พิมพ์
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา

 

สมัยอาณาจักรอยุธยา

      กรุงศรีอยุธยาสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ. 1893 และเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงพ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ ตลอดระยะเวลาดังกล่าวกรุงศรีอยุธยา ต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรข้างเคียง คือ สุโขทัย พม่า เขมร มอญ และจากการแย่งชิงอำนาจกันเอง โดยส่วนมากจะเป็นการรบระหว่างไทยกับพม่านับได้ 39 ครั้ง

      ารศึกสงครามที่มากมาย พระมหากษัตริย์และราษฎรไทยจึงจำเป็นต้องฝึกหัดศิลปะป้องกันตัว และวิชาการทหารเพื่อป้องกันประเทศ “ช่วงเวลาที่ฝึกหัดศิลปะป้องกันตัวและเตรียมกำลังรบมักจะเป็นช่วงฤดูฝน” เพราะในสมัยนั้นการยกทัพไปตีเมืองใดก็ตามมักจะรอให้เข้าฤดูแล้งก่อน เพื่อสะดวกในการเดินทัพที่มีทั้งไพร่พลเสบียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ หากเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลากถนนหนทางจะถูกน้ำท่วม ยากต่อการเดินทัพที่มีทหารจำนวนมากและจะทำให้ทหารได้รับความลำบากเกิดเจ็บป่วยล้มตายได้ ช่วงฤดูฝนจึงเป็นช่วงที่ต้องปลูกข้าวเพื่อเตรียมเป็นเสบียงอาหารและบำรุงไพร่พลให้สมบูรณ์ และฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ให้มีความชำนาญ มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่งที่ทหารทุกคนจำเป็นต้องฝึกหัดควบคู่กันไปกับการใช้อาวุธที่มีอยู่ในสมัยนั้น 

 

สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระเอกาทศรถ

 

      จากการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยพบว่า ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถมีกฎหมายเกี่ยวกับการชกมวยอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า “พระอัยการเบ็ดเสร็จ” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและนำมาชำระในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2347 ตรงกับรัชกาลที่ 1 มีความว่า

117 มาตราหนึ่ง ชนชั้นสองเป็นเอกจิกเอกฉันท์ตีมวยด้วยกันก็ดี แลปล้ำกันก็ดีแลผู้หนึ่งต้องเจ็บปวดก็ดี ขั้นหักถึงแกมรณภาพก็ดี ท่านว่าหามีโทษมิได้ อนึ่งมีผู้ยุยงตบรางวัลก็ดี ให้ปล้ำตีนั้นผู้ยุยงหาโทษมิได้เพราะเหตุผู้ยุนั้นจะได้มีเจตนาที่ใคร่ให้สิ้นชีวิตหามิได้ แก่ใคร่จะดูเล่นเป็นยาสุภาพ เป็นกำมแก้ผู้พึงมรณภาพเองแล (กฎหมายตราสามดวง 2521 : 438 – 439) กันไปเพราะเขาปล้ำกันผีเจ้าพระยา ข้าชนตีปล้ำกันและมีผู้ยุยงให้ทำดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งตายลงให้ผู้ยุยงท่านเผาศพเพราะเหตุไปเคี่ยวเข็ญให้ท่านต่อสู้กัน

 

พระเจ้ามังรายหรือมังรายศาสตร์
พระเจ้ามังรายหรือมังรายศาสตร์

 

     นอกจากนี้ยังมีกฎหมายพระเจ้ามังรายหรือมังรายศาสตร์ ลักษณะวิวาท พ.ศ. 2230 สมัยรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา มีความว่า คนทั้งหลายในโลกนี้จักวิวาทผิดกันด้วยเหตุ 16 ประการดังนี้ 1. กู้ของท่าน 2. ยืมของท่าน 3. รวมทุนกันทำการค้ากำไร 4. รับจ้างทำงานไม่สำเร็จละทิ้งงานเสีย 5. ให้ของแล้วจะขอคืน 6. ปลอม (แปลก) ของซึ่งไม่มีวิญญาณ 7. ต่อยกัน8. ผัวเมียจะหย่ากัน 9. รักเมียท่านจับมือถือนม 10. แย่งทรัพย์และแย่งมรดก 11. ฝากของกันไว้ 12. ของสูญเสียไป .... 15. เล่นการพนัน 16. เหตุระหว่างคน คนตี พ่อ แม่ ลูก ผัวเมีย ข้าและเจ้า 

      กฎหมายลักษณะวิวาทด่าตีกันนี้มีหลายมาตรา และที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย ได้แก่ มาตราหนึ่ง คนสองคนตีกัน ปล้ำกัน ผู้หนึ่งตายก็ให้เลิกแล้วกันไปเพราะเขาปล้ำกันผิเจ้าพระยา จ้าขุนตีปล้ำกัน และมีผู้ยุยงให้ทำดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งตายลงให้ผู้ยุยงท่านเผาศพเสีย เพราะเหตุไปเคี่ยวเข็ญให้ท่านต่อสู้กัน  “จากกฎหมายดังกล่าวนี้ทำให้ทราบว่าคนไทยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสำหรับ ต่อยตี และปล้ำกัน เพื่อเป็นการทำร้ายศัตรู เป็นศิลปะป้องกันตัวและเป็นการละเล่น” การชกมวยมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถแล้ว (ก่อน พ.ศ. 2146) จนถึงกับมีเหตุการณ์ ยุ่งยากเกิดขึ้นจึงทำให้ต้องตราเป็นกฎหมายเพื่อพิจารณาคดี

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -