พิมพ์
หลวงพิชัยอาสา
หลวงพิชัยอาสา

 

      เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจัดให้มีมวยฉลองขึ้น นายทองดีฟันขาวดีใจมากได้มีโอกาสเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าว ซึ่งเป็นครูมวยฝีมือดีของเจ้าเมืองตากและมีอิทธิพลมาก นายทองดีฟันขาวใช้ความว่องไวใช้หมัดศอกและเตะขากรรไกรจนครูห้าวสลบไปเจ้าเมืองตากจึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดีฟันขาวตอบว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ผิวดำ นายทองดีฟันขาวเตะซ้ายเตะขวาบริเวณขากรรไกรจนครูหมึกล้มลงสลบไปเจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงินรางวัล 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดีฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ได้รับใช้และเป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น “หลวงพิชัยอาสา” เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิดและเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและทหารหาญได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ในเวลาต่อมาได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ “เมื่อพระยาธิงพระยาวชิรปราการ ปราการทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าแล้ว ทรงสถาปนาเป็นขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์ และก็ให้พระยาพิชัยไปครองเมืองพิชัยบ้านเมืองเดิมของตนเอง” ในปี พ.ศ. 2314 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แล้วเลยมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย
      นำทหารออกสู้รบ การรบถึงขั้นตะลุมบอนจนดาบหักทั้งสองข้างจึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก “ความสามารถของพระเจ้าตากสิน ที่น่าประทับใจ คือ ความเสียสละ และความรักเพื่อนทหารของพระองค์ พระองค์ เสียสละแม้กระทั่งคนรักให้กับหลวงพิชัยอาสา” โดยกล่าวว่า หญิงรึจะสู้ทหารกล้า นับเป็นผู้นำที่มีจิตใจเมตตา เสียสละ ที่เห็นทหารกล้ามีความสำคัญมากกว่าคนรักของพระองค์ ทรงมีน้ำพระทัยใหญ่หลวงที่เห็นความสุขของทหารกล้ามีค่ายิ่งกว่าคนรักความสามารถของพระยาพิชัยดาบหัก คือ “ความกตัญญูกตเวที” หลังจากพระองค์ได้เป็นเจ้าเมืองพิชัยแล้ว ก็กลับไปหาครูมวยทั้งสองท่าน คือ ครูเที่ยงและครูเมฆ ได้แต่งตั้งครูเมฆเป็นกำนันและครูเที่ยงเป็นผู้ใหญ่บ้าน ประพฤติปฏิบัติตนต่ออาจารย์ เยี่ยงศิษย์ที่ดี แม้ว่าจะเป็นเจ้าเมืองแล้วก็ตาม

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -