พิมพ์

 

แสดงปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ
แสดงปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ

 

โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ

 

     เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่เหยียดและกางนิ้วหัวแม่มือ ทำให้เยื่อบุรอบ ๆ เอ็นบวม ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น เกิดการตีบแคบของโพรงที่เอ็นลอดผ่านและเกิดการเสียดสีทำให้มีอาการปวด โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือและข้อมือ

 

สาเหตุ
1. การใช้งานข้อมือและมือมาก ๆ หรือเกินกำลังซ้ำ ๆ บ่อย ๆ โดยเฉพาะท่านิ้วหัวแม่มือกางออกหรือกระดกขึ้น ร่วมกับการบิดไปด้านข้าง เช่น เขียนหนังสือนาน ๆ บิดเสื้อผ้า กวาดพื้น หั่นผัก สับหมู หรือเล่นกีฬาที่ใช้ไม้ตี เช่น เทนนิส กอล์ฟ
2. เป็นการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น ทำให้มีการหนาตัวและอักเสบในโพรงเอ็น ทำให้โพรงแคบลงมากกว่าปกติ เกิดอาการเรื้อรังไม่หายขาด โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานจะมีปลอกหุ้มเอ็นหนาง่ายกว่าปกติ
3. เกิดพร้อมกับข้ออักเสบอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์

 

อาการ
1. มีอาการเจ็บและโคนนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่
2. อาจจะมีอาการบวมและคลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
3. อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
4. วิธีตรวจ โดยการให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย (finkelstein's test) จะกระตุ้นให้มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือมากขึ้น

 

การรักษา
1. ระยะที่มีการอักเสบ ควรหยุดและหลีกกลี่ยงการใช้งาน ประคบด้วยความเย็น และใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ
2. การออกกำลังกาย และการทำกายภาพบำบัด เพื่อลดการอักเสบและลดปวดของเส้นเอ็น
3. บริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อข้อมือและนิ้วมืออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid) บริเวณปลอกหุ้มเอ็นที่มีอารอักเสบ หรือหากเกิดอาการซ้ำอีก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 กำงุ้มนิ้วโป้ง
ท่าที่ 1 กำงุ้มนิ้วโป้ง


     เริ่มจากท่าตะแคงมือ ให้ข้อมือเหยียดตรงโดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน งอนิ้วโป้งเข้าด้านในฝ่ามือ บิดข้อมือลง จนรู้สึกดึงบริเวณด้านข้างนิ้วโป้ง นิ่งค้างไว้ 3 - 5 วินาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต เพิ่มความยากโดยกำมือให้นิ้วโป้งอยู่ในสุดขณะบิดข้อมือลง

ท่าที่ 2 กระดกมือด้านข้าง
ท่าที่ 2 กระดกมือด้านข้าง


     นั่ง วางแขนบนขาลักษณะตะแคงข้อมือ กำแผ่นยางยืดที่อีกปลายถูกยึดอยู่กับที่ไว้ หรือถือขวดน้ำ แล้วออกแรงกระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุด นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ค่อย ๆ ปล่อยข้อมือลง ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 3 หนีบนิ้วโป้ง
ท่าที่ 3 หนีบนิ้วโป้ง


     ฝึกโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วมือทั้งสี่หนีบผ้าหรือวัตถุที่ไม่แข็งมาก หยิบ - ปล่อย ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 4 ง้างกางนิ้วโป้ง
ท่าที่ 4 ง้างกางนิ้วโป้ง


     กางนิ้วหัวแม่มือออกให้ได้มากสุด ลักษณะคล้ายตั้งวงรำไทย นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต เพิ่มความยากโดยใช้ยางยืดคล้องเป็นแรงต้าน

ท่าที่ 5 บีบลูกบอล
ท่าที่ 5 บีบลูกบอล


     มือจับลูกเทนนิสหรือลูกบอลยาง ออกแรงบีบ - คลาย ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

ท่าที่ 6 กางง้างนิ้วมือ
ท่าที่ 6 กางง้างนิ้วมือ


     ใช้ยางยืดคล้องปลายนิ้วมือในลักษณะห่อนิ้ว จากนั้นค่อย ๆ กางนิ้วทั้งห้าออกในลักษณะแบมือเต็มที่ แล้วค่อย ๆ ปล่อยกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -