พิมพ์
กติกากีฬายกน้ำหนัก
กติกากีฬายกน้ำหนัก

1. กติกาการแข่งขัน

    1.1 อนุญาตให้ใช้วิธีการจับคานยกโดนวิธีฮุคได้ ซึ่งวิธีจับแบบฮุคคือ กาจับคานยกโดยใช้นิ้วมือกดข้อปลาย หรือข้อสุดท้ายของหัวแม่มือในการจับคานยก

    1.2 ในการยกทั้งสองท่า ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินว่าไม่ผ่าน ถ้าการยกนั้นไม่สำเร็จ โดยที่นักยกน้ำหนักได้ดึงคานยกขึ้นถึงระดับเข่าแล้ว

    1.3หลังจากผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณลดคานลงพื้นแล้ว นักยกน้ำหนักต้องลดคานยกลงทางด้านหน้าของตน ห้ามทิ้งคานเหล็กลงไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือบังเอิญก็ตาม นักยกน้ำหนักจะคลายการจับได้ต่อเมื่อคานยกลงมาต่ำกว่าระดับเอวของตนแล้ว

     1.4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดไม่สามารถเหยียดแขนให้ตรงสุดได้ เนื่องจากข้อบกพร่องทางสรีระ ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทั้งสามคน รวมทั้งกรรมการควบคุมการแข่งขันทราบก่อนเริ่มการแข่งขัน

    1.5 ในขณะที่ทำการยกท่าสแนทช์หรือท่าคลีนจากท่านั่งงอเข่า นักยกน้ำหนักอาจช่วยการทรงตัว โดยการโยกหรือโคลงร่างกายของตนได้

    1.6 ห้ามใช้ไขมัน น้ำมัน น้ำ แป้ง หรือสิ่งอื่นใดที่คล้ายกันช่วยให้เกิดความลื่นที่หน้าขา เพราะนักยกน้ำหนักจะมีสิ่งช่วยความลื่นที่ขาไม่ได้ เมื่อเข้าไปถึงที่ทำการแข่งขัน นักยกน้ำหนักที่ใช้สิ่งช่วยความลื่นจะถูกสั่งให้เช็ดออกระหว่างการเช็ดความลื่นออกจากหน้าขา จะไม่มีการหยุดนาฬิกาจับเวลา และอนุญาตให้ใช้ผงกันลื่นทาฝ่ามือ หน้าขา ฯลฯ ได้

 

2. การเคลื่อนไหวทีไม่ถูกต้องในการยกน้ำหนัก

     2.1 การดึงจากท่าแขวน (ดึงสองขยัก)

     2.2 ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายนอกจากเท้าสัมผัสพื้น

     2.3 แขนทั้งสองข้างเหยียดไม่เท่ากัน หรือเหยียดไม่สุดเมื่อสิ้นสุดการยก

     2.4 หยุดชะงักระหว่างการเหยียดแขนทั้งสอง

     2.5 สิ้นสุดการยกด้วยการดันแขน

     2.6 งอหรือเหยียดแขนขณะเข้าสู่ท่าสิ้นสุดการยก

     2.7 ออกนอกพื้นการแข่งขันระหว่างการยก ซึ่งหมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสนพื้นนอกบริเวณพื้นการแข่งขัน

      2.8 วางคานยกลงก่อนได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน

     2.9 ทิ้งคานยกลงบนพื้นไปทางข้างหน้าหรือข้างหลัง หลังจากได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสินแล้ว

     2.10 สิ้นสุดการยกโดยเท้าทั้งสองและคานยกไม่อยู่ในแนวเดียวกับลำตัว

     2.11 ไม่วางคานยกทั้งชุดลงพื้นการแข่งขันเมื่อสิ้นสุดการยก คือ คานยกทั้งชุดจะต้องสัมผัสพื้นการแข่งขันก่อน

 

3. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าสแนทช์

      3.1 หยุดชะงักระหว่างการยก

       3.2 คานยกสัมผัสศีรษะ ขณะสิ้นสุดการยก

 

4. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าคลีน

     4.1 วางคานยกบนหน้าอกก่อนพลิกข้อศอก

     4.2 ข้อศอกหรือต้นแขนสัมผัสหัวเข่าหรือต้นขา

 

5. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าเจอร์ค

     5.1 พยายบามอย่างเห็นได้ชัดที่จะทำท่าเจอร์ค แต่ไม่สำเร็จ รวมทั้งการย่อตัวหรืองอเขา

     5.2 จงใจเขย่าหรือสั่นคานยก เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการยกน้ำหนักท่าเจอร์ค ตัวนักกีฬาและคานยกจะต้องนิ่งไม่ขยับเขยื้อนก่อนที่จะเจอร์ค




- หรือ -