอันตรายในระยะประชิดพระองค์ โดยไม่ใช้อาวุธอื่นใดนอกจากมือเปล่า กรมนี้มีอยู่ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์บางองค์ทรงเป็นนักมวยมีฝีมือ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นต้น

      วันที่นายขนมต้มชกกับพม่านั้นเป็นวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2313 ต่อมาจึงได้ถือเอาวันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันนักมวยไทย และ คนไทยถือว่า “นายขนมต้มคือ บิดาของมวยไทย” สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาได้สำนึกในบุญคุณของนายขนมต้มและถือเป็นเกียรติศักดิ์คนดีศรีอยุธยา จึงได้พร้อมใจกันสร้าง “อนุสาวรีย์นายขนมต้ม” ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจและให้ลูกหลานไทยยึดถือเป็นแบบอย่างสืบไป

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,508 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,218 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,065 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,806 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,116 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,671 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,958 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,600 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม