พิมพ์

 

กติกามวยไทย Interpretation (การตีความ) คืออะไร

 

Interpretation
Interpretation

 

 

         การตีความหมายใด ๆ ตามกติกานี้ หรือมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผู้แข่งขันแม้มิได้กล่าวไว้ในกติกานี้ก็ดี ให้ประธานผู้ตัดสิน และ/หรือ ผู้ชี้ขาด เป็นผู้พิจารณา สิ่งที่ต้องปฏิบัติเหมือนกันบนเวที คือ

  1. ตรวจความเรียบร้อย เช่น เครื่องแต่งกาย
  2. ต้องไหว้ครู ถ้าไม่ไหว้ครูจะไม่มีการแข่งขัน
  3. ชี้แจงกติกาต้องพูดว่า ”ชกให้เต็มที่ มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ห้ามทำฟาล์วใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด ขอให้โชคดี”
  4. ชี้ให้นักมวยเข้ามุมเพื่อถอดมงคล ใส่ฟันยาง
  5. ให้สัญญาณแก่ผู้รักษาเวลา ให้ตีระฆังยกแรก ในยกต่อ ๆ ไปไม่ต้องให้สัญญาณ
  6. ให้สัญญาณการชก
  7. ต้องแน่ใจว่านักมวยหยุดและแยกเข้ามุมแล้วจึงเดินเข้ามุมกลาง
  8. เมื่อหมดยกสุดท้าย ก่อนรวบรวมใบคะแนนต้องให้นักมวยอยู่ในมุมของตนก่อน
  9. รวบรวมใบคะแนนจากผู้ตัดสินตามลำดับ10. ชูมือผู้ชนะ โดยหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับนักมวย
  10. การยืนมุมของผู้ชี้ขาด ต้องยืนอย่างสง่าผ่าเผย ให้ยืนได้ 2 แบบ คือ

                      - เอามือไขว้หลัง

                      - กางแขนทาบไปตามเชือกเส้นบน

                      - ต้องยืนตรง

      11.ห้ามผลักนักมวย

      12.ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้เท้ากันหรือแยกมวย และไม่ควรยกเท้าสูง

      13.การรับศีรษะนักมวยถือเป็นศิลปการห้ามมวยควรทำ

      14.กรรมการต้องมีบุคลิกดี เครื่องแต่งกายดี ร่างกายดี

      15.ไม่ลงจากเวทีก่อนนักมวย

 

 

สาระน่ารู้อื่นๆเกี่ยวกับมวยไทย

 



- หรือ -