พิมพ์

 

อาณาจักรโยนกเชียงแสน ในราว พ.ศ. 1490
อาณาจักรโยนกเชียงแสน ในราว พ.ศ. 1490

สมัยอาณาจักรโยนกเชียงแสน

      จากการสืบค้นความเป็นมาของมวยในอาณาจักรโยนกเชียงแสน ในราว พ.ศ. 1490 คนไทยตั้งอาณาจักรทางตอนเหนือมีหัวหน้าเรียกว่า ปู่เจ้าลาวจก ครองเมืองฝาง ปฐมกษัตริย์ในวงศ์ลวจักราช เป็นบรรพชนของกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา เริ่มเรืองอำนาจสามารถรบพุ่งแย่งชิงอำนาจจากขอม จากนั้นคนไทยก็ขยายอำนาจลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือสร้างอาณาจักรสุโขทัยแล้วอพยพลงมายังแม่นำเจ้าพระยา เกิดอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา

 

          

 

“สมัยพระเจ้ามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในจารึกมีบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับคำว่า “มวย” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงเป็นข้อสันนิษฐานของปฐมภูมิศิลปะมวยไทยมีมาแต่ครั้งนั้น”

 

      ระหว่างก่อสร้างอาณาจักร คนสมัยนี้เป็นผู้ที่มีสัญชาตญาณนักรบได้มีการฝึกต่อสู้ด้วยมือเปล่า จนกลายเป็นศิลปะป้องกันตัวซึ่งการรบในยุคโบราณเป็นการรบแบบประจัญบาน หรือที่เรียกว่าตะลุมบอน คือการต่อสู้ในระยะประชิดตัวดังนั้นคนไทยจึงต้องคิดค้นวิธีการต่อสู้ โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ และพยายามปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้อวัยวะส่วนต่างๆ เป็นอาวุธได้พยายามพัฒนาผสมผสานกับอาวุธดาบและดั้ง คนสมัยนี้จึงฝึกยุทธวิธี การถีบ การเตะและการตีลังกา เข้าไปประหัตประหารศัตรูอย่างรวดเร็วน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง มีจารึกภาษาล้านนาหรือเรียกว่าภาษาไทยยวนที่คัดลอกกันต่อๆ มาโดยจารึกนี้บันทึกไว้ในใบลานเรียกว่า มังรายศาสตร์หรือกฎหมายมังราย เชื่อกันว่ามีบันทึกตั้งแต่ พ.ศ. 1839ซึ่งตรงกับ “สมัยพระเจ้ามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในจารึกมีบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับคำว่า “มวย” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงเป็นข้อสันนิษฐานของปฐมภูมิศิลปะมวยไทยมีมาแต่ครั้งนั้น” มังรายศาสตร์เป็นหนังสือใบลานที่เก่าแก่ที่สุด ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ มังรายศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วินิจฉัยมังราย หมายความว่าเป็นคำพิพากษาของพระเจ้ามังราย

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -