ประวัติกีฬามวยสากล
ประวัติกีฬามวยสากล

  มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง เซอร์ อาเซอร์ อีแวน ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณซึ่งแยกออกเป็นชิ้น ๆ ในปี ค.ศ. 1900 ที่เมืองบอชชุส อันเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีต ของประเทศกรีช ทางตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน จากหลักฐานอันนี้ทำให้ทราบว่ามวยโบราณในสมัยกรีช ก่อนคริสตกาล ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระย

      ระยะแรก ในสมัยของ โอมเมอร์ ประมาณ 600 – 300 ก่อนคริสตศักราช สมัยนั้นใช้หนังอ่อน ๆ ยาว 10 – 12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และผีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ

      ระยะที่สอง ระหว่าง 200 – 400 ปีก่อนคริสตศักราช มีการดัดแปลงไปเล็กน้อย คือการพันมือนั้นแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งนักกีฬาโอลิมปิกจะต้องเข้าค่ายฝึกอยู่อย่างน้อย 9 เดือน เมื่อจวนถึงวันแข่งขันจริง ก็มีการจับคู่คล้ายๆ กับในปัจจุบัน แข่งขันเวลาเที่ยงวันขณะดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดี ซึ่งบรรยากาศตอนนั้นกำลังหรือล้มลง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสินไม่มีการกำหนดน้ำหนัก ส่วนมากจึงมีแต่นักมวยรุ่นที่หนักที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า รุ่นเฮฟวี่เวท 

      ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปีก่อนคริสตศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวก GIADIATORS ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่ง ต่อมาในราวปื ค. ศ. 394 โรมัน เสื่อมอำนาจลงการชกมวยก็ได้เสื่อมสูญไปด้วย 

      ตอนโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย นักบุญ เบอร์นาด ได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1240 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน

มวยสากลของอังกฤษ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

      ระยะแรก ในระหว่างปี ค.ศ. 1698 ถึง 1790 อาจเรียกได้ว่าเป็น “สมัยมงกุฎผีสิง” เนต ในปี ค.ศ. 1740 ได้คำเนินการสอนมา และเป็นบุคคลแรกในปี ค.ศ. 1740 ที่ได้คิดกติกามวยสากลขึ้นจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ

      ในปีเดียวกัน บรูตัน ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชกมวย แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของลูกผู้ชายเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังให้มือเปล่าอยู่ อย่างไรก็ดีมวยสมัยนั้นก็ได้ตกทอดมาถึงมวยสากลในปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี 1792 แต่เปีย เมนซ่า ได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศและได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี 1795 จึงได้เสียตำแหน่งแก่ จอห์น แจ๊คสัน ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และเปิดฝึกมวยขึ้นจนมีชื่อเสียง ด้วยมีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสมัครเรียน มวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงวันนี้

      ต่อมาเนื่องจากมีการให้รางวัลเป็นเงินตราแก่นักมวย เงินตราจึงมีอิทธิพลเหนือการแข่งขันโดยได้มีการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนักมวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินตราไป สมาคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา วิกฤติการณ์ แห่งวงการนักมวยได้เกิดขึ้นดังนี้ ทางราชการอังกฤษ จึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยเองก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนือง ๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง 

      เมื่อวิเคราะห์ดู กติกามวยสากลที่ บรูตัน คิดขึ้นแล้วจะเห็นได้ว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกที่กำหนดไว้ไม่แน่นอน สักแต่ว่าทำการแข่งขันไปจนกระทั่งนักมวยคนใดคนหนึ่งถูกน็อค หรือถูกเหวี่ยงจนล้มและไม่สามารถจะลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกในเวลา 30 นาที การฟาวล์มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ การชกขณะล้ม และกอดหรือหมัดต่ำกว่าเอว กติกาเหล่านั้นภายหลังได้ชื่อว่า เป็นกติกาเกิดขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของจอห์น ยี. เชมเบอร์ ในปี ค.ศ.1866 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากลอันเป็นรากฐานของกติกาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ในกติกาได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก โดย 3 ยกแรกยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดถูกชกล้มสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมชกตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียว กับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพียงเรื่องจำนวนยก คือจะสู้กันกี่ยกก็ได้แล้วแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุมยิ่งขึ้นเท่านั้น 

      การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในการชกมวยสากลสมัครเล่น สมัยการใช้กติกา ควีนส์เบอร์ บี ค.ศ. 1860 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนวม และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ มาจนถึงสมัยกิจการมวยได้ถูกยกขึ้นเป็นศิลปะ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันตรายลงได้มากและทำให้การชกรวดเร็วน่าดูยิ่งขึ้น ผู้ชกไม่ต้องพะวงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป

      ในปี ค.ศ. 1882 จอห์น ซัลลิแวน ชาวอเมริกันได้ชกชนะ แพ็คคคี้ ไรอั้น ชาวอังกฤษ และได้รับยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกัน ในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสชิบบี้

      ในปี ค.ศ. 1887 แจ็ค คิลเร่น แห่งอเมริกา เสมอกับ เจมส์สมิธ แห่งอังกฤษ และในการแข่งขันคราวนี้เองได้เป็นที่ยอมรับกันว่า ทั้งคู่ได้เป็นผู้ครองเข็มขัดผู้ชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก

      ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1889 จอห์น แอล ซัลลิแวน ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลก จากแจ๊ค คิลเร่น ที่เมืองริชเยอร์ก มลรัฐมิสซิสชิบบี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้ายในอเมริกา เป็นจำนวนถึง 75 ยก ชิลล์แวนผู้เลิศประกาศว่าจะไม่ชกด้วยมือเปล่า อีกต่อไป 

      ในปี ค.ศ. 1914 มี 5 รัฐ ในอเมริกา คือ นิวยอร์ค แคลิฟอร์เนีย หลุยส์เซียน่า เนวาด้า และฟอริดา ได้ตกลงแบ่งจำนวนออกเป็น 20 ยกเหมือนกัน ในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แบ่งการชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี 1915

      ระหว่างปี ค.ศ. 1915 – 1930 นับว่าเป็นระยะการชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด มลรัฐนิวยอร์ค และมลรัฐวิสคอนซิล ได้ตรากฎหมายควบคุมในตอนนี้ มีกฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งสิ้น 44 มลรัฐ

      ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันในกองทัพเพื่อฝึกให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรถภาพทางกาย หูตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาเข้าต่อสู้ และเหนือสิ่งอื่นใดก็ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทัพทหารตลอดมา

      มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเสตด์ เริ่มศึกษากันอย่างจริงจังในระหว่างปี ค.ศ. 1886 – 1919 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ถึงกับได้ตั้งสถาบันสำหรับฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ.1920 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยสากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ป้องกันตัวและทำการแข่งขันระหว่างโรงเรียนประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่ผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพต่อไป

 



      




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,509 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,964 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,587 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 970,035 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,938 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,760 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,890 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,430 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม