ความเสี่ยงโรคหัวใจ ของนักกีฬา
ความเสี่ยงโรคหัวใจ ของนักกีฬา

 

  หลายๆ คนที่เป็นทั้งคอบอล หรือแม้แต่ดูบอลไม่เป็น น่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่องนักฟุตบอลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันเนื่องจากหัวใจล้มเหลวอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยว่าทำไมนักฟุตบอล ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องออกกำลังกายเป็นประจำเสมออยู่แล้ว ถึงเสียชีวิตจากโรคหัวใจกันมาก ทั้งที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน

          จึงขอตอบคำถามเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เหตุการณ์การเสียชีวิตจากโรคหัวใจในนักกีฬานั้น ถือว่าน้อยมาก ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาพบเพียง 1:50,000-1:300,000 ราย แต่เนื่องจากนักกีฬาเหล่านี้อายุยังน้อย มีอนาคตที่จะสร้างชื่อเสียงในวงการกีฬาให้แก่ทีมต้นสังกัดหรือเป็นตัวแทนระดับชาติได้อีกมากมาย หากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่สะเทือนใจสำหรับผู้ที่รับทราบ ทั้งที่เป็นแฟนคลับและคนทั่วไป

          สาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเสียชีวิต หรือ Sudden cardiac death (SCD) มักเกิดจากปัญหาของหัวใจ จากการรวบรวมข้อมูลการเสียชีวิตของนักกีฬาอายุน้อย (<35 ปี) ในประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 1400 ราย พบว่า 36% มีสาเหตุมาจากเกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy) 17% มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Anomalous origin of a coronary artery) และ 4% มีสาเหตุมาจากระบบนำคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

          นอกจากนั้นก็เป็นสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้นักกีฬาเกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก ก่อนจะเสียชีวิตลง ในปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองสาเหตุดังกล่าวได้จำนวนเกินครึ่งของสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเสียชีวิต โดยที่ไม่เคยมีอาการเตือนมาก่อน ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานบีบตัวของหัวใจ ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ซึ่งกลุ่มโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดปัญหาในนักกีฬานั้น มักเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy) ในแง่ของการวินิจฉัย แพทย์ต้องอาศัยข้อมูลหลายด้านมาประกอบกัน เพราะในนักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็มีการหนาตัวขึ้นของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่ไม่เป็นโรคได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echocardiogram โดยทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญในด้านเวชศาสตร์การกีฬา (Sport Cardiologist) จะช่วยประเมินสภาพกล้ามเนื้อหัวใจ, แรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจและวินิจฉัยพยาธิสภาพต่างๆ ของนักกีฬาได้

          สิ่งสำคัญในการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ คือ การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจของนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีโปรแกรมการแข่งขัน หรือต้องฝึกซ้อมอย่างหนักต่อเนื่อง โดยที่การคัดกรองปัญหาของหัวใจนั้นต้องพิจารณาจากประวัติของนักกีฬาระหว่างการเล่นกีฬามาก่อน เช่น หน้ามืด หมดสติ ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก เป็นต้น

          การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echocardiogram เพื่อประเมินความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจุบันมีอุปกรณ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ Automated External Defibrillator หรือเครื่อง เออีดี (AED) ซึ่งหลักการจะคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ใช้ในโรงพยาบาล เครื่องเออีดีมีขนาดเล็กสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย การใช้งานจะมีแผ่นนำไฟฟ้ามาแปะไว้ที่ทรวงอกของผู้ป่วย จากนั้นเครื่องจะวิเคราะห์ข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจพบแล้วจะบอกเลยว่าผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะหรือไม่ โดยมีเสียงพูดออกมาด้วย และหากจำเป็นต้องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าก็สามารถทำได้ง่ายโดยกดปุ่มที่เครื่อง ทำให้บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์หรือพยาบาล แต่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วสามารถใช้เครื่องนี้ได้ ปัจจุบันในสนามบินนานาชาติทุกแห่ง รวมทั้งสนามกีฬานานาชาติชั้นนำ มักจะมีเครื่องนี้ติดตั้งไว้แล้ว

          สิ่งสำคัญในการช่วยชีวิตระหว่างการแข่งขัน คือ การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร และเครื่องมือทางการแพทย์ที่อยู่ข้างสนามให้พร้อม เพื่อที่จะได้รีบเข้าไปช่วยเหลือนักกีฬาได้ทันท่วงที หน่วยงานสากลอย่าง FIFA ได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการเตรียมความพร้อมเครื่องมือทางการแพทย์ที่อยู่ข้างสนามให้พร้อมระหว่างการแข่งขันฟุตบอล สำหรับในประเทศไทยที่การแข่งขันกีฬาอาชีพกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์ความพร้อมทางการแพทย์ในสนามแข่งขัน เพราะถึงแม้ปัญหาในลักษณะนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่หากเกิดขึ้นแล้วอาจหมายถึงชีวิตที่ประเมินค่าไม่ได้

          ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจของนักกีฬา การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรโดยมีการอบรมการช่วยชีวิตเป็นประจำและการเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น เครื่อง AED เพื่อกระตุ้นหัวใจของนักกีฬาได้อย่างทันท่วงที ถือเป็นสิ่งสำคัญและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันเหตุการณ์นักกีฬาเสียชีวิต Sudden cardiac death (SCD)

 

บทความคุณภาพจาก .. http://www.thaihealth.or.th/




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,395 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,074 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 824,928 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 958,629 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 904,953 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,507 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 588,873 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,479 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม