พิมพ์
โรคลมแดด คืออะไร
โรคลมแดด คืออะไร

 

โรคลมแดดหมายภึงโรคที่เกิดจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง และร่างกายปรับตัวไม่ได้ โลกเรากำลังเผชิญกับ ภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้น น้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลก มีการละลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งระดับน้ำในทะเล ก็สูงขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดโรคลมแดด เพิ่มขึ้น

 

ภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง

ร่างกายเราขับความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างไร

ร่างกายของคนเราได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม และจากการสร้างความร้อของร่างกายเช่น ในขณะพักร่างกายเราสามารถสร้างความร้อนและมีอุณหภูมิเพิ่ม 1.1 องศาเซ้นติเกรดต่อชั่วโมง ในขณะที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะสร้างความร้อนได้ 15 เท่าในขณะที่พัก แต่ร่างกายของเราสามารถปรับอุณหภูมิให้คงที่(Core Temperature) ที่ 37 องศาเซ็นติเกรด(98.6 f) โดยอาศัยกระบวนการดังนี้

  1.  Conduction คือการนำความร้อนออกจากร่างกาย โดยจะต้องมีสื่อการมาสัมผัส เช่น น้ำ ร่างกายจะใช้กลไกนี้ในการขับความร้อนได้เพียงร้อยละ2-3 ของความร้อนที่ร่างกายผลิตได้
  2. Convection คือการกระจายความร้อนของร่างกายสู่สิ่งแวดล้อมรอบตัว ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ร้อยละ 10 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิอากาศสูงกว่าร่างกายของเรา ก็ไม่สามารถใช้กระบวนการนี้ในการขับความร้อนออกจากร่างกาย
  3. Radiation คือการที่ร่างกายขับความร้อนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ถึงร้อยละ65 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นก็จะขับความร้อนได้น้อยลง
  4. Evaporation ร่างกายเราขับความร้อนโดยผ่านทางเหงื่อ น้ำลาย สามารถขับความร้อนได้ร้อยละ30 ของความร้อนที่ผลิตได้

จะเห็นได้ว่าร่างกายเราจะขับความร้อนส่วนใหญ่คือวิธีที่3และ4 แต่เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น ร่างกายเราจะเหลือวิธีการขับความร้อนโดยทางเหงื่อและทางหายใจได้อย่างเดียว

การปรับตัวกับความร้อน

ความสามารถในการปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นกับ สุขภาพ อายุ และสภาพแวดล้อมซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวเป็นวันหรือสัปดาห์โดยจะมีการปรับตัวดังนี้ เหงื่อจะออกเร็วขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น ปริมาณเกลือในเหงื่อจะน้อยลง หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น มีการสร้างฮอร์โมนเพื่อเก็บน้ำและเกลือเพิ่มขึ้น

 เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นจะกระตุ้นสมองส่วน hypothalamus และสมองส่วนปลายทำให้เลือดไหลไปผิวหนังเพิ่มขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น หายใจเร็วขึ้นเพื่อขับความร้อนออกจากร่างกาย สำหรับผู้สูงอายุหรือคนป่วยความสามารถเหล่านี้จะเสียไปทำให้อุณหภูมิร่างกายสูง

 ร่างกายเราจะทนกับอุณหภูมิได้แค่ไหน

ร่างกายเราสามารถทนกับอุณหภูมิที่ 42 องศาได้ 45 นาทีถึง 8 ชั่วโมงเซลล์ของร่างกายจะสร้าง heat-shock proteins ซึ่งจะทำให้เซลล์มีความทนต่อความร้อน ทนต่อการขาดเลือดหรือแม้กระทั่งการขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตายช้าลง

 

ความรุนแรงของโรคลมแดด

 

สาเหตุของหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคลมแดด

โรคประจำตัว

พฤติกรรม

ยาหรือสารพิษ

ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น

 

บทความคุณภาพจาก http://siamhealth.net/

ขอบคุณภาพสวยๆจาก SheKnows




- หรือ -